ข้อสงวนสิทธิ ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ_สังคม_และวัฒนธรรม

ภาคีส่วนหนึ่งได้สงวนสิทธิและประกาศเชิงตีความถึงการนำกติกาฯ ไปปฏิบัติ

แอลจีเรีย ตีความบางส่วนของข้อ 13 ซึ่งคุ้มครองเสรีภาพของผู้ปกครองในการเลือกหรือจัดตั้งสถาบันการศึกษาอย่างเหมาะสมอย่างเสรี โดยไม่ "ทำให้สิทธิของตน [แอลจีเรีย] ลดลงเพื่อจัดตั้งระบบการศึกษาของตน"[1]

บังกลาเทศ ตีความวรรคการกำหนดการปกครองด้วยตัวเองในข้อ 1 ว่า ใช้กับบริบททางประวัติศาสตร์ของลัทธิล่าอาณานิคม มันยังสงวนสิทธิที่จะตีความสิทธิแรงงานในข้อ 7 และ 8 และวรรคไม่เลือกปฏิบัติในข้อ 2 และ 3 ภายในบริบทของรัฐธรรมนูญและกฎหมายในประเทศ[1]

เบลเยียม ตีความการไม่เลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติกำเนิดว่า "แสดงนัยการผูกมัดต่อรัฐอย่างไม่จำเป็น ซึ่งรับประกันสิทธิแก่ชาวต่างชาติโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับสัญชาติตนอยู่แล้ว คำดังกล่าวควรเข้าใจว่าหมายถึง การกำจัดพฤติกรรมไร้เหตุผล แต่มิใช่ความแตกต่างในการปฏิบัติอันตั้งอยู่บนการพิจารณาอย่างมีจุดประสงค์และมีเหตุผล ในความสอดคล้องกันกับหลักการซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย"[1]

จีน ห้ามสิทธิแรงงานในข้อ 8 ในแบบที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในประเทศ[1]

อียิปต์ ยอมรับกติกาฯ เฉพาะขอบเขตที่ไม่ขัดต่อกฎหมายชารีอะฮ์อิสลาม ชารีอะฮฺเป็น "บ่อเกิดหลักของตัวบทกฎหมาย" ภายใต้มาตรา 2 ของทั้งรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 ที่งดไป และคำประกาศรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล ค.ศ. 2011[1]

ฝรั่งเศส มองกติกาฯ ว่าเป็นการส่งเสริมกฎบัตรสหประชาชาติ และสงวนสิทธิที่จะปกครองการเข้าถึงการจ้างงาน สวัสดิการสังคม และประโยชน์อื่น ๆ ของคนต่างด้าว[1]

อินเดีย ตีความสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตัวเองว่าใช้ได้ "เฉพาะกับบุคคลที่อยู่ภายใต้การครอบงำของต่างชาติ"[1] และใช้ไม่ได้กับบุคคลที่อยู่ภายใต้รัฐชาติที่มีเอกราช นอกจากนี้ ยังตีความการจำกัดวรรคสิทธิและสิทธิโอกาสเท่าเทียมในที่ทำงานภายในบริบทของรัฐธรรมนูญ[1]

อินโดนีเซีย ตีความวรรคการกำหนดการปกครองด้วยตนเองภายในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศอื่น และไม่ใช้กับบุคคลภายในรัฐชาติที่มีเอกราช[1]

ไอร์แลนด์ สงวนสิทธิในการสนับสนุนภาษาไอริช[1]

ญี่ปุ่น สงวนสิทธิไม่ผูกพันที่จะนำการศึกษาขั้นมัธยมและขั้นอุดมแบบให้เปล่ามาใช้แบบค่อยเป็นค่อนไป[1]

คูเวต ตีความวรรคการไม่เลือกปฏิบัติตามข้อ 2 และ 3 ภายในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศ และสงวนสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการสังคมเฉพาะแก่ชาวคูเวต นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิห้ามการหยุดงานประท้วง[1]

เม็กซิโก ตีความสิทธิแรงงานตามข้อ 8 ภายในบริบทแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศ[1]

โมนาโก ตีความหลักการการไม่เลือกปฏิบัติบนพื้นฐานแห่งชาติกำเนิดว่า "แสดงนัยการผูกมัดต่อรัฐอย่างไม่จำเป็น ซึ่งรับประกันสิทธิแก่ชาวต่างชาติโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับสัญชาติตนอยู่แล้ว"[1] และสงวนสิทธิการตั้งข้อกำหนดด้านการอยู่อาศัยว่าด้วยสิทธิทำงาน สาธารณสุข การศึกษาและสวัสดิการสังคม

นิวซีแลนด์ สงวนสิทธิไม่ปฏิบัติตามข้อ 8 (สิทธิการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพการค้า) ตราบเท่าที่มาตรการที่มีอยู่ ซึ่งขณะนั้นรวมถึงสหภาพแรงงานบังคับและการอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทที่ได้รับการสนับสนุน ซึ่งเข้ากันไม่ได้กับข้อ 8 ของกติกาฯ

นอร์เวย์ สวนสิทธิการหยุดงานประท้วง เพื่ออนุญาตการอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทแรงงานบางอย่างโดยบังคับ[1]

ปากีสถาน ได้สงวนสิทธิทั่วไปในการตีความกติกาฯ ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ[1]

ไทย ตีความสิทธิการกำหนดสิทธิการปกครองด้วยตนเองภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศอื่น[1]

ตรินิแดดและโตเบโก สงวนสิทธิจำกัดสิทธิการหยุดงานประท้วงของผู้ประกอบอาชีพสำคัญ[1]

ตุรกี จะตีความกติกาฯ ภายใต้บังคับแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิการตีความและนำสิทธิของผู้ปกครองในการเลือกและจัดตั้งสถาบันการศึกษาไปปฏิบัติในแบบที่เข้ากันได้กับรัฐธรรมนูญ

สหราชอาณาจักร มองกติกาฯ ว่าเป็นส่งเสริมกฎบัตรสหระชาชาติ และได้สงวนสิทธิหลายประการต่อดินแดนโพ้นทะเลของประเทศ[1]

สหรัฐอเมริกา - องค์การนิรโทษกรรมสากลเขียนว่า "สหรัฐอเมริกาลงนามกติกาใน ค.ศ. 1979 ภายใต้รัฐบาลคาร์เตอร์ แต่ไม่ถูกผูกพันเต็มที่กระทั่งมีการให้สัตยาบัน ด้วยเหตุผลทางการเมือง รัฐบาลคาร์เตอร์มิได้ผลักดันการทบทวนกติกาฯ ที่จำเป็นจากวุฒิสภา ซึ่งต้องให้ "คำแนะนำและการยินยอม" ก่อนที่สหรัฐอเมริกาสามารถให้สัตยาบันสนธิสัญญาได้ รัฐบาลเรแกนและจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ถือมุมมองว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมไม่ใช่สิทธิโดยแท้จริง แต่เป็นเพียงเป้าหมายทางสังคมอันพึงปรารถนาเท่านั้น และดังนั้นจึงไม่ควรเป็นวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาผูกพัน รัฐบาลคลินตันมิได้ปฏิเสธธรรมชาติของสิทธิเหล่านี้ แต่ไม่พบว่ามีประโยชน์ทางการเมืองในการเข้าต่อสู้กับวุฒิสภาในเรื่องกติกาฯ รัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ตามรอยมุมมองของรัฐบาลบุชก่อนหน้านี้"[53] มูลนิธิมรดก ถึงความคิดอนุรักษนิยมที่สำคัญ โต้แย้งว่า การลงนามกติกาฯ จะเป็นการผูกมัดการนำนโยบายที่มูลนิธิคัดค้านมาใช้ เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า[54]

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ_สังคม_และวัฒนธรรม http://www.unhchr.ch/html/menu6/2/fs16.htm#6 http://www.unhchr.ch/html/menu6/2/fs2.htm http://www.unhchr.ch/huricane/huricane.nsf/view01/... http://www.unhchr.ch/huricane/huricane.nsf/view01/... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/3d02758c... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/40d00990... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/469f4d91... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/959f71e4... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/ae1a0b12... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(symbol)/CESCR+Ge...