ประวัติ ของ กลุ่มสายการบินลาตัม

การรวมทุน

สายการบินลัน (LAN) จากประเทศชิลี และสายการบินตัง (TAM) จากประเทศบราซิล ได้ทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อผูกพันความร่วมมือในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 และหนังสือสัญญาที่จะรวมกิจการในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555[14][15][16] โดยผู้ถือหุ้นสายการบินตังได้เห็นชอบการควบรวมกิจการโดยสายการบินลัน[17] เอนริเก กูเอโต อดีตประธานบริหารของสายการบินลัน ไปเป็นประธานบริหารของลาตัม[18] และเมารีซียู โรลิง อามารู อดีตรองประธานของสายการบินตัง ไปเป็นประธานของลาตัม[19]

การอนุมัติจากรัฐบาล

รัฐบาลชิลีได้อนุมัติข้อตกลงจัดตั้งลาตัมเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยมีเงื่อนไขทั้งหมด 11 ข้อ ส่วนหนึ่งในนั้นได้แก่ การโอนเวลาการบินบางส่วนที่ท่าอากาศยานนานาชาติเซาเปาลู–กวารุลยุสให้แก่คู่แข่งที่สนใจเปิดเส้นทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซในซานเตียโกของชิลี การออกจากพันธมิตรทางการบินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งระหว่างวันเวิลด์กับสตาร์อัลไลแอนซ์ และการจำกัดการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารระหว่างบราซิลกับชิลี[20] ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลบราซิลได้อนุมัติข้อตกลงโดยกำหนดเงื่อนไขคล้ายคลึงกับรัฐบาลชิลี คือ ลาตัมต้องเลือกพันธมิตรการบินภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 และต้องลดจำนวนเที่ยวบินระหว่างเซาเปาลูกับซานเตียโกลง ในขณะนั้นสายการบินตังมีอยู่ 2 เที่ยว ในขณะที่สายการบินลันมีอยู่ 4 เที่ยว ทำให้สายการบินลันต้องลดจำนวนเที่ยวลง 2 เที่ยว เพื่อให้คู่แข่งเปิดเส้นทางนี้เพิ่ม[21] ในวันที่ 7 มีนาคม พ..ศ. 2556 กลุ่มสายการบินลาตัมได้ประกาศเลือกกลุ่มวันเวิลด์เป็นพันธมิตรสายการบิน ทำให้สายการบินตังออกจากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ในไตรมาสที่ 2 ของ พ.ศ. 2557 เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มวันเวิลด์[22]

การเปลี่ยนชื่อกิจการ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศว่าสายการบินทั้งหมดในกลุ่มลาตัมจะเปลี่ยนชื่อเป็นลาตัมโดยสมบูรณ์ และจะทำสีเครื่องบินใหม่ทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2561[23][24] เครื่องบินลายลาตัมเริ่มทำสีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559

กลุ่มสายการบินลาตัมยังคงดำเนินการเปลี่ยนชื่อกิจการและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น ทั้งรูปแบบที่ปรากฏบนเครื่องบิน สำนักงาน เคาน์เตอร์บริการที่สนามบิน เว็บไซต์ และเครื่องแบบเป็นต้น การเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้เกิดขึ้นโดยส่วนมากเป็นประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสาร เช่น การตกแต่งห้องโดยสาร ห้องรับรองพิเศษในเซาเปาลูและซานเตียโกซึ่งปัจจุบันเปิดใหับริการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายห้องรับรองสมาชิกสะสมไมล์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ระบบความบันเทิงบนเครื่องสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่[25]

การลงทุนของสายการบินเดลตาและการออกจากกลุ่มวันเวิลด์

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562 สายการบินเดลตาประกาศที่จะซื้อหุ้นกลุ่มลาตัมจำนวนร้อยละ 20 หรือราว 1.9 พันล้านดอลลาร์เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้เดลตากำลังจ่ายค่าธรรมเนียมที่กลุ่มลาตัมลาออกจากกลุ่มวันเวิลด์ และเงินคำสั่งซื้อเครื่องแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี[26][27][28]เมีอวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 กลุ่มลาตัมออกจากสมาชิกกลุ่มวันเวิลด์เริ่มวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มสายการบินลาตัม http://economia.estadao.com.br/noticias/economia+g... http://www.melhoresdestinos.com.br/wp-content/uplo... http://www.tam.com.br/b2c/vgn/v/index.jsp?vgnextoi... http://www.valor.com.br/empresas/1013334/tribunal-... http://www.bbc.com/mundo/noticias/2011/09/110922_t... http://brandz.com/admin/uploads/files/BrandZ_LatAm... http://centreforaviation.com/analysis/latam-airlin... http://www.elespectador.com/noticias/economia/grup... http://www.flightglobal.com/articles/2010/08/13/34... http://www.flightglobal.com/articles/2010/08/13/34...