กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา

กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา เป็นสมมติฐานของการจัดกลุ่มภายในกลุ่มภาษาดราวิเดียนใต้ซึ่งรวมภาษาทมิฬและภาษากันนาดา (การจัดกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาดราวิเดียนแตกต่างกันเล็กน้อยตามความเห็นของนักภาษาศาสตร์แต่ละคน)กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาเป็นสาขาของกลุ่มภาษาทมิฬ-ตูลู จากนั้นแบ่งย่อยเป็นกลุ่มภาษาทมิฬ-โกทคุ และกลุ่มภาษากันนาดา-พทคะ ซึ่งประกอบด้วยภาษาทมิฬ ภาษามลยาฬัม ภาษาอีรูลา ภาษาโตทะ ภาษาโกทคุ ภาษาพทคะ และภาษากันนาดาการแยกตัวของกลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาเกิดขึ้นหลังการแยกภาษาตูลูออกไปและก่อนการแยกตัวของภาษาโกทคุออกจากภาษาดาริเดียนใต้ดั้งเดิมเมื่อราว 1,457 - 957 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันภาษาทมิฬและภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในอินเดีย มีผู้พูดอยู่ในอินเดียใต้

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน