โครงสร้างของระบบสั่งการของร่างกาย ของ ไขสันหลัง

คอร์ติโค สไปนัล แทรคท์ (corticospinal tract) เป็นทางเพื่อให้เซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neuron) จากสมองส่วนซีรีบรอล คอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) และนิวเคลียสในก้านสมอง (primitive brain stem motor nuclei) สามารถเดินทางลงมาได้

เซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (cortical upper motor neurons) อยู่ในบริเวณ บรอดแมน (Brodmann areas) ที่ 1, 2, 3, 4, 6 และส่งแอกซอนไปตาม รยางค์หลังของ อินเทอร์นัล แคปซูล (internal capsule) และผ่าน ครูซ ซีรีไบร (crus cerebri) ผ่านพอนส์ (pons) และ เมดดุลลารี พีระมิด (medullary pyramids) ซึ่ง 90% ของแอกซอนจะไขว์ไปอีกข้างตรงจุดไขว้กันของใยประสาทในส่วนพีระมิดนี้ (decussation of the pyramids) แล้วจึงลงไปในไขสันหลังในรูป แลทเทอรัล คอร์ติโคสไปนัล แทรคท์ (lateral corticospinal tract) และไซแนปซ์กับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neurons) ที่ปีกล่างของไขสันหลังส่วนเนื้อใน (ventral horns) ซึ่งมีการไซแนปส์ที่ทุกระดับของไขสันหลัง อีก 10% จะลงไปโดยไม่ไขว้ที่พีระมิดในรูปของ เวนทรัล คอร์ติโคสไปนัล แทรคท์ (ventral corticospinal tract) และไซแนปส์กับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่างซึ่งส่วนมากจะไขว้ไปอีกข้างก่อนไซแนปส์

สมองส่วนกลาง (midbrain) มีนิวเคลียส (nuclei) ที่มีเซลล์ประสาทสั่งการ และมี 4 แทรคท์ ที่ส่งแอกซอนของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neuronal axons) ลงไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neurons) แทรคท์เหล่านี้ ได้แก่ รูโบรสไปนัล แทรคท์ (rubrospinal tract) เวสติบูโลสไปนัล แทรคท์ (vestibulospinal tract) เทคโทสไปนัล แทรคท์ (tectospinal tract) และ เรติคูโลสไปนัล แทรคท์ (reticulospinal tract) ทั้งนี้ รูโบรสไปนัล แทรคท์ (rubrospinal tract) จะลงไปกับ แลทเทอรัล คอร์ติโคสไปนัล แทรคท์ (lateral corticospinal tract) และอีก 3 แทรคท์จะลงไปกับ แอนทีเรียร์ คอร์ติโคสไปนัล แทรคท์ (anterior corticospinal tract)

การทำงานของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neuron) สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ

  • แลทเทอรัล คอร์ติโคสไปนัล แทรคท์ (lateral corticospinal tract) ซึ่งเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neurons) จะไซแนปส์กับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่างกลุ่ม ดอร์โซแลทเทอรัล (dorsal lateral - DL) ที่พบในบริเวณที่ป่องออกของปล้องไขสันหลังส่วนคอ (cervical enlargement) และส่วนลัมโบซาครัล (lumbosaccral enlargement) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานของส่วนที่ไกลออกจากแกนกลางลำตัวของร่างกาย คือแขน-ขา นั่นเอง
  • แอนทีเรียร์ คอร์ติโคสไปนัล แทรคท์ (anterior corticospinal tract) จะเป็นมัดแอกซอนของเส้นประสาทส่วนบนที่ลงมาโดยยังไม่ได้ไขว้ และไซแนปส์กับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neurons) กลุ่ม เวนโทรมีเดียล (lower ventromedial (VM) motor neurons) ในฝั่งไขสันหลังเดียวกันหรือไขว้ผ่านบริเวณไขสันหลังที่เรียกว่า แอนทีเรียร์ ไวท์ คอมมิชเชอร์ (anterior white commissure) เพื่อไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่างที่อีกข้างของไขสันหลัง

เวสติบูโลสไปนัล แทรคท์ (vestibulospinal tract) เทคโทสไปนัล แทรคท์ (tectospinal tract) และ เรติคูโลสไปนัล แทรคท์ (reticulospinal tract) จะลงไปในแอนทีเรียร์ คอลัมน์ (anterior column) แต่จะไม่ไซแนปส์ข้ามผ่าน แอนทีเรียร์ ไวท์ คอมมิชเชอร์ (anterior white commissure) แต่จะไซแนปส์ใน กลุ่ม เวนโทรมีเดียล (lower ventromedial (VM) motor neurons) ซึ่งจะส่งแอกซอนไปควบคุมการทำงานของร่างกายในแนวแกนกลาง เช่น กล้ามเนื้อกระดูกสันหลัง