นิยามทางกฎหมายในปัจจุบัน ของ กรุสมบัติ

สหราชอาณาจักร

อังกฤษ, ไอร์แลนด์เหนือ และ เวลส์

ถ้วยริงเกิลเมียสร้างระหว่าง 1700 ถึง 1500 ก่อนคริสต์ศักราช ที่พบในปี ค.ศ. 2001 ที่เค้นท์ในอังกฤษที่ได้รับการประกาศว่าเป็นสมบัติภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช

ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกร, นักโบราณคดี และ นักล่าสมบัติต่างก็มีโอกาสขุดพบสมบัติอันสำคัญที่มีคุณค่าอันใหญ่หลวงทางประวัติศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และทางคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ แต่ความจำกัดของกฎหมายทำให้สิ่งที่ค้นพบได้รับการตัดสินว่าไม่อยู่ในข่ายที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการถูกนำไปขายยังต่างประเทศ หรือ รอดมาได้ด้วยการซื้อขายในราคาสูงเพื่อรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวอย่างเช่นสิ่งของที่เป็นของซัททันฮูที่ไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติเพราเป็นสมบัติที่ฝังไว้กับผู้ตาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการฝังสมบัติที่มีวัตถุประสงค์ในการซ่อนเพื่อที่จะมาขุดพบใหม่ต่อมา ต่อมาอีดิธ เมย์ พริททีผู้เป็นเจ้าของอุทิศสมบัตินี้ให้แก่ชาติในพินัยกรรมในปี ค.ศ. 1942

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 ก็ได้มีผู้พบกรุเหรียญกษาปณ์โรมัน ราว 7,811 เหรียญที่ฝังไว้ในทุ่งในลิงคอล์นเชอร์ ที่ประกอบด้วยเหรียญที่เชื่อกันว่าตีราวระหว่าง ค.ศ. 253 ถึง ค.ศ. 281 ศาลตัดสินว่าไม่ใช่กรุสมบัติเพราะเหรียญมีส่วนประกอบที่เป็นเงินต่ำ ฉะนั้นจึงเป็นสมบัติของเจ้าของทุ่งที่พบ และ ไม่เป็นอาจจะนำมาเป็นของพิพิธภัณฑ์บริติชได้[27]

ในการแก้ปัญหาดังกล่าวพระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996[28] จึงได้แจงรายละเอียดใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1997[29] ที่ว่าสมบัติใดที่พบเมื่อหรือหลังวันดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการฝังด้วยวัตถุประสงค์ใด หรือแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สูญหาย หรือ ทิ้งเอาไว้โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมาขุดคืน จะเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นอยู่กับความสนใจ และ สิทธิขององค์กรของสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนหน้านั้น[30] รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม, การสื่อสาร และการกีฬาอาจจะมีหน้าที่ในการโยกย้าย หรือ กำจัด[31] หรือในการจัดการสิทธิที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของของสถาบันพระมหากษัตริย์[32][33]

พระราชบัญญัติใช้คำว่า “สมบัติ” แทนคำว่า “กรุสมบัติ” คำหลังในปัจจุบันจำกัดใช้เฉพาะสำหรับสิ่งที่ค้นพบก่อนนหน้าที่จะมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งที่อยู่ในข่าย “สมบัติ” ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้แก่[33][34]

  1. ถ้าสิ่งที่พบไม่ใช่เหรียญ[35] ก็จะต้องเป็นสิ่งที่มีอายุอย่างน้อย 300 ปี[36] และมีน้ำหนักที่เป็นโลหะมีค่า (คือทองหรือเงิน) [37] อย่างน้อย 10%[38]
  2. ถ้าสิ่งที่พบเป็นเหรียญก็อาจจะเป็น:
    • เหรียญชนิดเดียวกันอย่างน้อยสองเหรียญในสมบัติกลุ่มเดียวกันที่พบ[39] ที่มีอายุอย่างน้อย 300 ปีเมื่อพบ และ มีน้ำหนักที่เป็นโลหะมีค่าอย่างน้อย 10% หรือ
    • เหรียญชนิดเดียวกันอย่างน้อยสิบเหรียญในสมบัติกลุ่มเดียวกันที่พบที่มีอายุอย่างน้อย 300 ปีเมื่อพบ
  3. สิ่งที่มีอายุอย่างน้อย 200 ปีเมื่อพบที่เป็นของกลุ่มสิ่งของที่ถือว่ามีคุณค่าสำคัญทางประวัติศาสตร์, โบราณคดี หรือวัฒนธรรมที่ได้รับการระบุโดยรัฐมนตรีแห่งรัฐ[40] เมื่อปี ค.ศ. 2006 กลุ่มสิ่งของดังกล่าวประกอบด้วย:[41]
    • สิ่งใดก็ตามนอกไปจากเหรียญ หรือส่วนของโลหะฐานที่ไม่ใช่ทองหรือเงิน[42] ที่เมื่อพบเป็นหนึ่งในโลหะฐานเดียวกับสิ่งอื่นในกรุเดียวกับที่พบที่มีอายุก่อนประวัติศาสตร์[43]
    • สิ่งใดก็ตามนอกไปจากเหรียญที่มีอายุก่อนประวัติศาสตร์ และส่วนใดก็ตามที่เป็นทองหรือเงิน
  1. สิ่งใดก็ตามที่เป็นกรุสมบัติที่พบก่อนวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1997
  2. สิ่งใดก็ตามที่เมื่อพบเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พบในกรุเดียวกันที่รวมทั้ง:
    • สิ่งที่กล่าวในหัวข้อ (1), (2), (3) หรือ (4) ข้างต้นที่พบในเวลาเดียวกันหรือก่อนหน้านั้น หรือ
    • สิ่งที่ก่อนหน้านั้นที่ตกอยู่ในหัวข้อ (1), (2) หรือ (3) ข้างต้นที่พบในเวลาเดียวกัน

สมบัติไม่รวมสิ่งของธรรมชาติที่ไม่ได้รับประดิษฐ์ หรือ โลหะที่หลอมจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือ หรือ สิ่งที่ได้รับการระบุว่าไม่เป็นสมบัติ[44] โดยโดยรัฐมนตรีแห่งรัฐ[45] สิ่งของที่ตกอยู่ในข่ายสิ่งของจากเรือแตก[46] ก็ไม่ถือว่าเป็นสมบัติ[33][47]

ผู้ตรวจสอบยังคงมีอำนาจทางกฎหมายในการสืบถามเกี่ยวสมบัติที่พบในดิสตริคท์ของตนเอง และเกี่ยวกับผู้สงสัยว่าจะเป็นผู้พบ[48] ผู้ใดก็ตามที่พบสิ่งของไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่สงสัยว่าสิ่งที่พบอาจจะเป็นสมบัติต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ในดิสตริคท์ที่พบสิ่งของภายใน 14 วันเริ่มตั้งแต่วันหลังจากวันที่พบ ถ้าต่อมาก็คือวันที่ผู้พบเชื่ออย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่พบคือสมบัติ[49] Not doing so is an offence.[50] การสืบสวนจัดขึ้นโดยไม่มีคณะผู้พิจารณานอกจากว่าผู้ตรวจสอบจะระบุ[51] ผู้ตรวจสอบต้องรายงานต่อพิพิธภัณฑ์บริติชถ้าดิสตริคท์ตั้งอยู่ในอังกฤษ, กระทรวงสิ่งแวดล้อมถ้าในไอร์แลนด์เหนือ หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งเวลส์[52] เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินตามขั้นตอนอันเหมาะสมในการแจ้งผู้ใดก็ตามที่ดูเหมือนจะเป็นผู้พบสมบัติ, ผู้ใดก็ตามที่เมื่อพบสมบัติเป็นอยู่ในที่ดินที่พบสมบัติ[53] และผู้ใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพบ หรือ ผู้มีผลประโยชน์ในที่ดินที่พบสมบัติในขณะนั้น[54] แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่มีอำนาจในการตัดสินทางกฎหมายว่าผู้พบ, เจ้าของที่ดิน หรือ ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินมีลิขสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ ศาลเท่านั้นที่จะมีสิทธิในการต้ดสินดังกล่าว และอาจจะตรวจสอบรายงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับสมบัติที่พบ[33][55]

ในกรณีที่สมบัติเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์และต้องส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑ์ รัฐมนตรีแห่งรัฐก็จะต้องระบุว่าทางพิพิธภัณฑ์ควรจะให้รางวัลอย่างใดหรือไม่ก่อนที่จะทำการโยกย้าย[56] แก่ผู้พบ, ผู้เกี่ยวข้อง, ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ดิน หรือผู้มีผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในที่ดินในช่วงเวลาที่พบสมบัติ[57] ถ้ารัฐมนตรีแห่งรัฐเห็นควรว่าควรจะจ่ายรางวัล ก็จะต้องระบุราคาตลาดของสมบัติดังกล่าวโดยความช่วยเหลือของคณะกรรมการประเมินราคาสมบัติผู้มีหน้าที่ในด้านนี้[58], จำนวนเงินรางวัล (ที่ไม่เกินราคาตลาด) และ ผู้ควรได้รับรางวัล และ ถ้ามีผู้รับเกินกว่าหนึ่งคนแต่ละคนควรจะได้คนละเท่าใด[33][59]

สิ่งของจากสมบัติสตาฟฟอร์ดเชอร์ที่ได้รับการตัดสินว่าเป็น “สมบัติ” ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009

ในอังกฤษและเวลส์ผู้พบสิ่งของที่มิได้ถือว่าเป็น “สมบัติ” หรือ “กรุสมบัติ” ได้รับการสนับสนุนให้รายงานเกี่ยวกับพบโดยความสมัครใจภายใต้ “โครงการสมบัติโบราณที่เคลื่อนย้ายได้” (Portable Antiquities Scheme) ต่อเจ้าหน้าที่บริหารหรือพิพิธภัณฑ์ส่วนท้องถิ่น ตามโครงการนี้ที่เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1997 เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบสิ่งที่พบและรายงานข้อมูลแก่ผู้พบ นอกจากนั้นแล้วก็จะทำการบันทึกสิ่งของที่พบ, ประโยชน์การใช้สอย, เวลาที่สร้าง, วัสดุ และ ตำแหน่งที่พบ และ เก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับจุดที่พบอาจจะใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับบริเวณที่พบต่อมา[60] สิ่งของที่มิได้ถือว่าเป็น “สมบัติ” เป็นของผู้พบหรือเจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิในการทำอย่างใดก็ได้ต่อสิ่งของที่พบตามความประสงค์[61]

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ก็มีการพบสมบัติแองโกล-แซ็กซอนจำนวนมากที่สุดตั้งแต่เคยพบมา ที่ประกอบด้วยสิ่งของที่ทำด้วยทองและโลหะมีค่าจำนวนกว่า 1,500 ชิ้น ที่รวมทั้งดาบตกแต่ง และ หมวกเกราะที่สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 600 ถึง ค.ศ. 800 เทอร์รี เฮอร์เบิร์ตผู้พบสิ่งของดังกล่าวที่สตาฟฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษรายงานการพบต่อเจ้าหน้าที่ “โครงการสมบัติโบราณที่เคลื่อนย้ายได้” และเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2009 สิ่งของที่พบก็ได้รับการประกาศว่าเป็น “สมบัติ” โดยเจ้าหน้าที่ของเซาธ์สตาฟฟอร์ด[62]

สกอตแลนด์

พระราชบัญญัติว่าด้วยสมบัติที่ขุดพบ ค.ศ. 1996 ไม่มีผลบังคับใช้ในสกอตแลนด์[63] การตัดสินกรณี “กรุสมบัติ” ในสกอตแลนด์จะตัดสินตามกฎหมายคอมมอนลอว์ของสกอตแลนด์ กฎโดยทั่วไปสำหรับ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” – ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่สูญหาย, หลงลืม หรือ ทิ้งขว้าง เป็น “quod nullius esfit domini regis” คือสิ่งที่ไม่เป็นของผู้ใดจะกลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[64][65] และกฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติเป็นกรณีพิเศษของกฎข้อนี้[66] สกอตแลนด์ก็เช่นเดียวกับอังกฤษ สถาบันกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติ[67] เพราะถือว่ากรุสมบัติคือ “regalia minora” หรือ “สมบัติย่อยของพระมหากษัตริย์”[68] ซึ่งหมายถึงสิทธิในเรื่องทรัพย์สมบัติที่สถาบันพระมหากษัตริย์กษัตริย์มีสิทธิที่จะทำเช่นใดก็ได้กับสมบัติดังกล่าวที่รวมทั้งการมอบให้แก่ผู้อื่นด้วย[69]

หน้าผาเกาะเซนต์นิเนียน, ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2006. สมบัติที่พบที่เกาะเซนต์นิเนียนเชื่อกันว่าเป็นสมบัติที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 800

การที่จะระบุได้ว่าเป็นกรุสมบัติได้ สิ่งของที่พบจะต้องเป็นสิ่งที่มีค่า สิ่งที่ซ่อนไว้ และ สิ่งที่ไม่มีข้อพิสูจน์หรือข้อสงสันในความเป็นเจ้าของโดยเจ้าของเดิม แต่ไม่เช่นเดียวกับกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ ซึ่งกรุสมบัติไม่จำกัดอยู่แต่เพียงสิ่งที่ทำด้วยเงินหรือทองเท่านั้น[70] ในปี ค.ศ. 1888 ทางการอ้างว่าได้มีการขุดพบสร้อยที่ทำด้วยแร่เจ็ต และสิ่งอื่นๆ ที่ฟอร์ฟาร์เชอร์ ซึ่งไม่ใช่สมบัติที่ทำด้วยเงินหรือทอง หลังจากที่ทำการตกลงกันได้แล้วสมบัติดังกล่าวก็ได้ทำการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์[7] ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1958 ก็ได้มีการขุดพบกระดูกวาฬพร้อมด้วยสิ่งของอีก 28 ชิ้นที่ทำด้วยเงินเจือ (เข็มกลัด 12 ชิ้น, ชาม 7 ใบ, ชามแขวน และ งานโลหะชิ้นเล็กอื่นๆ) ใต้แผ่นหินที่มีเครื่องหมายกางเขนบนพื้นในวัดที่เกาะเซนต์นิเนียนในShetland สมบัติที่พบมีอายุมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 800 หลังจากการพบแล้วก็เกิดการฟ้องร้องกันในคดีเกี่ยวกับสิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติดังกล่าวระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ข้างหนึ่ง และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีนผู้ดำเนินการสำรวจทางโบราณคดีผู้เป็นผู้พบอีกข้างหนึ่ง ในกรณี สถาบันพระมหากษัตริย์ v. มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (Lord Advocate v. University of Aberdeen) ในปี ค.ศ. 1963 ศาลตัดสินว่าสมบัติที่พบตกอยู่ในข่ายกรุสมบัติ[71] นอกจากนั้นแล้วกฎที่ระบุว่าสมบัติต้องเป็นสิ่งที่ถูก "ซ่อน" มิได้มีความหมายมากไปกว่าเป็นสิ่งที่ถูกอำพราง ซึ่งหมายถึงสภาวะของการขุดพบและมิได้หมายถึงวัตถุประสงค์เดิมของผู้เป็นเจ้าของในการทำการซ่อนสิ่งของดังกล่าว[72] ผลที่สุดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการไม่อาจระบุเจ้าของเดิมได้อย่างแน่นอนนั้น หมายความว่าจะต้องไม่มีวิธีที่สามารถที่จะสืบหาบุคคลที่เป็นเจ้าของเดิมหรือลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ได้[73] แม้ว่าสมบัติจะมิได้ตกอยู่ในข่ายกรุสมบัติแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อาจที่จะอ้างความเป็นเจ้าของได้ภายใต้ “ทรัพย์ปลอดพันธะ[74]

ที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์และรัฐมนตรีการคลัง (Queen's and Lord Treasurer's Remembrancer (QLTR)) เป็นสำนักงานภายใต้การดำเนินการของผู้แทนพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีหน้าที่เป็นตัวแทนสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ในการอ้างสิทธิภายใต้ “ทรัพย์ปลอดพันธะ[64] ผู้พบสิ่งของมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการพบแก่สำนักงานสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ องค์กรกรุสมบัติ (Treasure Trove Unit (TTU)) ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์ที่เอดินบะระห์ กรณีการพบแต่ละกรณีก็จะได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการเพื่อการระบุการเป็นเจ้าของของสมบัติทางโบราณคดีแห่งสกอตแลนด์ (Scottish Archaeological Finds Allocation Panel) ผู้มีหน้าที่ประเมินว่าสิ่งที่พบมีความสำคัญระดับชาติหรือไม่ ถ้ามีทางคณะกรรมการก็จะยื่นข้อเสนอโดยองค์กรกรุสมบัติต่อแผนกที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ที่สำนักงานสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ที่จะแจ้งไปยังผู้พบว่าสมบัติที่พบเป็นที่ยอมรับตามข้อเสนอของคณะกรรมการว่าเป็นกรุสมบัติหรือ “ทรัพย์ปลอดพันธะ[75]นอกจากนั้นคณะกรรมการก็จะทำการเสนอต่อที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ถึงรางวัลสำหรับสมบัติตามราคาตลาดในขณะนั้นตามความเหมาะสม และ พิพิธภัณฑ์ในสกอตแลนด์ที่ควรจะมีหน้าที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติดังกล่าว จากนั้นองค์กรกรุสมบัติก็จะติดต่อกับพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้ทำการประมูลสมบัติถึงข้อเสนอของคณะกรรมการ พิพิธภัณฑ์มีเวลาทั้งหมด 14 วันในการคัดค้านหรือยอมรับข้อเสนอทั้งที่เกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษาและรางวัลที่จะให้แก่ผู้พบ ถ้าที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ยอมรับข้อเสนอของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายในพระมหากษัตริย์ก็จะแจ้งผู้พบเกี่ยวกับจำนวนเงินรางวัลและพิพิธภัณฑ์ที่จะมีหน้าที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติ และ จะแจ้งให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้พบ[75]ขณะที่กฎของกระทรวงการคลังของปี ค.ศ. 1886 ระบุให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติต่างๆ มีหน้าที่เก็บรักษาสมบัติอันเหมาะสม และ มีหน้าที่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้พบ[7] แม้ว่าทางสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะให้รางวัลสำหรับกรุสมบัติที่ทางสถาบันอ้างสิทธิ แต่ตามความเป็นจริงแล้วทางสถาบันก็มักจะทำการให้รางวัลโดยใช้ราคาตลาดเป็นแนวทาง จำนวนรางวัลอาจจะถูกหักหรือลดถ้าผู้พบทำความเสียหายให้แก่สิ่งที่พบเป็นต้นว่าโดยการจับถืออย่างไม่ถูกต้อง การทำความสะอาด หรือการขัดเงา[76] ผู้พบมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับรางวัลก็ได้ รางวัลมิได้มอบให้เมื่อการพบเกิดขึ้นระหว่างโครงการการขุดค้นอย่างเป็นทางการ[75]

สหรัฐอเมริกา

กฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติของสหรัฐอเมริกาแตกต่างกันไปตามแต่รัฐ แต่ก็สามารถสร้างข้อสรุปโดยทั่วไปได้ว่า การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติได้ สิ่งของที่พบจะต้องเป็นเงินหรือทอง[77] ธนบัตรก็ถือว่าเป็นกรุสมบัติเพราะเป็นสิ่งที่ใช้แทนเงินหรือทองได้[78] จากพื้นฐานเดียวกันก็นับได้ว่าเหรียญที่ทำด้วยโลหะที่ไม่ใช่เงินหรือทองก็เป็นส่วนหนึ่งของกรุสมบัติ แต่ก็ยังต้องมีการวางรากฐานอย่างชัดเจนขึ้น[79] สิ่งของดังกล่าวต้องได้รับการซ่อนไว้เป็นเวลานานพอที่เจ้าของที่แท้จริงไม่อาจจะที่จะมีโอกาสที่จะปรากฏตัวมาอ้างความเป็นเจ้าของได้[80] ข้อที่ดูเหมือนจะพ้องกันคือวัตถุสิ่งของจะต้องมีอายุอย่างน้อยก็เป็นเวลาหลายสิบปี[81][82]

ศาลรัฐส่วนใหญ่ที่รวมทั้งศาลรัฐอาร์คันซอ, คอนเนตทิคัต, เดลาแวร์, จอร์เจีย, อินดีแอนา, ไอโอวา, เมน, แมริแลนด์, นิวยอร์ก, โอไฮโอ, ออริกอน และ วิสคอนซินต่างก็ตัดสินว่าสิทธิของสมบัติเป็นของผู้พบ ตามทฤษฎีแล้วการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษมีพื้นฐานมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิดั้งเดิมของผู้พบสมบัติ เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้นำมาบังคับใช้ในสหรัฐอเมริกาหลังจากการประกาศอิสรภาพ สิทธิในการเป็นเจ้าของสมบัติจึงหวนกลับไปเป็นของผู้พบ[83]ในไอดาโฮ[84] และ เทนเนสซี[85] ศาลตัดสินว่ากรุสมบัติเป็นของเจ้าของที่ที่พบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการให้รางวัลแก่ผู้บุกรุกเข้ามาในที่ดินที่เป็นของผู้อื่น ในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นในรัฐเพนซิลเวเนีย[86] ศาลล่างตัดสินว่าคอมมอนลอว์มิได้ให้สิทธิกรุสมบัติแก่ผู้พบแต่เป็นของพระมหากษัตริย์ และทำการมอบเงินจำนวน 92,800 ดอลลาร์สหรัฐ92,800 ให้แก่รัฐ แต่คำพิพากษาดังกล่าวมาถูกเปลี่ยนโดยศาลฎีกาแห่งรัฐเพนซิลเวเนียต่อมาด้วยเหตุผลที่ว่ายังมิได้มีการตัดสินอย่างเป็นทางการว่ากฎหมายเกี่ยวกับกรุสมบัติเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของรัฐเพนซิลเวเนีย[87] ส่วนศาลฎีกายังคงพยายามเลี่ยงการตัดสินที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว[88]

