กรดมาลิก
กรดมาลิก

กรดมาลิก

align="center" cellspacing="3" style="border: 1px solid #C0C090; background-color: #F8EABA; margin-bottom: 3px;" colspan="2"2-Hydroxybutanedioic acid130 °C, 403 K, 266 °F กรดมาลิก (อังกฤษ: malic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C4H6O5 เป็นกรดไดคาร์บอกซิลิกที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดผลิตได้ กรดมาลิกมีสองแบบคือแบบ L และแบบ D มีเฉพาะแบบ L ที่พบในธรรมชาติ เกลือและเอสเทอร์ของกรดมาลิกเรียกว่า มาเลต มาเลตมีความสำคัญในปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน C4 เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ในวัฏจักรแคลวินและแอนไอออนของมาเลตเป็นสารมัธยันตร์ในวัฏจักรกรดซิตริกคาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ นักเคมีชาวเยอรมัน/สวีเดนสกัดกรดมาลิกจากน้ำแอปเปิลเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1785[3] สองปีต่อมา อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีชาวฝรั่งเศสตั้งชื่อสารนี้ว่า acide malique ตามคำในภาษาละติน mālum ที่แปลว่าแอปเปิล[4][5] กรดมาลิกทำให้แอปเปิลเขียวมีรสเปรี้ยวและให้รสชาติอย่างเด่นชัดในรูบาร์บ นอกจากนี้ยังพบในองุ่น ทำให้ไวน์มีรสเปรี้ยว อย่างไรก็ตาม กรดมาลิกในองุ่นจะลดลงเมื่อผลองุ่นสุก เมื่อใช้ในอาหารกรดมาลิกจะมีเลขอีเท่ากับ E296 ผสมในลูกอมให้รสเปรี้ยวจัด กรดมาลิกได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารในสหภาพยุโรป[6] สหรัฐอเมริกา[7] ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรดมาลิก http://www.comlaw.gov.au/Details/F2011C00827 http://chemblink.com/products/6915-15-7.htm http://www.chemspider.com/510 http://www.sciencelab.com/msds.php?msdsId=9927566 http://jchemed.chem.wisc.edu/Journal/Issues/2007/J... http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://www.fda.gov/Food/FoodIngredientsPackaging/F... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://www.genome.ad.jp/dbget-bin/www_bget?cpd:C00... http://babel.hathitrust.org/cgi/pt?id=nyp.33433001...