ระบบหน่วยคำ ของ ไวยากรณ์ภาษาฮังการี

ภาษาฮังการีเป็นภาษาคำติดต่อ ข้อมูลต่าง ๆ ในภาษาฮังการีนั้นเกือบทั้งหมดจะใช้หน่วยคำเติมท้ายในการบอกเล่า เช่น "อยู่บนโต๊ะ" = asztalon (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกพื้นที่), เมื่อ 5 โมง = öt órakor (หน่วยคำเติมท้ายบ่งบอกเวลา) เป็นต้น แต่ก็ยังมีหน่วยคำเติมหน้าอยู่ 1 หน่วยคำ คือ leg- ซึ่งใช้บ่งบอกว่าสิ่งนี้คือที่สุด (superlative)

ตัวอย่างการวางหน่วยคำเติมท้ายในภาษาฮังการี

ในภาษาฮังการี มีการใช้เสียงเฉพาะเจาะจง (case/preposition) ลงท้ายที่แตกต่างกันสำหรับคำสรรพนามแต่ละตัว มีอยู่ทั้งหมด 8 แบบ สำหรับคำสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และ 3 (ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเธอ พวกเขา คุณ พวกคุณ) โดยสามารถต่อกับคำสรรพนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรมของประโยค (accusative), ต่อคำปัจฉบท (postposition) เพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, ต่อคำนามเพื่อเปลี่ยนเป็นกรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนเป็นพหูพจน์, และต่อกับคำกริยา เพื่อเปลี่ยนประธานผู้กระทำ และเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นแบบชี้เฉพาะหรือไม่ชี้เฉพาะ

คำสรรพนามคำปัจฉบทคำนามคำกริยาส่วนมูลฐาน
ที่ใช้เติมข้างท้าย
ประธานกรรม+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงบุคคล
+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงบุคคล
+ หน่วยคำเติมท้าย
แสดงความเป็นเจ้าของ
กริยาปัจจุบัน
แบบไม่ชี้เฉพาะ
กริยาปัจจุบัน
แบบชี้เฉพาะ
ผู้กระทำ
(เช่น ฉันตีเขา)
ผู้ถูกกระทำ
(เช่น เขาตีฉัน)
อยู่ที่ฉัน
(เช่น ปากกาอยู่ที่ฉัน)
อยู่ข้างใต้ฉันหอพักของฉันฉันเห็นมัน
(สิ่งไม่ชี้เฉพาะ
เช่น หมาตัวหนึ่ง)
ฉันเห็นมัน
(สิ่งชี้เฉพาะ
เช่น หมาตัวนั้น)
én ("ฉัน")engemnálamalattamlakásomlátoklátom-m โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-e
ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
te ("เธอ")tégednáladalattadlakásodlátszlátod-d โดยใช้สระเชื่อม -o/(-a)/-e/-ö หรือ -a/-e
ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
ő ("เขา, มัน")őtnálaalattalakásalátlátja-a/-e
mi ("พวกเรา")minketnálunkalattunklakásunklátunklátjuk-nk โดยใช้สระเชื่อม -u/-ü
ตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ
ti ("พวกเธอ")titeketnálatokalattatoklakásotokláttoklátjátok-tok/-tek/-tök
ők ("พวกมัน")őketnálukalattuklakásuklátnaklátják-k
สรรพนาม "คุณ, ท่าน"
(ทางการ)
Maga ใช้สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น หัวหน้าพูดกับพนักงาน, คนแก่พูดกับเด็ก

Ön ใช้สำหรับผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ เช่น พนักงานพูดกับหัวหน้า, เด็กพูดกับคนแก่

แต่หากสนิทกันแล้ว อาจเรียกกันโดยใช้คำสรรพนามที่ไม่เป็นทางการได้

Ön,
Maga ("คุณ")
Önt
Magát
Önnél
Magánál
Ön alatt
Maga alatt
az Ön lakása
a Maga lakása
Ön lát
Maga lát
Ön látja
Maga látja
(-a/-e)
Önök,
Maguk ("พวกคุณ")
Önöket
Magukat
Önöknél
Maguknál
Önök alatt
Maguk alatt
az Önök lakása
a Maguk lakása
Önök látnak
Maguk látnak
Önök látják
Maguk látják
(-k)

การใช้หน่วยคำเติมท้ายตามหลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระ

เปิดกลางปิด
ต่ำa áo óu ú
สูงปากไม่ห่อ e éi í
ปากห่อ ö őü ű

การเลือกหน่วยคำเติมท้ายในการต่อหลังคำในภาษาฮังการี ต้องใช้หลักการสอดคล้องกลมกลืนของสระต่ำ (low vowel) และสระสูง (high vowel) และหน่วยคำเติมท้ายบางตัวก็ยังแยกระหว่างสระปากไม่ห่อ (unrounded vowel ประกอบด้วย e, é, i, í) กับสระปากห่อ (rounded vowel ประกอบด้วย ö, ő, ü, ű)

หน่วยคำเติมท้ายคำต่อท้ายทั้งหมดในภาษาฮังการีสำหรับการกระจายคำกริยา (ให้เป็นกริยาแบบชี้เฉพาะและกริยาแบบไม่ชี้เฉพาะ), สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของ, สำหรับการต่อคำบุพบทเพื่อเปลี่ยนบุคคลที่พูดถึง, และคำต่อท้ายที่เป็นเจ้าของ มีรูปแบบการใช้โดยใช้ "เสียงสระ" ของคำในการตัดสินว่าจะใช้หน่วยคำเติมท้ายเสียงใดในการต่อ ซึ่งตามหลักภาษาฮังการีสามารถแบ่งสระได้เป็น 6 แบบ (สระต่ำ, สระสูง, สระเสียงยาว, สระเสียงสั้น, สระปากห่อ และสระปากไม่ห่อ)