การจัดจำแนก ของ กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้

  • ภาษาจอร์เจีย ได้แก่
    • ภาษาจอร์เจีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 4.1 ล้านคน โดยอยู่ในจอร์เจียราว 3.9 ล้านคน และราว 50,000 คนในตุรกีและอิหร่าน
    • ภาษายิวจอร์เจีย มีผู้พูดราว 80,000 คน โดยมี 60,000 คนอยู่ในอิสราเอลและ 20,000 คนอยู่ในจอร์เจีย บางครั้งถือเป็นสำเนียงของภาษาจอร์เจีย
  • กลุ่มภาษาซานได้แก่
    • ภาษาเมเกรเลีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 80,000 คนเมื่อ พ.ศ. 2532 ส่วนใหญ่อยู่ในซาเมเกรโลในจอร์เจียตะวันตกและในตำบลกาลีของอับฮาเซียตะวันออก ผู้อพยพชาวเมเกรเลียจากอับฮาเซียปัจจุบันอยู่ในตบิลิซ๊และที่อื่นๆในจอร์เจีย
    • ภาษาลาซ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 220,000 คนใน พ.ศ. 2523 ส่วนใหญ่อยู่รอบๆทะเลดำในตุรกีตะวันออกเฉียงเหนือ และมีราว 30,000 คนในอัดยารา จอร์เจีย
    • ภาษาสวาน มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 15,000 คนในเขตภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของสวาเนติ, จอร์เจีย

กลุ่มย่อยของภาษาเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน ในกรณีของภาษาเมเกรเลียและภาษาลาซ บางครั้งรวมกันเป็นภาษาซาน เชื่อกันว่าภาษาในกลุ่มนี้แยกตัวออกจากภาษาคาร์ทเวเลียดั้งเดิม ซึ่งน่าจะเคยใช้พูดในจอร์เจียและทางเหนือของตุรกีตั้งแต่เมื่อราว 2,457 – 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อดูจากระดับของความเปลี่ยนแปลง คาดว่าภาษาสวานเป็นภาษาที่แยกตัวออกมาเมื่อ ราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราชหรือก่อนหน้านี้ ในขณะที่ภาษาเมเกรเลียและภาษาลาซแยกตัวออกจากภาษาจอร์เจียในอีก 1,000 ปีต่อมา จากนั้นอีกราว 500 ปี ภาษาเมเกรเลียและภาษาลาซจึงแยกออกจากกัน

ภาษายิวจอร์เจียถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาจอร์เจีย ซึ่งมีคำยืมจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกเป็นจำนวนมาก

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน