ประวัติ ของ ไครสต์เชิร์ช

High, Manchester and Lichfield Streets in Christchurch, 1923
ดูบทความหลักที่: History of the Canterbury Region
ChristChurch Cathedral before its partial collapse in the 2011 earthquakes

ภาพรวม

หลักฐานทางโบราณคดีที่ถูกค้นพบที่ถ้ำ เรดคลิฟฟ์ ในปี 1876 บ่งชี้ได้ว่าบริเวณเมืองไครสต์เชิร์ช เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของนักล่าชนเผ่าเมา ก่อนปี 1250 คริสตกาล ผู้บุกเบิกรุ่นแรกถูกติดตามโดยชนเผ่านไวทาฮา กลุ่มอพยพจากชายฝั่งตะวันออกของเกาะเหนือสมัยศตวรรษที่ 16 สงครามระหว่างชนเผ่า กลุ่มไวทาฮา (มาจากการรวมตัวของ 3 คน) ถูกยึดอำนาจโดยชนเผ่า Ngati Mamoe ในทางกลับกันชนเผ่า Ngāi Tahu ก็ควบคุมกลุ่ม Ngati Mamoe เช่นกัน จนกระทั่งการมาตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป จากการสำรวจมีการซื้อที่ดินที่ Putaringamotu (Riccarton สมัยใหม่) โดยพี่น้องเวลเลอร์ นักล่าปลาวาฬจากโอทาโก และ ซิดนีย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานเช่นกัน นำโดยนายเฮอริออท และ แมคกวิลเร่ และพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเมืองไครสต์เชิร์ชที่ยังคงมีให้เห็นในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนปี 1840 พี่น้องตระกูลดีนส์ ได้ครอบครองทรัพย์สินและอาศัย ที่อยู่อาศัยที่ถูกทิ้งรกร้างในปี 1843 The First Four Ships (เรือ 4 ลำแรก) ถูกเช่าโดยสมาคมแคนเทอเบอรี่ และซื้อในปี 792 โดยนักแสวงบุญแคนเทอเบอรี่ นำมาสู่อ่าวลีทเทลตัล การแล่นเรือเหล่านี้ ที่มีชื่อว่า แรนดอฟ(Randolph), ชาร์ลอต เจน(Charlotte Jane), เซอร์ จอร์ท เซมัวร์ (Sir George Seymour), และ เครสซี่(Cressy) เรือชาร์ลอต เจน มาถึงเป็นลำแรกในวันที่ 16 ธันวาคม ปี 1850. นักแสวงบุญแคนเทอเบอรี่ จึงเกิดแรงบัลดาลใจที่จะสร้างเมืองรอบโบสถ์ และวิทยาลัย โดยใช้ต้นแบบเมืองจากโบสต์คริสต์ ในเมืองออกซฟอร์ด

ชื่อ "โบสต์ คริสต์" ถูกตั้งก่อนที่การแล่นเรืองจะมาถึง จากการประชุมสมาคมครั้งแรก วันที่ 27 มีนาคม 1848 และชื่อดังกล่าวก็ไม่เป็นที่รู้จัก จึงมีการแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น ไครส์เชิร์ช ตามชื่อเมืองในเมือง ดอร์เซต, ประเทศอังกฤษ และตั้งชื่อโบสต์แคนเทอเบอรี่ (โบสต์ คริสต์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองอ๊อกฟอร์ด) ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ชื่อไครสต์เชิร์ชได้รับการยอมรับทั่วไป

