ในภาษาไท-ไตอื่น ของ ไม้ม้วน

ในภาษาไทอื่นนั้น ยังมีการใช้เสียง ใ เดิมอยู่ (/aɰ/) ซึ่งเป็นเสียง อะ-อึ โดยเป็นเสียงที่ไม่เหมือน ไ ซึ่งเป็นเสียง อะ-อิ หรือ อะ-ย (/aj/) ภาษาไท-ไตเหล่านี้คือ ภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทดำ และ ภาษาไทขาว เป็นต้น การเปรียบเทียบเสียงศัพท์รากเดียวกันที่ปรากฏต่อไปนี้ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาษาไทยกับภาษาไทใหญ่

ไทยสัทอักษรสากลไทใหญ่สัทอักษรสากลหมายเหตุ
ใคร่kʰrâjၶႂ်ႈkʰaɯ ใข้คฺร ในไทยมักตรงกับเสียง ค หรือ ข ของไทใหญ่
ใจtɕajၸႂ်tsǎɯ ใจ๋
ใช่tɕʰâjၸႂ်ႈtsaɯ ใจ้ช ในไทยมักตรงกับเสียง จ ในไทใหญ่
ใช้tɕʰájၸႂ်ႉtsâɯ ใจ้ (โทสั้น)
ใดdajလႂ်lǎɯ ใหลด ในไทยมักตรงกับเสียง ล หรือ หล ในไทใหญ่
ใต้tâajတႂ်ႈtaɯ ใต้
ในnajၼႂ်းnáɯ ใน้
ใบbajမႂ်mǎɯ ใหมบ ในไทยมักตรงกับเสียง ม หรือ หม ในไทใหญ่
ใบ้bâjမႂ်ႈmaɯ ใม่/ใหม้"ใบ้" แปลว่า โง่ ในไทใหญ่ อันเหมือนลาว (ໃບ້) และไทอื่นๆ
ใฝ่fàjၾႂ်ႇfàɯ ใฝ่
ใยjajယႂ်းjáɯ ใย้
ใสsǎjသႂ်sʰǎɯ ใส
ใส่sàjသႂ်ႇsʰàɯ ใส่
ใหม่màjမႂ်ႇmàɯ ใหม่

ใกล้เคียง