สรุปย่อ ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ_สังคม_และวัฒนธรรม

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเป็นไปตามโครงสร้างของ UDHR และ ICCPR โดยมีปรารภและสามสิบเอ็ดข้อ โดยแบ่งออกเป็นห้าภาค

ภาค 1 (ข้อ 1) รับรองสิทธิของมนุษย์ทุกคนในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง รวมถึงสิทธิที่จะ "กำหนดสถานภาพทางการเมืองของตนได้อย่างเสรี"[7] พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และจัดการและใช้จ่ายทรัพยากรของตนเอง ข้อดังกล่าวยังรับรองสิทธิในด้านลบของประชาชนที่จะไม่ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพของตน[8] และกำหนดข้อผูกมัดแก่ทุกภาคีที่ยังรับผิดชอบต่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและที่อยู่ในภาวะทรัสตี (อาณานิคม) เพื่อกระตุ้นและเคารพการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของพวกเขา[9]

ภาค 2 (ข้อ 2-5) สถาปนาหลักการแห่ง "การทำให้[สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้]กลายเป็นความจริงโดยลำดับ" (progressive realisation) กำหนดให้สิทธิทั้งหลายนั้นได้รับการรับรอง "โดยปราศจากการแบ่งแยกในทุกประเภท เป็นต้นว่าเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น"[10] สิทธินี้สามารถถูกจำกัดได้เฉพาะโดยกฎหมาย ในรูปแบบที่เข้ากันได้กับธรรมชาติของสิทธิ และเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการ "สนับสนุนให้เกิดสวัสดิภาพทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย" เท่านั้น[11]

ภาค 3 (ข้อ 6-15) เป็นรายการของสิทธิที่รับรองตามกติกาฯ ซึ่งประกอบด้วย

  • สิทธิในการทำงานภายใต้ "สภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ"[12] พร้อมด้วยสิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน (ข้อ 6-8)
  • สิทธิที่จะมีสวัสดิการสังคม รวมทั้งประกันสังคม (ข้อ 9)
  • สิทธิในชีวิตครอบครัว รวมทั้งการอนุญาตให้ลาในช่วงก่อนหรือหลังการให้กำเนิดบุตรตามสมควรโดยได้รับค่าจ้าง (parental leave) และการคุ้มครองเด็ก (ข้อ 10)
  • สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และ "สภาพการครองชีพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง" (ข้อ 11)
  • สิทธิในสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้" (ข้อ 12)
  • สิทธิในการศึกษา รวมทั้งการศึกษาขั้นประถมแบบให้เปล่าแก่ทุกคน ให้มีการศึกษาขั้นมัธยมโดยทั่วไป และให้ทุกคนสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งควรจะมุ่งให้เกิด "การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความสำนึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์"[13] และทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ข้อ 13-14)
  • สิทธิที่จะมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม (ข้อ 15)

สิทธิเหล่านี้จำนวนมากรวมถึงมาตรการเฉพาะซึ่งจำต้องมีการปฏิบัติเพื่อทำให้กลายเป็นความจริง

ภาค 4 (ข้อ 16-25) ควบคุมการรายงานและการเฝ้าตรวจกติกาฯ และขั้นตอนที่ภาคีจะต้องนำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้องค์กรเฝ้าตรวจ (เดิมคือ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันคือ คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม) เพื่อเสนอแนะในลักษณะทั่วไปแก่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติถึงมาตรการที่เหมาะสมในการทำให้สิทธิตามกติกานี้กลายเป็นความจริง

ภาค 5 (ข้อ 26-31) ควบคุมการให้สัตยาบัน การมีผลใช้บังคับ และการแปรบัญญัติกติกาฯ

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ_สังคม_และวัฒนธรรม http://www.unhchr.ch/html/menu6/2/fs16.htm#6 http://www.unhchr.ch/html/menu6/2/fs2.htm http://www.unhchr.ch/huricane/huricane.nsf/view01/... http://www.unhchr.ch/huricane/huricane.nsf/view01/... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/3d02758c... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/40d00990... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/469f4d91... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/959f71e4... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/ae1a0b12... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(symbol)/CESCR+Ge...