ในรัฐอื่นๆ การพบเงินหรือสิ่งของที่สูญหายดำเนินไปตามกฎที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติ รัฐบัญญัติดังว่านี้ระบุให้ผู้พบรายงานการพบและมอบสิ่งของที่พบต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำการโฆษณาเพื่อที่จะพยายามหาเจ้าของที่แท้จริง ถ้าไม่มีผู้ใดอ้างสิทธิในช่วงเวลาที่ระบุไว้สิทธิในการเป็นเจ้าของก็จะตกไปเป็นของผู้พบ[89] นิวเจอร์ซีย์ระบุว่าสมบัติที่ฝังหรือซ่อนเป็นของเจ้าของที่ดิน[90], อินดีแอนาระบุว่าเป็นของเคาน์ตี้[91], เวอร์มอนต์ระบุว่าเป็นของเมือง[92] และเมนระบุว่าเป็นของเมืองและผู้พบเท่าๆ กัน[93][94] ลุยเซียนาใช้ประมวลกฎหมายฝรั่งเศสซึ่งระบุว่ากึ่งหนึ่งของสมบัติเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งเป็นของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน[7] ส่วนกฎหมายของเปอร์โตริโกที่มีพื้นฐานมาจากกฎหมายแพ่งก็คล้ายคลึงกัน[95]

ผู้พบที่เป็นผู้รุกล้ำที่ดินมักจะไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ[96] นอกจากว่าผู้รุกล้ำจะถือว่าเป็น “technical or trivial”[97][98]

ในเกือบทุกกรณีที่ถ้าผู้พบเป็นลูกจ้างสิ่งที่พบก็ควรจะเป็นของนายจ้างถ้าเกิดเป็นคดีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของลูกค้า ถ้าไม่เช่นนั้นก็ควรจะตกไปเป็นของลูกจ้าง[99] สมบัติที่พบในธนาคารโดยทั่วไปแล้วก็จะตกไปเป็นของธนาคาร เพราะสมบัติดังกล่าวก็น่าที่จะเป็นของลูกค้าของธนาคาร และธนาคารก็มีหน้าที่ต่อลูกค้า (fiduciary duty) ในการพยายามหาเจ้าของของสมบัติที่หายไป[100] เช่นเดียวกันกับผู้รับส่ง (common carrier) มีหน้าที่ต่อผู้โดยสาร[101] หรือโรงแรงมีหน้าที่ต่อแขก (เฉพาะเมื่อสิ่งของที่พบพบในห้องพักมิใช่บริเวณทั่วไปในโรงแรม) [102][103] ทัศนคตินี้ใช้เป็นพื้นฐานที่เหมาะแก่สิ่งของที่สูญหายไปไม่นานนัก เพื่อที่จะพยายามหาเจ้าของให้แก่สิ่งของที่พบ แต่ก็เท่ากับเป็นการยกสิทธิความเป็นเจ้าของให้แก่สิ่งของเก่าให้แก่เจ้าของที่ดิน เพราะของเก่ามีโอกาสน้อยที่จะกลับไปเป็นของเจ้าของเดิม กฎดังกล่าวจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่มีคุณค่าทางโบราณคดี[26]


เนื่องจากการขัดกันของผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ[104] และบุคคลอื่นผู้มีหน้าที่ทางด้านการบังคับใช้กฎหมาย[105] และทหาร[106] ในบางรัฐไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ[107]

ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางโบราณคดี ค.ศ. 1979 ของสหรัฐอเมริกา[108] ระบุว่าสมบัติที่พบที่มีอายุกว่าหนึ่งร้อยปีบนที่ดินที่เป็นของรัฐบาลเป็นของรัฐบาล ส่วนในกรณีสมบัติสุสานของชาวอเมริกันอินเดียนที่พบบนดินแดนของรัฐบาลกลาง (Federal lands) และดินแดนของชนเผ่าอเมริกันอินเดียนก็จะใช้กฎหมายเฉพาะกรณีภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองและการเวนคืนสุสานชาวอเมริกันอินเดียน (Native American Graves Protection and Repatriation Act) [109] enacted on 16 November 1990.[110]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรุสมบัติ http://www.muenzgeschichte.ch/downloads/laws-usa.p... http://caselaw.lp.findlaw.com/data2/idahostatecase... http://books.google.com/books?id=7LkLAAAAYAAJ http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50029165 http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50181027 http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50256952 http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50258855 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.nysm.nysed.gov/services/233/hisfind.htm... http://www.1911encyclopedia.org/Treasure_Trove