ไอ._เอ็ม._เพ
ไอ._เอ็ม._เพ

ไอ._เอ็ม._เพ

ไอ. เอ็ม. เพ (I. M. Pei - Ieoh Ming Pei) หรือ เป้ย์ ยวี่หมิง (จีนตัวย่อ: 贝聿铭; จีนตัวเต็ม: 貝聿銘; พินอิน: Bèi Yùmíng) (26 เมษายน พ.ศ. 2460 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกสูงสุดของสถาปัตยกรรมในปี พ.ศ. 2526 งานออกแบบของ ไอ.เอ็ม. เพ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น โดยมีการใช้ หิน คอนกรีต แก้ว และเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เขาถือว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในด้านสถาปัตยกรรมสมัยใหม่[1]เป้ย์เกิดที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน และเติบโตในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เป้ย์มีความชื่นชอบภาพยนตร์จากสหรัฐฮเมริกา โดยเฉพาะนักแสดง บัสเตอร์ คีตันและบิง ครอสบี เป้ย์เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจากการอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลและบทประพันธ์ของชาร์ลส ดิกเคนส์ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1935 เป้ย์ได้ย้ายไปสหรัฐอเมริกา และเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย แต่ไม่นานเป้ย์ก็ลาออกและย้ายไปศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เขาได้เริ่มเกิดความรู้สึกไม่นิยมสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ และใช้เวลาว่างศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะสถาปนิกเลอกอร์บูซีเย หลังจากจบการศึกษาจาก MIT แล้ว เขาไปศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้เป้ย์ได้ร่ำเรียนเรียนกับสถาปนิกแนวหน้าของโลก คือ มาร์เชล บรูเออร์ และวอลเตอร์ โกรเปียส เป้ย๋ได้ทั้งความรู้จากอาจารย์ชั้นนำของสถาบันเบาเฮาส์ และได้บรรยากาศทางวิชาการของฮาร์วาร์ด และ MIT ไปพร้อม ๆ กัน เมื่อปี ค.ศ. 1942 เขาแต่งงานกับ ไอลีน ลู ผู้เป็นสถาปนิกเช่นกัน มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 4 คนเขาทำงานร่วม 10 ปี ในนิวยอร์กให้กับนักธุรกิจคนดังด้านอสังหาริมทรัพทย์ อย่าง วิลเลียม เซกเคนดอร์ฟ ก่อนที่จะมาเปิดสำนักงานสถาปนิกของตัวเองที่ชื่อ I. M. Pei & Associates ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเป็น Pei Cobb Freed & Partners ผลงานของเขาในยุคต้น ๆ เช่น โรงแรมลองฟองพลาซ่า ในวอชิงตันดีซี และตึกเขียวในเอ็มไอที เขามีชื่อเสียงจากการออกแบบอาคาร ศูนย์วิจัยบรรยากาศสหรัฐฯ ในโคโลราโด, ห้องสมุดจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในรัฐแมสซาชูเซตส์, ศาลาว่าการเมืองดัลลาส และอาคารตะวันออกของหอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.เขากลับมาประเทศจีนเป็นครั้งแรกหลังจบการศึกษาในปี 1974 ซึ่งเขาได้ออกแบบโรงแรมที่ Fragrant Hills ต่อมาอีก 15 ปีถัดมา เขากลับมาจีนอีกครั้ง และได้ออกแบบ แบงค์ออฟไชน่าทาวเวอร์ ซึ่งเป็นตึกระฟ้าชื่อดังอันเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องกง ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 เขาตกเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์จากผลงานการออกแบบ พีระมิดลูฟร์ ในลานด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาได้ออกแบบ มอร์ตัน เอช. เมเยอร์สัน ซิมโฟนี ในดัลลาส, พิพิธภัณฑ์มิโฮในญี่ปุ่น และพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม (โดฮา) ในกาตาร์เป้ย์ได้รับรางวัลมากมานหลายรางวัลในสาขาสถาปัตยกรรม เช่น รางวัลเหรียญทองเอไอเอในปี 1979, รางวัลเพรเมียมอิมพีเรียลสาขาสถาปัตยกรรมในปี 1989 และรางวัลความสำเร็จสูงสุด จากพิพิธภัณฑ์ออกแบบแห่งชาติ คูเปอร์-ฮิววิตต์ ในปี 2003 และเป้ยได้รับรางวัลสูงสุดในวงการสถาปัตยกรรม รางวัลพริตซ์เกอร์ ในปี 1983[2]

ไอ._เอ็ม._เพ