แนวความคิดในการออกแบบ ของ ไอ._เอ็ม._เพ

พีระมิดแก้วกลางลานอันเป็นทางเข้าหลักพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ผลงานที่มีชื่อเสียงของ ไอ.เอ็ม. เพ

ไอ. เอ็ม. เพ มีแนวความคิดว่าสถาปนิกควรคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศและส่วนสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในสมัยที่เขาเรียนเขาได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนในเซี่ยงไฮ้ งานสถาปัตยกรรมของไอ. เอ็ม. เพ เป็นความคลาสสิกสมัยใหม่ เขาพอใจที่จะทำงานใดใช้ปริมาตรที่ชัดเจน รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายของวัสดุประเภท กระจก หิน ฯลฯ และการออกแบบที่คำนึงถึงบริบทเดิมที่เฉพาะตัว มากกว่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ที่โดดเด่น อย่างเช่นการออกแบบพิพิธภัณฑ์ลูฟร์, บอสตัน ที่ออกแบบต่อเติม-ขยายเพิ่มจากอาคารเดิม

ในการออกแบบส่วนต่อขยายของอาคารแบบแนบจิตคิดให้มีความเข้ากันกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในอาคารเดิม สิ่งที่ชุมชนบริเวณนั้นต้องการ ตลอดจนลักษณะความเขียวขจีของต้นไม้ในบริเวณ

ไอ. เอ็ม. เพ มีชื่อเสียงมากด้านงานออกแบบพิพิธภัณฑ์ (ตั้งแต่ช่วง ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา) ผลงานต่าง ๆ ของเขาที่ผ่านมาแสดงออกถึงศักยภาพความอัจฉริยะในด้านนี้อันเป็นที่ยอมรับ

ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เยอรมนีในเบอร์ลิน ก่อนรับงาน ไอ. เอ็ม. เพ สำรวจบริเวณพื้นที่อย่างมีระบบ ทำความเข้าใจอย่างแม่นมั่นถึงสภาพแวดล้อม เพื่อให้สถาปัตยกรรมที่เขาออกแบบมีความสัมพันธ์กับลักษณะของบริเวณเมือง เขาศึกษาลักษณะของผู้คนที่เดินใช้งานบริเวณนั้น กำหนดการเข้าถึงอาคาร มุมมอง ทางเข้าอย่างเหมาะสม

เหตุผลหนึ่งที่งานสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์ของ ไอ.เอ็ม. เพ ประสบความสำเร็จก็เพราะมีความงามที่ดึงดูดใจประชาชน ทั้งในลักษณะเมื่อแรกพบและหลังจากได้เข้าสัมผัสเรียนรู้ดูงานภายในอาคาร ประชาชนจะมีความเพลิดเพลินพอใจในตัวสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์เองพอ ๆ กับตัวผลงานศิลป์ที่ติดตั้งไว้ในนั้น[3]