กายวิภาคโดยกิจ ของ กลีบท้ายทอย

สมองกลีบท้ายทอยแบ่งออกเป็นเขตการเห็น (visual areas) หลายเขต ในแต่ละเขตมีแผนที่สมบูรณ์ของโลกทางการเห็น ถึงแม้ว่า จะไม่มีตัวบ่งชี้ทางกายวิภาคที่แยกแยะเขตเหล่านี้ (ยกเว้นลายเส้นที่เด่นในคอร์เทกซ์ลาย) นักสรีระวิทยาก็ได้ใช้อิเล็กโทรด เพื่อสำรวจการทำงานของเซลล์ประสาทในเขต แล้วแบ่งคอร์เทกซ์ออกเป็นเขตต่างๆ กันโดยกิจ

เขตที่แบ่งโดยกิจเขตแรกก็คือคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม) ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางเฉพาะที่ (local orientation) ความถี่ปริภูมิ[7] และคุณลักษณะต่างๆ ของสี คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมส่งสัญญาณไปยังเขตต่างๆ ของสมองกลีบท้ายทอยในทางสัญญาณด้านล่าง (คือ เขตสายตา V2 และเขตสายตา V4) และในทางสัญญาณด้านหลัง (คือ เขตสายตา V3 และเขตสายตา MT และ dorsomedial area)

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลีบท้ายทอย http://bf4dv7zn3u.search.serialssolutions.com.myac... http://www.sparknotes.com/psychology/neuro/brainan... http://education.yahoo.com/reference/gray/subjects... http://braininfo.rprc.washington.edu/Scripts/hierc... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17105468 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2007/MB_cgi?mode=&... http://web.archive.org/web/20071231064003/http://w... //doi.org/10.1111%2Fj.1528-1167.2006.00696.x http://www.neurolex.org/wiki/birnlex_1136 https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Occipi...