เหตุการณ์ ของ กรณีไกลวิทซ์

ในคืนวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ทหารปฏิบัติการกลุ่มย่อยของเยอรมนี ซึ่งพรางกายด้วยเครื่องแบบทหารโปแลนด์ ได้บุกยึดสถานีวิทยุดังกล่าว และได้เผยแพร่ข้อความต่อต้านเยอรมนีสั้น ๆ ในภาษาโปแลนด์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการโจมตีหลอกและทำให้การเผยแพร่ดังกล่าวคล้ายกับการก่อวินาศกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านเยอรมนี

เพื่อให้การก่อการดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ทหารเยอรมันได้นำเอาฟรานซิสเซค ฮอนิออก ชาวเยอรมันซิลีเซีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเห็นพ้องกับชาวโปแลนด์ และถูกจับกุมตัวโดยหน่วยเกสตาโปหนึ่งวันก่อนหน้านี้ เขาถูกจับแต่งกายคล้ายกับผู้ก่อวินาศกรรม จากนั้นก็ถูกสังหารโดยการใช้ไอพิษ และมีการจัดฉากให้ดูเหมือนกับว่าเขาถูกสังหารระหว่างโจมตีสถานีดังกล่าว ศพของเขาถูกนำมาเสนอเพื่อเป็นหลักฐานให้แก่ตำรวจและสาธารณชน

นอกเหนือจากนั้น ทหารเยอรมันยังได้มีการเตรียมนักโทษจากค่ายกักกันดาเคา เพื่อดำเนินการต่อ นอกเหนือจากฮอนิออกแล้ว และทหารเยอรมันได้เรียกปฏิบัติการดังกล่าวว่า "สินค้ากระป๋อง" จึงเป็นสาเหตุที่บางครั้งจึงได้มีการเรียกชื่อปฏิบัติการดังกล่าวว่า "ปฏิบัติการสินค้ากระป๋อง"

ใกล้เคียง

กรณีไกลวิทซ์ กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีตากใบ กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2553 กรณีเรือคารีน เอ กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง