หน้าที่ ของ Retinal_pigment_epithelium

RPE ป้องกันจอประสาทตาจากแสงที่จ้ามากเกินไปและหล่อเลี้ยงจอตาด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อสร้างเยื่อหุ้มไวแสงและสร้างน้ำตาลกลูโคสเพื่อเป็นพลังงานส่วน retinal[4] นั้นเกิดขึ้นผ่านกระบวนการหมุนเวียนของวิตามินเอ

จะมีการขับน้ำออกจากส่วนของเรตินาไปยังส่วนของ choroidในอัตรา 1.4-11 ไมโครลิตรต่อตารางเซนติเมตรต่อชั่วโมงRPE ช่วยรักษาความสมดุลของความเป็นกรด และใช้กระบวนการฟาโกไซโทซิสเพื่อกำจัด disc ในส่วน outer segment ของเซลล์รับแสงที่เก่าที่สุด[5] RPE มีระบบภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งจะระงับการเชื่อมต่อกับระบบภูมิคุ้มกันสามัญเมื่อมีสภาพปกติ แต่จะทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันสามัญเมื่อมีโรคนอกจากนั้นแล้ว RPE ยังหลั่งสารต่าง ๆ เพื่อสร้างและรักษา choroid และจอประสาทตา[6]

RPE ยังเป็นตัวจำกัดการไหลเหวียนของสารต่าง ๆ ในเรตินาอีกด้วยโดยเป็นผู้นำส่งโมเลกุลเล็ก ๆ เช่นกรดอะมิโน, กรด ascorbic, และ D-glucoseในขณะที่เป็นตัวกั้นสารต่าง ๆ ที่มากับเลือดภายใน choroidดังนั้น ภาวะธำรงดุลในสิ่งแวดล้อมที่เป็นไอออนจึงเป็นไปได้ด้วยระบบแลกเปลี่ยนที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้

ในการทดลองทางคลินิกหลายงาน มีการรักษาบำบัดจอประสาทตาเสื่อมที่จุดเห็นชัด (macular degeneration) ด้วยการเปลี่ยน RPE โดยใช้เซลล์จากตนนอกจากนั้นแล้ว ยังมีการทดลองเพื่อจุดประสงค์เดียวกันโดยใช้ RPE ที่มีการให้แพร่ขยายภายนอกกายอีกด้วย[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: Retinal_pigment_epithelium http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.hindawi.com/journals/jop/aip/465169/ http://www.bu.edu/histology/p/07902loa.htm http://www.kumc.edu/instruction/medicine/anatomy/h... http://webvision.med.utah.edu/book/part-ii-anatomy... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://news.wustl.edu/news/Pages/25621.aspx //www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2011/MB_cgi?mode=&term=... https://meshb.nlm.nih.gov/record/ui?ui=D055213 https://ta2viewer.openanatomy.org/?id=6782