นิยาม ของ กฎของบีโอต์-ซาวารต์

กฎของบีโอต์-ซาวารต์ เป็นสมการสำหรับอธิบายสนามแม่เหล็ก ณ จุดใด ๆ ที่ห่างออกไประยะหนึ่งจากบริเวณที่มีการไหลของกระแสไฟฟ้า หรือมีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่อยู่ ไม่จำกัดว่าจะไหลผ่านโลหะหรือพลาสมา ทั้งนี้ การไหลของกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องคงตัวไม่แปรปรวน จึงจะสามารถใช้สมการดังต่อไปนี้ได้ สำหรับสมการอธิบายสนามแม่เหล็กย่อย d B {\displaystyle d\mathbf {B} } เป็นดังนี้

d B = μ 0 4 π I d l × r r 2 {\displaystyle d\mathbf {B} ={\frac {\mu _{0}}{4\pi }}{\frac {Id\mathbf {l} \times \mathbf {r} }{r^{2}}}}

โดยที่

I {\displaystyle \scriptstyle {I}} แทนกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (ที่ถูกเป็นอองแปร์) d l {\displaystyle \scriptstyle {d\mathbf {l} }} เป็นเวกเตอร์ทิศทางที่ที่มีขนาดสั้นมาก ๆ (ในทางแคลคูลัส) มีทิศทางเดียวกับการไหลของกระแสไฟฟ้าในตัวนำนั้น ๆ d B {\displaystyle \scriptstyle {d\mathbf {B} }} เป็นสนามแม่เหล็กย่อย ซึ่งเกิดจากเวกเตอร์ทิศทาง d l {\displaystyle \scriptstyle {d\mathbf {l} }} ที่มีขนาดเล็กมากเช่นกัน μ 0 {\displaystyle \scriptstyle {\mu _{0}}} เป็นค่าซึมซาบแม่เหล็กในอวกาศ (magnetic permeability of free space) r {\displaystyle \scriptstyle {\mathbf {r} }} เป็นเวกเตอร์ชี้จากจุดกำเนิดสนามแม่เหล็ก (คือตัวนำ) ไปยังจุดที่ต้องการจะคำนวณ r {\displaystyle \scriptstyle {r}} เป็นระยะทางจากจุดกำเนิดสนามแม่เหล็กไปยังจุดที่ต้องการคำนวณ กล่าวให้ง่ายก็คือขนาดของเวกเตอร์ r {\displaystyle \scriptstyle {\mathbf {r} }} นั่นเอง × {\displaystyle \scriptstyle {\times }} เป็นตัวดำเนินการผลคูณเชิงเวกเตอร์ (cross product) หรือการคูณเวกเตอร์ด้วยกันเองแล้วให้ผลเป็นเวกเตอร์

ซึ่งการคำนวณตามกฎนั้น จะต้องเลือกจุดหนึ่งจุดใดบนตัวนำ และถือว่าจุดนั้นมีขนาดเล็กมาก ๆ กำหนดทิศทางของกระแสไฟฟ้าเพื่อกำหนดเวกเตอร์ทิศทาง แล้วกำหนดจุดที่ต้องการจะหา จากนั้นแทนค่าในสมการ แล้วหาปริพันธ์จากปลายตัวนำหนึ่งไปหาอีกปลายหนึ่งอย่างระมัดระวัง

บทความเกี่ยวกับฟิสิกส์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ฟิสิกส์