เชิงอรรถ ของ 90377_เซดนา

  1. 1 2 เมื่อทราบความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของวัตถุนี้ จุดเริ่มยุคที่แตกต่างกันให้วิธีแก้ปัญหาที่มีศูนย์กลางที่ดวงอาทิตย์ ไร้การรบกวน และเหมาะสมที่สุดกับปัญหาสองวัตถุของคาบการโคจรที่แตกต่างกัน โดยใช้จุดเริ่มยุค 1990 เซดนามีคาบการโคจรอยู่ที่ 12,100 ปี[3] แต่เมื่อใช้จุดเริ่มยุค 2017 เซดนามีคาบการโคจรอยู่ที่ 10,900 ปี[2] สำหรับวัตถุที่วงโคจรเยื้องมาก พิกัดแบรีเซนเตอร์ของดวงอาทิตย์จะเสถียรมากกว่าพิกัดที่ศูนย์กลางดวงอาทิตย์[6] โดยใช้ JPL Horizons คาบการโคจรอิงตามแบรีเซนเตอร์อยู่ที่ประมาณ 11,400 ปี[4]
  2. ข้อมูลเมื่อ 2014[update] เซดนาอยู่ที่ประมาณ 86.3 AU จากดวงอาทิตย์[10] อีริส ดาวเคราะห์แคระที่มีมวลมากที่สุด และ 2007 OR10 วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ไม่มีชื่อ ขณะนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าเซดนาที่ 96.4 AU และ 87.0 AU ตามลำดับ[14] อีริสอยู่ใกล้กับจุดที่ไกลที่สุด (อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด) ขณะที่เซดนากำลังเข้าใกล้จุดที่ใกล้ที่สุดในปี 2619 (อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด)[11] เซดนาจะแซงอีริส กลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะในปี 2657 แต่วัตถุที่อาจเป็นดาวเคราะห์แคระอย่าง 2007 OR10 แซงเซดนาไปได้ไม่นาน และจะแซงอีริสในปี พ.ศ. 2588[11]
  3. 1 2 ดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง 2014 FE72 มีคาบการโคจรอยู่ที่ ~90,000 ปี และวัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก เช่น (308933) 2006 SQ372, 2005 VX3, (87269) 2000 OO67, 2002 RN109, 2007 TG422 และดาวหางหลายดวง (เช่น ดาวหางใหญ่แห่งปี พ.ศ. 2120) มีวงโคจรที่ใหญ่กว่าเช่นกัน สำหรับประเภทหลัง เฉพาะ (308933) 2006 SQ372, (87269) 2000 OO67, และ 2007 TG422 มีจุดใกล้ที่สุดอยู่ไกลกว่าวงโคจรดาวพฤหัสบดี จึงกลายเป็นข้อถกเถียงกันว่าวัตถุเหล่านี้อาจเป็นดาวหางที่ถูกจัดผิดหมวดหมู่
  4. โปรแกรมที่ระบบการทำงานแตกต่างกัน ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย โดยใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ2557 ได้ข้อมูลเป็นปี พ.ศ. 2619[2] ถ้าใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ. 2533 ได้ข้อมูลเป็น 2479282.9591 (2075-12-11) ข้อมูลเมื่อ 2010[update] หรือประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2619[11]
  5. การสำรวจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบว่าไม่มีดาวดวงใดที่มัวน้อยกว่า 500 เท่าของเซดนาเลย (บราวน์และซูเอร์ 2007).[30]
  6. วัตถุที่มาเปรียบเทียบกับเซดนา ได้แก่ 2015 DB216 (วงโคจรผิด), 2000 OO67, 2004 VN112, 2005 VX3, 2006 SQ372, 2007 TG422, 2007 DA61, 2009 MS9, 2010 GB174, 2010 NV1, 2010 BK118, 2012 DR30, 2012 VP113, 2013 BL76, 2013 AZ60, 2013 RF98, 2015 ER61
  7. ค่าสเติร์น–เลวิสัน (Λ) นิยามขึ้นโดยแอลัน สเติร์นและแฮโรลด์ เอฟ. เลวิสันในปี พ.ศ. 2545 ใช้ตัดสินว่าวัตถุใดมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุขนาดเล็กโดยรอบอื่น ๆ นิยามโดยอัตราส่วนของมวลดวงอาทิตย์ (คือมวลของวัตถุหารด้วยมวลของดวงอาทิตย์) ยกกำลังสองกับกึ่งแกนเอกของวัตถุนั้นยกกำลัง 3/2 คูณด้วยค่าคงตัว 1.7×1016.[70](see equation 4) ถ้าวัตถุนั้นมีค่า Λ มากกว่า 1, แสดงว่าวัตถุนั้นมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุอื่น และอาจถูกพิจารณาถึงความเป็นดาวเคราะห์ โดยใช้มวลโดยประมาณที่สูงเกินจริงของเซดนาที่ 2×1021 กก. ค่า Λ ของเซดนา คือ (2×1021/1.9891×1030)2 / 5193/2 × 1.7×1016 = 1.44×10−6. ซึ่งน้อยกว่า 1 มาก ดังนั้นเซดนาไม่ใช่ดาวเคราะห์ตามนิยามนี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: 90377_เซดนา http://cds.cern.ch/record/808432 http://cds.cern.ch/record/821965 http://discovermagazine.com/2006/may/cover http://www.scientificamerican.com/article/sun-accu... http://www.spacedaily.com/reports/Evidence_Mounts_... http://www.springerlink.com/content/87v1p11t238327... http://www.springerlink.com/content/w87u54604t2883... http://www.mpg.de/4372308/nemsis_myth?page=1 http://www.astro.caltech.edu/~george/option/candex... http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/dwarfplanets/