ประเทศจีน ของ กระบี่อาญาสิทธิ์

ในละครโทรทัศน์ยอดนิยม เปาบุ้นจิ้นมักอัญเชิญกระบี่อาญาสิทธิ์ออกปราบคนพาลอภิบาลคนดี

กระบี่อาญาสิทธิ์ (จีน: 尚方寶劍 หรือ 勢劍; พินอิน: shàngfāngbǎojiàn หรือ shìjiàn, ช้างฟางเป่าเจี้ยน หรือ ชื้อเจี้ยน; แปล: "กระบี่หลวง" หรือ "กระบี่แห่งอำนาจ") หมายถึง กระบี่ของฮ่องเต้ เป็นสัญลักษณ์ของอาญาสิทธิ์และบำเหน็จความชอบ

ในอุปรากรจีนหรือวรรณกรรมจีน กระบี่อาญาสิทธิ์มักปรากฏว่าพระราชทานให้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดินแทนพระองค์ เสนาบดี แม่ทัพนายกอง หรือตุลาการ ผู้ถือกระบี่อาญาสิทธิ์ย่อมมี "อาญาสิทธิ์" ดังกล่าวเสมอองค์ฮ่องเต้ สามารถประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้ทันทีแล้วจึงค่อยกราบบังคมทูลถวายรายงาน ที่รู้จักกันในไทยมากที่สุดเห็นจะเป็นกระบี่อาญาสิทธิ์ของเปาบุ้นจิ้น (จีน: 包拯; พินอิน: Bāo Zhěng, เปาเจิ่ง) ซึ่งองค์ฮ่องเต้พระราชทานให้เปาบุ้นจิ้นสามารถประหารผู้ใดก็ได้นับแต่สามัญชน ขุนนาง จนถึงเจ้านาย โดยไม่ต้องได้รับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำรายงานกราบทูลให้ทรงทราบด้วย เป็นที่มาของสำนวนจีนว่า "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง" (จีน: 先斬後奏; พินอิน: xiānzhǎnhòuzòu, เซียนฉ่านโฮ้วโจ้ว)

ในทางประวัติศาสตร์ กระบี่อาญาสิทธิ์ปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉิน และยังมีบันทึกว่าองค์ฮ่องเต้พระราชทานให้แก่ข้าราชการสำคัญหลายคน เช่น ในสมัยราชวงศ์หมิง แม่ทัพหยวนช้งฮ้วน (จีน: 袁崇煥; พินอิน: Yuán Chónghuàn) ใช้กระบี่อาญาสิทธิ์ตามอำเภอใจ ได้สั่งประหารแม่ทัพเหมาเหวินหลง (จีน: 毛文龍; พินอิน: Máowénlóng) นายทัพผู้มากความสามารถ เป็นเหตุให้ราชวงศ์หมิงขาดคนมีฝีมือและล่มสลายลง ในราชวงศ์ต่อมา (ราชวงศ์ชิง) จึงไม่มีการพระราชทานกระบี่อาญาสิทธิ์แก่ผู้ใดอีก

ใกล้เคียง

กระบี่แสง กระบี่เย้ยยุทธจักร กระบี่เทพสังหาร (ภาพยนตร์) กระบี่กระบอง กระบี่ไร้เทียมทาน กระบี่ กระบี่ฟ้า ดาบมังกร กระบี่ใจพิสุทธิ์ กระบี่เพชฌฆาตไร้เงา กระบี่อาญาสิทธิ์