กลไกการออกฤทธิ์ ของ ไทกีไซคลีน

ไทกีไซคลีนจัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotic) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ ยาจะยับยั้งการเจริญของเชื้อโดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ซึ่งจะส่งผลให้อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ (aminoacyl-tRNA) เข้าจับที่ตำแหน่ง A site บนไรโบโซมไม่ได้[17] นอกจากนี้ ไทกีไซคลินยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ S. pneumoniae และ L. pneumophila อีกด้วย[12]

ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนจัดเป็นยากลุ่มเตตราไซคลีนรุ่นที่ 3 ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มย่อยไกลซิลไซคลีน โดยมีลักษณะโครงสร้างที่พิเศษคือ มีส่วนของโมเลกุล N,N-dimethyglycylamido (DMG) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 9 ของเตตราไซคลีนวง D[18] ซึ่งเป็นส่วนของโมเลกุลที่พบได้เช่นกันในมิโนไซคลีน โดยโครงสร้างส่วนนี้จะทำให้ค่าความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (minimal inhibitory concentrations) ทั้งแกรมบวกและแกรมลบลดน้อยลง เมื่อเปรียบกับยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไทกีไซคลีน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.10482... http://www.medscape.com/viewarticle/557981_2 http://labeling.pfizer.com/ShowLabeling.aspx?id=49... http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1517/1474033... http://www.tandfonline.com/doi/pdf/10.1586/1478721... http://www.toku-e.com/Assets/MIC/Tigecycline.pdf http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1592/phco.28... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/labe... http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm224370.htm