กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (อังกฤษ: Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) หรือ ไอพีอีเอฟ (IPEF) เป็นโครงการริเริ่มทางเศรษฐกิจที่เปิดตัวโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดิน แห่งสหรัฐ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1][2] พร้อมกับอีกสิบสามประเทศ และคำเชิญอย่างเปิดเผยสำหรับประเทศอื่น ๆ ให้เข้าร่วมเมื่อใดก็ได้ในอนาคตไบเดินกล่าวถึงกรอบความคิดริเริ่มนี้ว่า "เป็นการเขียนกฎใหม่สำหรับเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21" โดยระบุว่าข้อตกลงนี้จะทำให้เศรษฐกิจของผู้เข้าร่วม "เติบโตเร็วขึ้นและยุติธรรมขึ้น" และจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวต่ออีกว่ากรอบการทำงานดังกล่าวเป็น "การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดที่สหรัฐเคยมีในภูมิภาคนี้"[3][4] อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบความร่วมมือนี้กับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ที่สหรัฐถอนตัวออกไปในปี 2560กรอบความร่วมมือนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการลดอัตราภาษีอากร แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเจรจาในภายหลัง[5] ภายใต้หลักการ 4 ประการ ได้แก่[6]

ใกล้เคียง

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ กรอบอ้างอิงเฉื่อย กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรอบแว่น กรอบเค็ม กรอบเวลา กรอบรูปภาพ กรอบอ้างอิง กรับคู่

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก https://www.cnn.com/2022/05/22/politics/joe-biden-... https://www.ft.com/content/91207c37-c9bd-4737-abf5... https://www.marketwatch.com/story/bidens-indo-paci... https://www.nytimes.com/2022/05/23/world/asia/bide... https://www.fbcnews.com.fj/news/fiji-joins-indo-pa... https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statement... https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statement...