กับตันโจเซฟ โทมัส หัวหน้านักสำรวจของสมาคมแคนเทอเบอรี่ ได้สำรวจบริเวณโดยรอบสถานที่แห่งนี้ ช่วงเดือนธันวาคม 1849 เขาได้รับหน้าที่ในการก่อสร้างถนนจาก พอร์ต คูเปอร์ ต่อมาก็ ลีทเทลตัล สู่ไครสต์เชิร์ช โดยผ่าน ซัมเนอร์ (ชานเมืองริมทะเลในไครสต์เชิร์ช) อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราต้องทำมักจะยากกว่าที่คิดไว้ การก่อสร้างถนนหยุดชะงักเมื่อเจอรอยเท้าสูงชัน และรอยเท้าของสัตว์จำพวกม้าอยู่ระหว่างท่าเรือและหุบเขาเฮลท์คอต (สถานที่เข้าสู่แหล่งที่ตั้งถิ่นฐานที่อุดมสมบูรณ์) รอยเท้าเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักในนามของ เส้นทางบังเหียน เพราะว่าเส้นทางนั้นชั้นทำให้ม้าจำเป็นต้องมีบังเหียนไว้คอยนำทาง สินค้าที่หนักมาก หรือขนาดใหญ่ถูกขนส่งโดยกลุ่มม้า ที่บังคับด้วยบังเหียนและถูกส่งลำเลียงไปยังเรือเล็ก ระยะทาง 8 ไมล์ (13 กิโลเมตร) ผ่านเส้นทางน้ำบริเวณชายฝั่งไปขึ้นที่ปากแม่น้ำ เฟอรี่มีท เส้นทางรถไฟสาธารณะแห่งแรกในนิวซีแลนด์ คือ เฟอรี่มีท เริ่มเปิดใช้ในปี 1863 เส้นทางจากเฟอรี่มีท ถึงเมืองไครสต์เชิร์ช เนื่องจากการเดินทางที่ลำบากจากพอร์ต ฮิลล์ และอันตรายที่เกิดจากการขนส่งสินค้าทางเรือไปที่ ซัมเนอร์ บาร์ จึงมีการเปิดอุโมงค์รรถไฟ ผ่าน พอร์ต ฮิลล์ ไปยัง ลีทเทลตัล ในปี 1867

ไครสต์เชิร์ช กลายเป็น เมืองแห่งแรกในนิวซีแลนด์ ตั้งแต่มีพระราชกำหนด ในวันที่ 31 กรกฎาคม 1856 หลายเมืองได้รับการฟื้นฟูตามสถาปัตยกรรมกอธิค โดยสถาปนิค เบนจามิน เม้าส์ฟอร์ท ในยุคสมัยนั้น ไครสต์เชิร์ช เคยเป็นที่ทำการบริหารของสภาเมืองแคนเทอเบอรี่ แต่ถูกยกเลิกในปี 1876 ต่อมาในปี 1947 เกิดภัยพิบัติไฟไหม้ ห้างสรรพสินค้าของบอลแลนเน่ ในเขตเมืองชั้นใน มีคน 41 คนถูกไฟคอกตาย ทำให้ต้องรื้อถอนโครงสร้างอาคาร และ อุโมงค์ถนนลีทเทลตัล อยู่ระหว่าง ลีทเทลตัล และ ไครสต์เชิร์ช ได้เปิดใช้ในปี 1964. ไครสต์เชิร์ช ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬา "British Commonwealth เกม" ในปี 1974.

แผ่นดินไหว ปี 2010–2012

The collapsed Pyne Gould Building. Thirty of the building's two hundred workers were trapped within the building following the February earthquake.[2]

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน ปี 2010 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ได้ทำลายเมืองไครสต์เชิร์ช และเขตเมืองแคนเทอเบอรี่ เช้ามืดเวลา 4.35 ใกล้กับดาร์ฟิลด์ ทางฝั่งตะวันตกของเมือง จุดเกิดแผ่นดินไหวลึกลงใต้พื้นดินขนาด 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมืองถูกทำลายบริเวณกว้าง และมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุนี้โดยตรง

6 เดือนต่อมา ในอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ ปี 2011 เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 วัดขนาดแรงสั่นได้ 6.3 ริกเตอร์ ช่วงเที่ยง เวลา 12:51 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวใกล้เมืองมากขึ้น ใกล้กับ ลีทเทลตัล แผ่นดินไหวระดับความลึก 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) ลึกใต้ผิวพื้นดิน แม้ว่าจะวัดความขนาดของแผ่นดินไหวด้วยวิธีวัดขนาดของแผ่นดินไหวด้วยพลังาน จะน้อยกว่าแผ่นดินไหวครั้งก่อน แต่ความหนาแน่นและความรุนแรงที่สั่นอยู่ใต้พิ้นดินนั้นเมื่อวัดด้วยเครื่องวัด MM IX นับว่ารุนแรงที่สุดที่เคยบันทึกมาในบริเวณเขตเมือง และมีผู้เสียชีวิตจำนวนทั้งหมด 185 คนในของคนที่มีสัญชาติ จากในบรรดาผู้ประสบภัยกว่า 20 ประเทศ ยอดของวิหารโบสต์ไครส์เชิร์ชหักและเสียหายเป็นวงกว้าง นั่นเป็นเหตุให้ตึกและโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไครส์เชิร์ชที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่แผ่นดินไหวในวันที่ 4 กันยายน 2010 รวมถึงแผ่นดินไหวย่อยๆ(aftershocks) ที่ตามมาหลังจากแผ่นดินไหวรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดินสลายตัวบริเวณชานเมืองตะวันออก ทำให้ยอดรวมค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกันภัยประเมินมูลค่าสำหรับใช้ในการสร้างเมืองใหม่ ประมาณ 20-30 พันล้านเหรียญนิวซีแลนด์

วันที่ 13 มิถุนายน 2011 ไครสต์เชิร์ช เผชิญกับแผ่นดินไหวย่อยขนาดใหญ่ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกขนาด 5.6 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดิน 9 กิโลเมตร(6 ไมล์) เวลา 13:00 นาฬิกา บริเวณเขตซัมเนอร์ เมืองไครสต์เชิร์ช และตามมาอีกครั้งขนาด 6.3 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดิน 6 กิโลเมตร(4 ไมล์) เวลา 14:20 นาฬิกาในบริเวณเดิม ส่งผลให้ดินเกิดการสลายตัวและสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้นแต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้

แผ่นดินไหวครั้งถัดไปวันที่ 23 ธันวาคม 2011 จากการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาวัดขนาดแผ่นดินไหวได้ 5.8 ริกเตอร์ ทางด้านฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ระยะทาง 26 กิโลเมตร(16 ไมล์) ลึกจากผิวดิน 4.7 กิโลเมตร(2.9 ไมล์) เวลา 13:58 มีแผ่นดินไหวย่อยตามมาอีกหลายลูก และอีก 80 นาทีต่อมามีแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ในบริเวณเดิม และมีแผ่นดินไหวย่อยตามมามากกว่าที่เราคาดคิดไว้ รถพยาบาลเซนต์จอห์น มีผลรายงานออกมาว่า หลักจากแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยทั้งที่บ้านและตามสถานธุรกิจ และไม่ได้กังวลกับการบาดเจ็บแต่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าอาจจะเกิดการถล่มของตึกในเวลานั้น สนามบินไครสต์เชิร์ชถูกปิดในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งไฟฟ้าและการประปาหยุดให้บริการที่เมืองนิวบริทัล และเขตเมืองปาร์คแลนด์เสียหายรุนแรง รวมทั้งถนนและทางเท้า

เมืองไครสต์เชิร์ชได้รับแรงสั่นสะเทือนอีกครั้งในวันที่ 2 มกราคม 2012 ครั้งแรกวัดขนาดได้ 5.1 ริกเตอร์ เวลา 01:27 นาฬิกา และในอีก 5 นาทีต่อมา ตามมาด้วยแผ่นดินไหวย่อยอีก 4.2 ริกเตอร์ และเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่สองอีกครั้ง เวลา 05:45 นาฬิกา ขนาด 5.5 ริกเตอร์ เป็นเหตุให้ไฟฟ้าทางฝั่งชานเมืองตะวันออกของเขตปาร์คแลนด์ เมืองนิวบริทัล, เชอร์เลย์, ดาร์ลิ่งตัน, บลูวูด, สเปนเซรอ์วิลล์ และเมืองริชมอนด์ หยุดให้บริการ จากเหตุครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนบริเวณโดยรอบ จำนวนกว่า 10,000 หลังคาเรือน

จากการบันทึก บริเวณเขตเมืองแคนเทอร์เบอร์ลี่เผชิญกับแผ่นดินไหวจำนวน 4,423 ครั้ง ขนาด 3 ริกเตอร์ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2010 ถึง 3 กันยายน 2012.

ตึกมากกว่า 1000 ตึก ย่านธุรกิจใจกลางเมือง (CBD:The central business district) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของกลุ่มตึกทั้งหมดบนถนน 4 สายหลักถูกทำลายลงเพราะเหตุแผ่นดินไหว ส่วนตึกเล็กหลายตึกยังคงรื้อถอน หรือรอตัดสินใจว่าจะรื้อถอนหรือไม่ต่อไปในอนาคต ภาพรวมของตึกในเมืองตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ดูจาก:รายชื่อตึกสูงที่สุดในเมืองไครสต์เชิร์ช.

Cherry blossom trees in Spring bloom and a historic water wheel, located on a small island in the Avon River at the corner of Oxford Terrace and Hereford Street, Hagley Park in the city centre.

การฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหว

เมืองเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากแผ่นดินไหว ย่านใจกลางเมืองถูกสร้างใหม่ตามแผนฟื้นฟูส่วนกลางเมืองไครสต์เชิร์ช เริ่มจากการสร้างเมือง ขยายเมืองเติบโตในส่วนของที่พักอาศัย คาดการณ์ว่าจะมีบ้านใหม่ประมาณ 50,000 หลังบริเวณมหานครไครสต์เชิร์ช ให้เสร็จสิ้นในปี 2028 ตามแผนการฟื้นฟูการใช้พื้นที่(LURP).

ความคิดริเริ่มต่างๆในการฟื้นฟูเมืองใหม่หลังจากแผ่นดินไหวเริ่มมีปริมาณมากขึ้น โดยจัดให้มีมาตรการฟื้นฟูในช่วงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เช่น โครงการ Gap Filler, Life in Vacant Spaces และ Greening the Rubble เป็นต้น

ประตูสู่ขั้วโลกใต้ แอนตาร์กติก

ไครสต์เชิร์ช มีประวัติศาสตร์ของการมีส่วนร่วมในการสำรวจแอนตาร์กติก ทั้ง โรเบิร์ต โฟลคอน สก็อต และ เอิร์นเนต แชคลีทัล โดยใช้ท่าเรือลีทเทอตัลเป็นจุดทางออกสำหรับการเดินทาง และจุดศูนย์กลางเมืองมีรูปปั้นของสก็อตที่ปั้นโดยภรรยาม้ายของเขา ชื่อว่า แคทลีท สก็อต ภายในเมือง มีพิพิธภัณฑ์แคนเทอเบอรี่ ที่ไว้จัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์มากมายและเรื่องราวของการสำรวจขั้วโลกใต้ ท่าอากาศยานนานาชาติไครสต์เชิร์ช ใช้เป็นฐานหลักสำหรับรองรับผู้คนจากนิวซีแลนด์ อิตาลี และมีโปรแกรมองค์กรสำรวจขั้วโลกแอนตาร์กติกของสหรัฐอเมริกา

ศูนย์นานาชาติแอนตาร์กติก มีทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน พิพิธภัณฑ์ และศูนย์เยี่ยมชมที่จะเน้นกิจกรรมเกี่ยวกับแอนตาร์กติกในปัจจุบัน กองทัพเรือสหัฐ และกองทัพอากาศของสหรัฐที่ปกป้องเขตแดน เสริมกำลังด้วยชาวนิวซีแลนด์และกองทัพอากาศของออกเตรเลีย ใช้ท่าอากาศยานไครสต์เชิร์ชเป็นเส้นทางหลักในการลำเลียงตามเส้นทางเพื่อไปที่ที่ สถานีฐานแมคเมอร์ดูและสก็อต ในแอนตาร์กติก ศูนย์กระจายสินค้าเสื้อผ้า(CDC) ในไครสต์เชิร์ช มีมากกว่า 140,000 ชิ้นสำหรับพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นมาก(ECW) เริ่มแรกมีจำนวนประมาณ 2000 ชิ้น องค์กรสำรวจขั้วโลกแอนตาร์กติกของสหรัฐอเมริกา ได้เข้าร่วมกับโครงการนี้ด้วยในช่วงฤดูกาลปี 2007-08

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไครสต์เชิร์ช http://christchurchcitylibraries.com/ http://christchurchcitylibraries.com/Heritage/Maps... http://christchurchcitylibraries.com/TiKoukaWhenua... http://www.christchurchnz.com/ http://www.niwa.co.nz/education-and-training/schoo... http://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_id... http://www.thebigcity.co.nz/ http://www.voxy.co.nz/politics/lurp-provide-speedy... http://www.wises.co.nz/l/christchurch/ http://www.zoomin.co.nz/nz/christchurch/