การตั้งชื่อ ของ กรดน้ำส้ม

ชื่อสามัญ กรดแอซีติก ถูกนิยมใช้โดยนักเคมีและสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) ในขณะที่ชื่อตามระบบคือกรดเอทาโนอิก[2] ชื่อกรดแอซีติกมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาติน acetum ซึ่งแปลว่าน้ำส้มสายชูกรดแกลเชียลแอซีติก เป็นชื่อสำหรับกรดแอซีติกที่ปราศจากน้ำ (anhydrous) โดยชื่อนี้ (ซึ่งความหมายคล้ายกับคำภาษาเยอรมัน Eisessig แปลว่าน้ำแข็งน้ำส้มสายชู) มาจากโครงสร้างผลึกที่มีลักษณะคล้ายน้ำแข็ง ซึ่งก่อตัวเมื่อต่ำกว่าอุณภูมิห้องเล็กน้อยที่ 16.6 °C (61.9 °F) (น้ำ 0.1% ทำให้จุดหลอมเหลวชองสารลดลง 0.2 °C)[3]เครื่องหมายสามัญของกรดแอซีติกคือ AcOH โดยที่ Ac เป็นสัญลักษณ์แทนหมู่แอซีทิล (acetyl group) CH3−C(=O)− ในขณะที่มีคู่เบสเป็นแอซิเตตไอออน CH3COO− และแทนโดย AcO−[4] (ในที่นี้ Ac ไม่ใช่สัญลักษณ์ของธาตุแอกทิเนียม) กรดแอซีติกมักที่จะถูกเขียนในโครงสร้างดังนี้ CH3–C(O)OH CH3−C(=O)OH CH3COOH และ CH3CO2Hเมื่อกล่าวถึงปฏิกิริยายาระหว่างกรดและเบส สัญลักษณ์ HAc มักที่จะถูกใช้[5] โดยที่ Ac แทนเป็นแอซิเตตไอออน แอซิเตตคือไอออนที่เกิดจากการที่กรดแอซีติกเสีย H+ชื่อแอซิเตตอาจเป็นเกลือที่มีแอนไอออนหรือเอสเทอร์ของกรดแอซีติก[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรดน้ำส้ม http://www.chemspider.com/171 http://sriconsulting.com/CEH/Public/Reports/602.50... http://adsabs.harvard.edu/abs/1947JChEd..24..353B http://adsabs.harvard.edu/abs/1999JPCRD..31..231G http://adsabs.harvard.edu/abs/2005JPCA..109.5438T http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14555416 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16839071 http://repository.ias.ac.in/33062/1/33062.pdf //doi.org/10.1002%2F14356007.a01_045.pub2