เพศ ของ ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก

มี 4 เพศ คือ บุรุษลึงค์ (เพศชาย) สตรีลึงค์ (เพศหญิง) อลึงค์ (เพศไม่ปรากฏ) และ นปุงสกลึงค์ (ไม่มีเพศ) เช่น borok (ผู้ชาย) เป็นบุรุษลึงค์ bwrwr (ผู้หญิง) เป็น สตรีลึงค์ chwari (เด็ก) เป็น อลึงค์ buphang (ต้นไม้) เป็น นปุงสกลึงค์

การเปลี่ยนเพศของคำ

ทำได้หลายวิธี เช่น

  • ใช้คำต่างกัน เช่น bwsai (สามี) – bihik (ภรรยา) ; phayong (พี่ชาย) – hanok (พี่สาว)
  • เติม -in ต่อท้ายรูปบุรุษ คำที่ลงท้ายด้วย a ตัด a ทิ้งไป เช่น sikla (ชายหนุ่ม) – sikli (หญิงสาว) ; achu (ปู่) – achui (ย่า)
  • เติม jwk ต่อท้ายรูปบุรุษ เช่น bwsa (ลูกชาย) – bwsajwk (ลูกสาว) ; kwra (พ่อตา) – kwrajwk (แม่ยาย)
  • คำที่เป็นอลึงค์ ทำให้อยู่ในรูปบุรุษโดยเติมปัจจัย sa, chwla, joa ทำให้อยู่ในรูปสตรีโดยเติม ma, jwk, bwrwi เช่น pun (แพะ) - punjua (แพะตัวผู้) – punjuk (แพะตัวเมีย) ; tok (ไก่) tokchwla (ไก่ตัวผู้) – tokma (ไก่ตัวเมีย) ; takhum (เป็ด) – takhumchwla (เป็ดตัวผู้) – takhumbwrwi (เป็ดตัวเมีย)