กฎบัตรซาราโกซา

กฎบัตรซาราโกซา 2551 (อังกฤษ: THE 2008 ZARAGOZA CHARTER) การจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ณ เมืองซาราโกซา เป็นการจัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกที่กำหนดแนวคิดหลัก คือ น้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืน (อังกฤษ: Water and Sustainable Development) และจัดแสดงที่ริมฝั่งแม่น้ำเอโบร เมืองซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานถึง 104 ประเทศ องค์กรระดับนานาชาติ 3 แห่ง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสเปนองค์การนิทรรศการนานาชาติ หรือ BIE หรือ (ฝรั่งเศส: The Bureau International des Expositions; อังกฤษ: International Exhibitions Bureau) ได้ให้คำแนะนำแนวคิดการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ให้สอดคล้องกับงานขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำBIE ตั้งเป้าหมายการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง และเป็นการให้ความรู้แก่สาธารณชน การจัดงานที่ซาราโกซาครั้งนี้ตั้ง เป้าหมาย ให้ผู้เข้าชมหลายล้านคนได้รับความรู้เกี่ยวกับน้ำและปัญหาในการพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากงานนี้จะเป็นแหล่งรวมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว กิจกรรมของการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (อังกฤษ: Water Tribune)เป็นการถ่ายทอดความรู้และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ตลอดจนความท้าทายในการจัดการทรัพยากรน้ำที่มนุษยชาติกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดระยะเวลา 93 วันของการจัดแสดงนิทรรศการ เวทีนี้เป็นกิจกรรมใหญ่ที่สุดและรวบรวมกิจกรรมระดับนานาชาติเกี่ยวกับน้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดไว้การประชุมสัมมนาทรัพยากรน้ำนี้ เสร็จสิ้นก่อนวันปิดงานแสดงนิทรรศการเป็นเวลา 2 วัน โดยการนำเสนอบทสรุปและการวิเคราะห์ในรูปของกฎบัตรซาราโกซา 2008 (อังกฤษ: The 2008 Zaragoza Charter)