กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม
กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม

กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม

กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม (อังกฤษ: Stockholm syndrome) เป็นคำอธิบายถึงอาการอย่างหนึ่งที่ตัวประกันเกิดความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ลักพาตัวในระหว่างการถูกกักขัง[1] ความสัมพันธ์ทางอารมณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างผู้จับกับเชลยในช่วงเวลาที่ได้ใกล้ชิดกัน แต่นี่อาจถือได้ว่าไม่มีสัญญาณด้านอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อเหยื่อ กลุ่มอาการสต็อกโฮล์มไม่อยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เนื่องจากขาดการวิจัยเชิงวิชาการ[2][3] กลุ่มอาการนี่พบเห็นได้ยาก จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการจับตัวประกัน ของสำนักงานสอบสวนกลาง และ Law Enforcement Bulletin ประเมินว่าพบการลักพาตัวประเภทนี้น้อยกว่า 5%[4]คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดยสื่อมวลชนในปี ค.ศ. 1973 เมื่อมีการจับตัวประกัน 4 คนระหว่างเหตุปล้นธนาคารเครดิทบังเคน ที่ย่านนอร์มัล์มสตอร์ยของเมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตัวประกันได้ปกป้องผู้จับตัวพวกเขาหลังถูกปล่อยตัวและยังไม่ยอมเป็นพยานต่อศาลด้วย[2]สี่องค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณลักษณะของกลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม คือ

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน