ความเกี่ยวข้องที่เป็นไปได้กับกลุ่มภาษาอื่นๆ ของ กลุ่มภาษาคอเคเซียน

หลังจากที่เริ่มมีการศึกษาภาษาศาสตร์เปรียบเทียบในพุทธศตวรรษที่ 24 ได้มีความพยายามในการหาความเกี่ยวข้องระหว่างกลุ่มภาษาคอเคเซียนกับภาษาอื่นๆในบริเวณเดียวกัน ซึ่งพบความเกี่ยวข้องระหว่างกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือกับกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ และภาษาตายที่เคยใช้พูดในอนาโตเลียและเมโสโปเตเมียเหนือบางภาษา

  • ภาษาฮัตติก นักภาษาศาสตร์บางคนพบความเกี่ยวข้องระหว่างกลุ่มภาษาคอเคเซียนตะวันตกเฉียงเหนือกับภาษาฮัตติกที่เป็นภาษาที่ตายแล้ว
  • ภาษาบาสก์ เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่สามารถเชื่อมโยงภาษาบาสก์ซึ่งเป็นภาษาโดดเดี่ยวที่ใช้พูดในเทือกเขาไพเรนีสเข้ากับตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ที่อยู่ใกล้เคียงได้ จึงมีนักภาษาศาสตร์พยายามหาภาษาที่มีความเกี่ยวพันกับภาษาบาสก์ในที่อื่นๆ กลุ่มภาษาคอเคซัสส่วนใหญ่ (ยกเว้นภาษาเมเกรเลีย)มีระบบการกของคำนามใกล้เคียงกับภาษาบาสก์ในระบบที่เป็นการกเกี่ยวพันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พบในภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ทำให้มีนักภาษาศาสตร์บางกลุ่มเสนอความเกี่ยวข้องระหว่างภาษาบาสก์กับกลุ่มภาษาคอเคซัส
  • ภาษาไอบีเรียตะวันตก กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้มีความใกล้เคยงกับภาษาไอบีเรียที่ตายไปแล้ว เคยใช้พูดในคาบสมุทรไอบีเรียจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 6 แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่จารึกภาษาไอบีเรียที่เหลือรอดอยู่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาบาสก์ จึงอาจจะเชื่อมโยงภาษาเหล่านี้เข้าด้วยกันได้
  • ตระกูลใหญ่เคเน-คอเคเซียน เป็นสมมติฐานที่เสนอโดย Sergei Starostin ซึ่งมีเขตทางภูมิศาสตร์กว้างขวางตั้งแต่ภาษาบาสก์ในยุโรปตะวันตกไปจนถึงภาษานา-เคเนในอเมริกาเหนือ Starostin เสนอว่ากลุ่มภาษาฮูร์โร-ยูร์ราเทียและกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือมีความเกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลนี้ในระดับสูง
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน