ประวัติ ของ กรุสมบัติ

กฎหมายโรมัน

มงกุฎสักการะของกษัตริย์วิซิกอธ Reccesuinth ที่ทำด้วยทองและอัญมณีในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมบัติกวาร์ราซาร์ที่พบในสเปนระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง ค.ศ. 1861หมวกเกราะสำหรับพิธีจากซัททันฮูที่พบในปี ค.ศ. 1939 แต่สมบัตินี้ไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติ – เพราะเป็นการฝังศพในเรือ ซึ่งไม่ใช่เป็นการฝังสมบัติที่มีวัตถุประสงค์ในการซ่อน

ในกฎหมายโรมันกรุสมบัติเรียกว่า “thesaurus” ที่แปลว่าสมบัติ และนิยามโดยนักกฎมายโรมันจูเลียส พอลลัส พรูเดนทิสซิมัสว่าเป็น “vetus quædam depositio pecuniæ, cujus non extat memoria, ut jam dominum non habeat”[4] (ที่บรรจุโบราณของเงินที่ไม่อยู่ในความทรงจำของผู้ใด ซึ่งเท่ากับไม่มีเจ้าของในปัจจุบัน[5] อาร์. ดับเบิลยู. ลีออกความเห็นใน “The Elements of Roman Law” (ฉบับที่ 4 ค.ศ. 1956) ให้ความเห็นว่าคำนิยามนี้เป็นคำนิยามที่ “ไม่เป็นที่น่าพอใจ” เพราะสมบัติมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเงินตราเท่านั้น หรือเป็นสิ่งที่ทิ้งโดยเจ้าของ[5] ภายใต้กฎหมายโรมัน ถ้าผู้ใดพบสมบัติในบริเวณที่ดินของตนเอง หรือ บนที่ดินที่เป็นเทวสถาน ผู้พบสมบัติดังว่าก็มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นสมบัติที่พบโดยบังเอิญ และ โดยมิได้จงใจที่จะหาในที่ดินของผู้พบ กึ่งหนึ่งของสมบัติก็จะเป็นของผู้พบ และอีกกึ่งหนึ่งจะตกไปเป็นของเจ้าของที่ดินที่อาจจะเป็นพระมหาจักรพรรดิ, เจ้าหน้าที่การคลัง, เมือง หรือเจ้าของกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง[6] ตามความเห็นของนักกฎหมายดัตช์ฮูโก โกรเทียส (ค.ศ. 1583–ค.ศ. 1645) กล่าวว่าเมื่อระบบศักดินาแพร่ขยายไปทั่วยุโรป เจ้านายก็ถือกันว่าเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด สิทธิในการเป็นเจ้าของกรุสมบัติจึงกลายเป็น “jus commune et quasi gentium” (สิทธิสามัญและกึ่งสากล) ในอังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สเปน และ เดนมาร์ก[7]

กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ

เป็นที่กล่าวกันว่าความคิดเกี่ยวกับกรุสมบัติในกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษมีมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ (ราว ค.ศ. 1003/1004 – ค.ศ. 1066) [8] ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษกรุสมบัติหมายถึงทองหรือเงินในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ, จาน หรือเครื่องช้อนส้อม[9] หรือแท่งเงิน หรือแท่งทอง[10][11] ที่ถูกซ่อนและมาพบในภายหลัง และไม่อาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ ถ้าต่อมาพบผู้เป็นเจ้าของ กรุสมบัติก็จะตกไปเป็นของเจ้าของ[12][13] หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าของเดิม การที่จะถือว่าเป็นกรุสมบัติ สิ่งของในกรุต้องมีจำนวนพอสมควร ที่ประกอบด้วยทองหรือเงินจำนวนกึ่งหนึ่ง[14]

กรุสมบัติต้องเป็นสิ่งที่ซ่อนโดยมีวัตถุประสงค์ “animus revocandi” ที่หมายความว่าตั้งใจที่จะให้มาขุดคืนต่อมา ถ้าสิ่งของเพียงแต่หายหรือถูกทิ้งขว้างเช่นสิ่งของที่พบเกลื่อนกลาดบนพื้นดิน หรือ ในทะเล สิ่งของเหล่านั้นก็จะเป็นของบุคคลแรกที่พบ[12][15] หรือของเจ้าของที่ดินตามสมบัติที่สูญหาย, คลาดเคลื่อน และ ทิ้งขว้าง (Lost, mislaid, and abandoned property) ซึ่งเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการพบสิ่งของ ฉะนั้นสิ่งของที่พบในปี ค.ศ. 1939 ที่ซัททันฮูจึงไม่ถือว่าเป็นกรุสมบัติ เพราะสมบัติที่พบเป็นส่วนหนึ่งของการฝังศพในเรือ ซึ่งผู้ที่ทำการฝังไม่มีวัตถุประสงค์ที่มาขุดคืนต่อมา[16] สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งเครือจักรภพมีพระราชอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติที่พบ และถ้าสถานการณ์เกี่ยวกับการพบสมบัติเป็นสิ่งที่สรุปได้ว่าเป็นที่ถูกซ่อน สมบัตินั้นก็จะตกไปเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากจะมีผู้สามารถแสดงโฉนดหลักฐาน[17] สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถมอบสิทธิของกรุให้แก่ผู้ใดก็ได้ในรูปของอภิสิทธิ์โดยทุนสนับสนุนของรัฐบาล (government-granted monopoly) [12][13][18]

ผู้พบกรุหรือผู้รู้เบาะแสเกี่ยวกับกรุมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการพบสิ่งที่อาจจะเป็นกรุสมบัติต่อเจ้าหน้าที่ชันสูตรของตำบล การปิดบังการพบกรุถือว่ามีความผิดทางอาญา[19][20] ที่อาจจะได้รับการถูกลงโทษโดยการปรับหรือจำคุก[12][21] เจ้าหน้าที่ชันสูตรมีหน้าที่จัดการไต่สวนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อระบุว่าผู้ใดคือผู้พบ หรือ ผู้ใดที่สงสัยว่าเป็นผู้พบ[13][22] ถ้าปรากฏว่ามีการปิดบัง คณะผู้ไต่สวนก็สามารถทำการสืบสวนว่าสมบัติที่พบถูกซ่อนเร้นจากเจ้าของโดยชอบธรรมอย่างใด แต่ผลของการไต่สวนก็มักจะไม่เป็นที่สรุปได้[23] เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ไต่สวนมักจะไม่มีอำนาจในการสืบถามเกี่ยวกับโฉนดของสมบัติระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และผู้อ้างผู้อื่น ถ้าผู้ใดต้องการที่จะเสนอโฉนดต่อพระคลังผู้นั้นก็จะต้องดำเนินเรื่องเป็นกรณีทางศาลต่างหาก[20][24]

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสหราชอาณาจักรมีหน้าที่เงินทดแทนให้แก่ผู้พบที่รายงานการพบอย่างรวดเร็วและส่งสมบัติต่อไปยังองค์การที่เหมาะสม เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงคุณค่าทางโบราณคดีของสิ่งของดังกล่าว ที่ได้ทำการเก็บรักษาไว้สำหรับสถาบันแห่งชาติหรืออื่นๆ เช่นพิพิธภัณฑ์ สิ่งของที่มิได้ทำการเก็บรักษาเอาไว้ก็จะคืนให้แก่ผู้พบ[13][25]

กฎหมายจารีตประเพณีของสกอตแลนด์

ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีของกฎหมายสกอตแลนด์ บทที่เกี่ยวกับกรุสมบัติของสกอตแลนด์ยังคงถือว่าเป็นกรณีพิเศษในหัวข้อของกฎหมายทั่วไปในมาตราที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์ปลอดพันธะ” (bona vacantia) ซึ่งหมายถึงสิ่งของที่สูญหาย, หลงลืม หรือ ทิ้งขว้าง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ระบุว่า “quod nullius esfit domini regis” คือไม่เป็นของผู้ใดที่กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถาบันกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์มีอภิสิทธิ์ในกรุสมบัติ เพราะถือว่ากรุสมบัติคือ “regalia minora” หรือ “สมบัติย่อยของพระมหากษัตริย์” ซึ่งหมายถึงสิทธิในเรื่องทรัพย์สมบัติที่สถาบันพระมหากษัตริย์กษัตริย์มีสิทธิที่จะทำเช่นใดก็ได้กับสมบัติดังกล่าวที่รวมทั้งการมอบให้แก่ผู้อื่นด้วย

กฎหมายสหรัฐอเมริกา

รัฐหลายรัฐในสหรัฐอเมริกาอนุมัติการใช้กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษเป็นระบบกฎหมายของรัฐ ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 1863 สภานิติบัญญัติแห่งไอดาโฮอนุมัติกฎหมายที่ทำให้ “กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ...เป็นกฎของการตัดสินโดยศาลทุกศาล” ของรัฐ แต่พื้นฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษในข้อที่เกี่ยวกับกรุสมบัติไม่มีผลในสหรัฐอเมริกา ในกรณีนี้ศาลใช้กฎที่เกี่ยวกับการพบสิ่งของที่สูญหายหรือไม่มีเจ้าของแทนที่

กฎที่เกี่ยวกับกรุสมบัติได้รับการพิจารณากันอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกโดยศาลฎีกาแห่งรัฐออริกอนในปี ค.ศ. 1904 ในกรณีที่เกี่ยวกับเด็กชายผู้พบเหรียญทองที่มีมูลค่าหลายพันดอลลาร์สหรัฐที่ซ่อนไว้ในกล่องโลหะขณะที่ทำความสะอาดเล้าไก่ ศาลเข้าใจผิดว่ากฎที่ใช้ในการตัดสินเป็นกฎเดียวกันกับกฎที่ใช้ก่อนหน้านั้นในการระบุความเป็นเจ้าของแก่ผู้พบสิ่งของที่สูญหายและหาเจ้าของไม่ได้ การที่ศาลตัดสินว่าสิ่งที่พบเป็นของเด็กผู้พบก็เท่ากับเป็นนัยยะว่าผู้พบมีสิทธิในสิ่งของที่ถูกฝังเอาไว้ และละเลยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่พบสมบัติ[26]

ในปีต่อๆ มานโยบายทางกฎหมายก็ยิ่งเพิ่มความคลุมเคลือจากกรณีของอังกฤษและอเมริกันที่เกิดขึ้นที่ตัดสินว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิในสมบัติมีค่าที่พบในที่ดินศาลฎีกาแห่งรัฐเมนทำการพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ใหม่ซึ่งเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างชายสามคนขุดพบเหรียญขณะที่ขุดดินในที่ดินที่เป็นของนายจ้าง ศาลตัดสินตามแนวของคดีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ในไอดาโฮ และตัดสินว่าสมบัติที่ขุดพบเป็นของผู้พบ ในช่วง 30 ปีต่อมาศาลในรัฐต่างๆ ที่รวมทั้ง จอร์เจีย, อินดีแอนา, ไอโอวา, โอไฮโอ และ วิสคอนซิน ต่างก็ใช้กฎที่ดัดแปลงเกี่ยวกับ “treasure trove” ที่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 แต่ตั้งแต่นั้นมาแนวการตัดสินคดีดังกล่าวก็หมดความนิยมลง หนังสือตำราทางกฎหมายสมัยใหม่ถือว่าเป็น “การตัดสินที่เป็นการยอมรับ ถ้าไม่ควบคุม” แต่ก็มีผู้ออกความเห็นว่าเป็น “การตัดสินของกลุ่มน้อยที่มีที่มาอันเคลือบแคลง ที่ใช้กันอย่างเข้าใจผิด และไม่ถูกต้องในรัฐต่างๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1904 จนถึงปี ค.ศ. 1948”[26]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรุสมบัติ http://www.muenzgeschichte.ch/downloads/laws-usa.p... http://caselaw.lp.findlaw.com/data2/idahostatecase... http://books.google.com/books?id=7LkLAAAAYAAJ http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50029165 http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50181027 http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50256952 http://dictionary.oed.com/cgi/entry/50258855 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.nysm.nysed.gov/services/233/hisfind.htm... http://www.1911encyclopedia.org/Treasure_Trove