ภูมิศาสตร์ ของ ไครสต์เชิร์ช

Satellite image showing Christchurch and surrounding areas.View of the Christchurch region from the สถานีอวกาศนานาชาติ.

ไครสต์เชิร์ชตั้งอยู่ในเขตเมืองแคนเทอเบอรี่ ใกล้กับศูนย์กลางทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ (ตะวันออกของแผ่นดินแคนเทอเบอรี่) ไครสต์เชิร์ชตั้งอยู่ใกล้ทางตอนใต้สุดของอ่าวปิกาซุส และ สุดเขตทางทิศตะวันออกตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและปากแม่น้ำเอวอนและแม่น้ำเฮลท์โค ทางตอนใต้และทางใต้ฝั่งตะวันออกเป็นเมืองท่าเรือที่ติดกับทางลาดภูเขาไฟของเขาพอร์ต ฮิลล์ ซึ่งถูกแยกมาจากแม่น้ำเพนนิลซูล่า ในปี 2006 แม่น้ำเพนนิลซูล่าได้ถูกรวมเข้ากับเมืองไครสต์เชิร์ช ส่งผลให้พื้นที่ของเมืองเป็นสามเหลี่ยม ในขณะที่มีประชากรเพิ่มขึ้นเพียง 8,000 คนเท่านั้น ทางตอนเหนือของเมืองติดกับแม่น้ำไวมาการีรี

ไครสต์เชิร์ช เป็น หนึ่งในแปดเมืองคู่ ของโลกที่มีความใกล้เคียงลักษณะเมืองแบบแอนทิพโพดัล ครึ่งหนึ่งของกลุ่มคู่เมืองแบบแอนทิพโพดัลอยู่ในนิวซีแลนด์ และสเปน/โมรอคโค เมืองโครูน่า, สเปน ซึ่งมีรูปร่างคล้ายแบบแอนทิพโพดัลของเมืองไครสต์เชิร์ช

ไครสต์เชิร์ช เป็น หนึ่งในสี่กลุ่มเมืองของโลกที่มีการวางแผนอย่างระมัดระวังในการสร้างเมืองตามแบบโครงสร้างให้รอบจุดศูนย์กลางเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบเมืองที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะประกอบไปด้วยสวนสาธารณะล้อมรอบจุดศูนย์กลางของเมือง เมืองแรกที่สร้างตามแบบนี้ คือ เมืองฟิลาเดเพีย สหรัฐ ต่อมาก็เป็นเมืองซาวันน่า(Savannah) และเมืองอาดีเลย์(Adelaide) และจึงเป็นเมืองไครสต์เชิร์ช ไครสต์เชิร์ช จึงถือได้ว่าเป็นเมืองมรดกที่สำคัญและมีรูปแบบเมืองที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต

ไครสต์เชิร์ช เป็น หนึ่งในเมืองที่มีคุณภาพแหล่งน้ำสูงที่สุดในโลก ด้วยการจัดอันดับแหล่งน้ำโดยเทียบจากความบริสุทธิ์และความสะอาดที่สุดในโลก การกรองน้ำตามแหล่งทางธรรมชาติที่ผ่านสถานีสูบน้ำกว่า 50 สถานีบริเวณรอบเมือง (จากชั้นหินอุ้มน้ำ ผ่านออกมาจากเชิงเขาทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์)

เซ็นทรัลซิตี้

ดูบทความหลักที่: Christchurch Central City
July snowfall on Cobham Intermediate School grounds

ศูนย์กลางของเมืองไครสต์เชิร์ช คือ จัตุรัสวิหาร ปัจจุบันบริเวณโดยรอบเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหว โดยมีโบสถ์แองลีคัลเป็นจุดสังเกต ซึ่งก็คือ ไครสต์เชิร์ช บริเวณโดยรอบจัตุรัส ประกอบไปด้วย ถนนสี่สายหลักแห่งไครสต์เชิร์ช (สายเบียเล่ย์, สายฟิตเจอรัล, สายมัวร์เฮ้าส์ และสายดีนส์) บริเวณนี้ถือว่าเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมือง(เซ็นทรัลซิตี้) เซ็นทรัลซิตี้ มีจำนวนที่อยู่อาศัยโดยรอบรวมถึงโซนชั้นในตะวันออก โซนชั้นในตะวันตก วงแหวนเอวอน ย่านถิ่นชนพื้นเมืองชาวเมา และวิคเตอเรีย แต่ตึกที่พักอาศัยจำนวนมากในย่านใจกลางเมืองถูกรื้อถอนหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011. จัตุรัสวิหาร ที่ตั้งอยู่บนทางข้ามของสองถนนหลัก ประกอบด้วยถนนโคลัมโบ และ ถนนวอร์เชตเตอร์.

จัตุรัสวิหาร ถือว่าได้ว่าเป็นหัวใจของเมืองไครสต์เชิร์ช เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนจำนวนมาก (จนกระทั่งแผ่นดินไหวเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011) เช่น สถานที่ "พ่อมดแห่งนิวซีแลนด์" โดย เอียน แบลคเคนเบอรี่ ชาแนลล และสถานที่ "เรย์ คอมฟอร์ต" ชื่อผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ จะเป็นวันที่มีตลาด ซุ้มอาหารและรถกาแฟ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ผับและภัตตาคาร และมีศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว กิจกรรมเหล่านี้ที่จัดบริเวณจัตุรัสวิหารเป็นกิจกรรมที่หวังให้การสร้างเมืองคืบหน้าเร็วขึ้น ปัจจุบันนี้ "พ่อมดแห่งนิวซีแลนด์" เปิดให้บริการแล้วจากกถนนนิว รีเจ้นท์.

เซ็นทรัลซิตี้ รวมถึงส่วนของถนนคนเดินแห่งแคชเชล และ ถนนยกระดับ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปก่อนแผ่นดินไหวว่า "ซิตี้ มอลล์" ซึ่งได้รับการตกแต่งใหม่ในปี 2008/09 ห้างสรรพสินค้ามีลักษณะเด่นโดยเฉพาะ การออกแบบที่นั่ง ดอกไม้ และสวนกล่อง ต้นไม้จำนวนมาก พื้นปู และการขยายเส้นทางรถรางสู่ใจกลางเมือง. การขยายเส้นทางรถรางใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 ก่อน หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ตึกส่วนใหญ่ในห้างสรรพสินค้าแคชเชลถูกรื้อถอน พื้นที่แหล่งช๊อปปิ้งถูกเรียกใหม่ว่า ห้างสรรพสินค้า "Re:START" ถูกเปิดบนถนนแคชเชลติดกับห้างสรรพสินค้าของบอลเลนเน่ ในเดือนตุลาคม ปี 2011. ห้างสรรพสินค้า "Re:START" สร้างมาจากคอนเทนเนอร์ขนส่งสีสันสวยงาม โดยนำมาปรับให้เป็นร้านบ้านค้าปลีก อนุสรณ์สถาน "สะพานรีเมมบรานซ์" เพื่อระลึกถึงสงครามที่มีผู้คนล้มตาย ตั้งอยู่บริเวณสุดทางฝั่งตะวันตกของห้าง และกำลังจะได้รับการซ่อมแซม หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง จึงมีความหวังที่จะซ่อมแซมให้เสร็จสมบูรณ์บางส่วนเพื่อระลึกวันครบรอบ 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเดือนสิงหาคม ปี 2014 และซ่อมแซมเสร็จสมบูรณ์ให้ทันวันแห่งความทรงจำของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อระลึกถึงผู้เสียสละชีวิตในสงคราม(วันแอนแซก) ในปี 2015.

โซนศูนย์วัฒนธรรม มีฉากหลังสีสันสดใสมีชีวิตชีวา มีการเปลี่ยนแปลงภาพศิลปะ วัฒนธรรม และผลงานมรดกทางวัฒนธรรมตลอดเวลา ไว้สำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว บริเวณโดยรอบพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ทั้งศูนย์ศิลปะ, พิพิธภัณฑ์แคนเทอเบอรี่ และศูนย์แสดงศิลปะ ทั้งหมดนี้อยูในบริเวณโซนศูนย์วัฒนธรรม กิจกรรมหลักของโซนนี้เป็นพื้นที่อิสระ มีแผนที่พกพาสำหรับบริการนักท่องเที่ยว พื้นที่บริเวณนี้เปิดให้บริการช้ากว่าที่อื่นเนื่องจากต้องมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูพื้นที่ หลังเหตุแผ่นดินไหว

