90377_เซดนา
90377_เซดนา

90377_เซดนา

90377 เซดนา (อังกฤษ: Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะซึ่งในปี พ.ศ. 2558 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 86 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) หรือ 1.29 × 1010 กิโลเมตร อยู่ห่างออกไปมากกว่าดาวเนปจูนเกือบสามเท่า กระบวนการสเปกโทรสโกปีเปิดเผยว่าพื้นผิวของเซดนามีองค์ประกอบคล้ายกับวัตถุพ้นดาวเนปจูนอื่น ๆ บางชิ้น โดยเป็นส่วนผสมของน้ำ มีเทน และไนโตรเจนแข็งกับโทลีนจำนวนมาก ผิวของเซดนาเป็นหนึ่งในผิวดาวที่มีสีแดงมากที่สุดท่ามกลางวัตถุอื่นในระบบสุริยะ เซดนาอาจเป็นดาวเคราะห์แคระ ในบรรดาวัตถุพ้นดาวเนปจูนทั้งแปดที่ใหญ่ที่สุด เซดนาเป็นวัตถุเดียวที่ไม่พบดาวบริวาร[12][13]วงโคจรส่วนใหญ่ของเซดนาอยู่ไกลออกจากดวงอาทิตย์ไปมากกว่าตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดจะอยู่ห่างออกไปถึง 937 AU[4] (31 เท่าของระยะของดาวเนปจูน) ทำให้เซดนาเป็นวัตถุหนึ่งที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ นอกเหนือจากดาวหางคาบยาว[lower-alpha 2][lower-alpha 3]เซดนามีวงโคจรที่ยาวและยืดเป็นพิเศษ โดยใช้เวลาโคจรหนึ่งรอบประมาณ 11,400 ปี และมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ 76 AU สิ่งนี้นำมาสู่ความคิดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเซดนา ศูนย์ดาวเคราะห์น้อยจัดเซดนาให้อยู่ในแถบหินกระจาย ซึ่งเป็นกลุ่มของวัตถุที่มีวงโคจรยืดยาวออกไปไกลเนื่องด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน การจัดให้เซดนาอยู่ในแถบหินกระจายนี้กลายเป็นข้อถกเถียง เพราะเซดนาไม่เคยเข้ามาใกล้ดาวเนปจูนมากพอที่จะเหวี่ยงกระจายเซดนาออกไปด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน ทำให้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าเซดนาเป็นวัตถุหนึ่งในเมฆออร์ตชั้นใน แต่บางคนก็เชื่อว่าเซดนามีวงโคจรที่ยืดยาวแบบนี้เนื่องด้วยดาวฤกษ์ที่เฉียดผ่านเข้ามาใกล้ โดยอาจเป็นหนึ่งในดาวของกระจุกดาวของดวงอาทิตย์ตอนเกิด (กระจุกดาวเปิด) หรือระบบดาวเคราะห์อื่นอาจจับยึดไว้ สมมติฐานอีกอย่างหนึ่งเสนอว่าวงโคจรของเซดนาได้รับผลกระทบจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงหนึ่งที่พ้นวงโคจรดาวเนปจูน[15]ไมเคิล บราวน์ นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบเซดนาและดาวเคราะห์แคระอีริส เฮาเมอา และมาคีมาคี คิดว่าเซดนาเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนในปัจจุบันที่สำคัญที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าการทำความเข้าใจในวงโคจรที่ไม่เสถียรนี้เป็นไปได้ที่จะให้ข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะในช่วงแรก[16][17]

90377_เซดนา

ค้นพบโดย: ไมเคิล บราวน์
แชด ทรูจีโล
ดาวิด ราบิโนวิตซ์
โชติมาตรสัมบูรณ์: 1.83±0.05[7]
1.6[2]
อนอมัลลีเฉลี่ย: 358.163±0.0054 °
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร: 1.04 กิโลเมตร/วินาที
โชติมาตรปรากฏ: 21.1[10]
20.5 (จุดที่ใกล้ที่สุด)[11]
ค้นพบเมื่อ: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น: 144.546° (Ω)
คาบดาราคติ: ≈ 11,400 yr[4][lower-alpha 1]
ชนิดสเปกตรัม: (แดง) B−V=1.24; V−R=0.78[9]
คาบการหมุนรอบตัวเอง: 10.273 ชม. (0.4280 วัน)
10.3 h ± 30%[2][8](ซิเดอเรียล)
กึ่งแกนเอก: 506.8 AU[5][4]
7.573×1010 กิโลเมตร
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย: TNO[2] · ไกลออกไป
เซดนอยด์[3]
อัตราส่วนสะท้อน: 0.32±0.06[7]
มิติ: 995±80 กิโลเมตร
(แบบจำลองเทอร์โมฟิสิกส์)
1,060±100 กิโลเมตร
(std. thermal model)[7]
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 311.29±0.014 ° (ω)
ความเอียง: 11.92872° (i)
ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: ≈ 936 AU (Q)[4]
1.4×1011 กิโลเมตร
5.4 วันแสง
ชื่อตามระบบ MPC: (90377) เซดนา
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.85491±0.00029
อุณหภูมิ: ≈ 12 K (see note)
ชื่ออื่น ๆ: 2003 VB12
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: 76.0917±0.0087 AU (q)
1.1423×1010 กิโลเมตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: 90377_เซดนา http://cds.cern.ch/record/808432 http://cds.cern.ch/record/821965 http://discovermagazine.com/2006/may/cover http://www.scientificamerican.com/article/sun-accu... http://www.spacedaily.com/reports/Evidence_Mounts_... http://www.springerlink.com/content/87v1p11t238327... http://www.springerlink.com/content/w87u54604t2883... http://www.mpg.de/4372308/nemsis_myth?page=1 http://www.astro.caltech.edu/~george/option/candex... http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/dwarfplanets/