ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน

ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (อังกฤษ: hydrofluorocarbons, ย่อ: HFC) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีอะตอมฟลูออรีนและไฮโดรเจน และเป็นสารประกอบออแกโนฟลูออรีนชนิดที่พบบ่อยที่สุด มักใช้ในการปรับอากาศและเป็นสารหล่อเย็นแทนสารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่มีอายุมากกว่า เช่น อาร์-12 และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนอย่างอาร์-21[1] สารดังกล่าวเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนน้อยกว่าสารที่มันใช้ทดแทน แต่ยังมีส่วนให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ โดยมีศักยะภาวะโลกร้อนหลายพันเท่าเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์[2] ความเข้มข้นในบรรยากาศและการมีส่วนต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจกฝีมือมนุษย์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความกังวลระหว่างประเทศเกี่ยวกับแรงปล่อยรังสีของมันฟลูออโรคาร์บอนที่มีพันธะ C–F น้อยประพฤติตนเหมือนกับไฮโดรคาร์บอนตั้งต้น แต่ความไวปฏิกิริยาของมันสามารถเปลี่ยนได้มาก ตัวอย่างเช่น ทั้งยูราซิลและ 5-ฟลูออโรยูราซิลมีคุณสมบัติไร้สี เป็นของแข็งผลึกมีอุณหภูมิหลอมเหลวสูงทั้งคู่ แต่สารชนิดหลังเป็นยาต้านมะเร็งที่มีฤทธิ์แรง การใช้พันธะ C-F ในเภสัชวิทยาตั้งอยู่บนความไวปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้[3] ยาและสารเคมีเกษตรหลายชนิดมีแกนกลางเป็นฟลูออรีนหนึ่งอะตอมหรือหมู่ไตรฟลูออโรเมทิลหนึ่งหมู่ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนรวมอยู่ในการเจรจาระหว่างประเทศแยกต่างหากจากแก๊สเรือนกระจกอื่นในความตกลงปารีส[4]ในเดือนกันยายน 2559 ปฏิญญานิวยอร์กว่าด้วยป่ากระตุ้นให้ลดการใช้ HFCs ทั่วโลก[5] ในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 เนื่องจากการมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสารเคมีเหล่านี้ นักเจรจาจาก 197 ประเทศประชุมกันที่การประชุมสุดยอดของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติในกรุงคิกาลี ประเทศรวันดา บรรลุข้อตกลงที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อลดการใช้ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนในการแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารมอนทรีออล[6][7][8]

ใกล้เคียง

ไฮโดรเจน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรคอร์ติโซน ไฮโดรเจนโบรไมด์ ไฮโดรคาร์บอน ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แบบไอระเหย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน //dx.doi.org/10.1002%2F14356007.a11_349 https://www.nytimes.com/2016/07/24/world/europe/vi... https://www.nytimes.com/2016/10/15/world/africa/ki... https://www.theguardian.com/environment/2016/oct/1... https://www.theguardian.com/environment/2016/sep/2... https://www.epa.gov/ghgemissions/understanding-glo... https://2009-2017.state.gov/e/oes/rls/pr/2016/2622... https://www.bbc.co.uk/news/science-environment-376...