ในปี 2010 สภาเมืองไครสต์เชิร์ชได้ประกาศ "แผนปฏิบัติการเพื่อเมือง" ซึ่งมีโปรแกรมการพัฒนาเมืองไปจนถึงปี 2022 เพื่อปรับปรุงพื้นที่สาธารณะภายในใจกลางเมืองเพื่อดึงดูดผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในเมืองและนักท่องเที่ยว แผนงานหลักที่จะเริ่มทำ คือ ลดมลพิษจากรถยนต์ส่วนตัว และเพิ่มความสะดวกให้กับคนที่เดินทางเท้าและคนขี่จักรยาน แผนนี้ขึ้นอยู่กับรายงานการเตรียมการประชุมสภาโดย บริษัท ออกแบบที่มีชื่อเสียงจากเดนมาร์ก ชื่อว่า "Gehl Architects" ตั้งแต่ เหตุแผ่นดินไหวเมืองไครสต์เชิร์ช กุมภาพันธ์ ปี 2011 สถาปนิกเมืองเวลลิงตัน เอียน แอทฟิล์ด ได้เลือกที่จะปรับแผนใหม่ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสนอแนะที่หลากหลายจำนวนมากให้ส่งเสริมการสร้างเมืองใหม่ในย่านใจกลางเมือง.

ย่านเซ็นทรัลซิตี้ ได้ถูกปิดถาวรหลังเหตุแผ่นดินไหวในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ปี 2013 แต่ยังมีถนนบางส่วนถูกปิดเนื่องจากความเสียหายหลังจากแผ่นดินไหว การซ่อมแซมสาธารณูปโภค และอาคารที่ได้รับความเสียหาย

ชานเมืองชั้นใน

(หมุนตามเข็มนาฬิกา, เริ่มจากทิศเหนือของใจกลางเมือง)

ชานเมืองชั้นนอก

(หมุนตามเข็มนาฬิกา, เริ่มจากทิศเหนือของใจกลางเมือง)

เมืองโดยรอบ

ภูมิอากาศ

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
Christchurch (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
38
 
23
12
 
 
42
 
22
12
 
 
45
 
21
10
 
 
46
 
18
8
 
 
64
 
15
5
 
 
61
 
12
2
 
 
68
 
11
2
 
 
64
 
13
3
 
 
41
 
15
5
 
 
53
 
17
7
 
 
46
 
19
9
 
 
49.5
 
21
11
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
แสดงข้อมูลเป็นมาตราอังกฤษ
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
1.5
 
73
54
 
 
1.7
 
72
54
 
 
1.8
 
69
50
 
 
1.8
 
64
46
 
 
2.5
 
59
41
 
 
2.4
 
54
36
 
 
2.7
 
52
36
 
 
2.5
 
55
37
 
 
1.6
 
59
41
 
 
2.1
 
63
45
 
 
1.8
 
66
48
 
 
1.9
 
70
52
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาฟาเรนไฮต์
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นนิ้ว

ไครสต์เชิร์ช มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกปานกลาง อุณหภูมิสูงสุดแต่ละวัน คือ 22.5 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนมกราคม และ 11.3 องศาเซลเซียส (52 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนกรกฎาคม. จากการจัดกลุ่มสภาพอากาศของคอปเปน ไครสต์เชิร์ชมีภูมิอากาศตามแหล่งมหาสมุทร (Cfb) ในช่วงฤดูร้อน ในเมืองจะอากาศสบายและมีลมทะเลปานกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จากอุณหภูมิบันทึกไว้ที่ 41.6 องศาเซลเซียส (107 องศาฟาเรนไฮต์) ใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1973. ลักษณะอากาศที่เป็นจุดเด่น ก็คือ นอร์ทเวสเตอร์ เป็นลมร้อน บางครั้งความแรงลมเทียบเท่าพายุ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินเล็กน้อยแต่เป็นพื้นที่วงกว้าง. ไครสต์เชิร์ชเคยมีปรากฏการณ์แบบเขตเกาะร้อน เหมือนเมืองอื่น ๆ เช่น โตเกียว และ นิวยอร์ก ทำให้อุณหภูมิอุ่นกว่าอุณหภูมิจริงในย่านเขตเมืองชั้นใน.

