กฎบัตรแอตแลนติก
กฎบัตรแอตแลนติก

กฎบัตรแอตแลนติก

กฎบัตรแอตแลนติก (อังกฤษ: Atlantic Charter) คำประกาศหลักการแห่งนโยบายแห่งชาติโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์แห่งอังกฤษ หลังการประชุมลับบนเรือรบยูเอสเอส ออกัสตานอกชายฝั่งนิวฟันด์แลนด์ เพื่อเป็นการสะท้อนประเด็น 14 ข้อของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันและคำประกาศ "สี่เสรีภาพ" ของประธานาธิบดีรูสเวลท์ในวันสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2484
การยกร่างและการลงนามกฎบัตรได้กระทำอย่างเป็นความลับบนเรือรบ มีการแก้ไขการหลายครั้งและว่ามีการลงนามโดยรูสเวลต์และเชอร์ชิลล์ แต่ในความเป็นจริงยังไม่พบต้นฉบับที่ว่ามีการลงนามดังกล่าวทั้งเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องส่งข้อความทางโทรเลขกลับไปให้คณะรัฐมนตรีสงครามเห็นชอบ จึงปรากฏหลักฐานให้เห็นเพียงร่างกฎบัตรที่เป็นลายมือเชอร์ชิลล์แก้ไขหลังจากอเมริกาเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการลงนามเป็นกฎบัตรนานาชาติที่ร่วมลงนามโดยสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียตและจีนในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในวันต่อมาได้มีประเทศอื่น ๆ อีก 22 ประเทศเข้าร่วมลงนามรับรองด้วยกฎบัตรแอตแลนติกได้กลายเป็นพื้นฐานของอุดมการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรในการร่วมมือกันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ฝ่ายอักษะแปลความหมายของความร่วมมือทางการทูตนี้ว่าเป็นการรวมตัวเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านตน ฮิตเลอร์กล่าวหาว่าการกระทำนี้คือหลักฐานของการร่วมมือสมรู้ร่วมคิดของชาวยิวอเมริกาและชาวยิวอังกฤษ ในจักรวรรดิญี่ปุ่นฝ่ายถืออำนาจทหารในรัฐบาลถือเอาเป็นเหตุผลักดันนโยบายเพื่อต่อสู้สหรัฐฯและสหราชอาณาจักรกฎบัตรแอตแลนติกนี้ ต่อมาถูกใช้เป็นพื้นฐานของการตั้งและการร่างกฎบัตรสหประชาชาติ