กระบวนการอะเดียแบติกของแก๊สอุดมคติ ของ กระบวนการอะเดียแบติก

กระบวนการอะเดีบแบติกของแก๊สอุดมคติสามารถเขียนเป็นสมการได้คือ

P V γ = constant {\displaystyle PV^{\gamma }=\operatorname {constant} \qquad }

เมื่อ P คือความดัน V คือปริมาตรและ γ = C P C V = α + 1 α {\displaystyle \gamma ={C_{P} \over C_{V}}={\frac {\alpha +1}{\alpha }}}
C P {\displaystyle C_{P}} คือความจุความร้อนต่อโมลของแก๊สเมื่อความดันคงที่ และ C V {\displaystyle C_{V}} คือความจุความร้อนต่อโมลเมื่อปริมาตรคงที่ α {\displaystyle \alpha } คือจำนวนรูปแบบอิสระในการเคลื่อนที่ของโมเลกุล (Degrees of freedom) ( α {\displaystyle \alpha } เป็น 3/2 ในแก๊สอะตอมเดี่ยว 5/2 ในแก๊สอะตอมคู่ และ 3 ในแก๊สที่โมเลกุลซับซ้อน) ดังนั้น ในแก๊สอุดมคติอะตอมเดี่ยว ค่า γ จะเป็น 5/3 ส่วนแก๊สอะตอมคู่ เช่นออกซิเจนหรือไนโตรเจน จะมีค่า γ เป็น 7/5

นอกจากนี้ ในกระบวนการอะเดียแบติก ยังสามารถสรุปได้ว่า

V T α = constant {\displaystyle VT^{\alpha }=\operatorname {constant} } T V γ − 1 = constant {\displaystyle TV^{\gamma -1}=\operatorname {constant} }

เมื่อ T เป็นอุณหภูมิในหน่วยเคลวิน

ใกล้เคียง