ในช่วงฤดูหนาวอากาศทั่วไปจะลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์) ในตอนกลางคืน โดยเฉลี่ยแล้วใน 1 ปี จะมีน้ำค้างแข็งบนพื้นดินประมาณ 99 วัน ช่วงหิมะตกจะเกิดโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี แม้ว่าบางปีไม่มีการบันทึกว่ามีหิมะตกก็ตาม ช่วงที่หนาวที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอุณหภูมิ −7.1 องศาเซลเซียส (19 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 18 กรกฎาคม 1945 อุณหภูมิต่ำสุดเป็นอันดับ 3 ที่เคยบันทึกไว้ มักจะเกิดในเมืองหลักๆของนิวซีแลนด์

ช่วงกลางคืนของฤดูหนาว บริเวณรอบๆเขา ฟ้าจะโปร่งแต่มีลมหนาวจัด บ่อยครั้งมีการรวมกันของชั้นอากาศทำให้ชั้นอากาศแปรปรวนเหนือเมืองเมื่อเจอกับควันรถและควันจากโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองทำให้เกิดหมอกควัน เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ควันทั่วเมืองลอสแอนเจลิส หรือเมืองเม็กซิโก แต่ควันที่เกิดในเมืองไครสต์เชิร์ชบ่อยครั้งมักจะเกินเกณ์ที่องค์การอนามัยโลก ระบุไว้จึงจัดว่ามีมลพิษทางอากาศ ข้อจำกัดป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศ สภาเมืองสั่งห้ามการปล่อยควันในเมืองตั้งแต่ปี 2006 และในปี 2008 สภาเมืองสั่งห้ามการใช้เตาเผาไม้นานกว่า 15 ปี ในขณะเดียวกันก็ระดมทุนที่ปรับระบบทำความร้อนภายในครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ข้อมูลภูมิอากาศของChristchurch, New Zealand (1981–2010)
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)22.7
(72.9)
22.1
(71.8)
20.5
(68.9)
17.7
(63.9)
14.7
(58.5)
12.0
(53.6)
11.3
(52.3)
12.7
(54.9)
15.3
(59.5)
17.2
(63)
19.3
(66.7)
21.1
(70)
17.2
(63)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)17.5
(63.5)
17.2
(63)
15.5
(59.9)
12.7
(54.9)
9.8
(49.6)
7.1
(44.8)
6.6
(43.9)
7.9
(46.2)
10.3
(50.5)
12.2
(54)
14.1
(57.4)
16.1
(61)
12.2
(54)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)12.3
(54.1)
12.2
(54)
10.4
(50.7)
7.7
(45.9)
4.9
(40.8)
2.3
(36.1)
1.9
(35.4)
3.2
(37.8)
5.2
(41.4)
7.1
(44.8)
8.9
(48)
11.0
(51.8)
7.3
(45.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)38.3
(1.508)
42.3
(1.665)
44.8
(1.764)
46.2
(1.819)
63.7
(2.508)
60.9
(2.398)
68.4
(2.693)
64.4
(2.535)
41.1
(1.618)
52.8
(2.079)
45.8
(1.803)
49.5
(1.949)
618.2
(24.339)
ความชื้นร้อยละ81.186.286.089.091.492.092.087.679.678.978.178.984.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm)5.85.66.26.77.68.98.28.26.16.96.57.384.0
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด237.9195.0191.2162.6140.8117.1127.1153.9169.5203.8223.7219.92,142.5
แหล่งที่มา: NIWA Science climate data[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไครสต์เชิร์ช http://christchurchcitylibraries.com/ http://christchurchcitylibraries.com/Heritage/Maps... http://christchurchcitylibraries.com/TiKoukaWhenua... http://www.christchurchnz.com/ http://www.niwa.co.nz/education-and-training/schoo... http://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_id... http://www.thebigcity.co.nz/ http://www.voxy.co.nz/politics/lurp-provide-speedy... http://www.wises.co.nz/l/christchurch/ http://www.zoomin.co.nz/nz/christchurch/