พยาธิกำเนิด ของ กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่

ความรู้สึกและความเจ็บปวดในอวัยวะที่ไม่มี

ความเจ็บปวดและความรู้สึกอื่น ๆ ในอวัยวะที่ไม่มี เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทกลางที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตัดประสาท (denervation) จากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง[3][4] แต่ว่า ความเจ็บปวดในตาที่ไม่มีเกิดขึ้นน้อยกว่าการเจ็บปวดในอวัยวะอื่นเช่นแขนขาเป็นต้นที่ไม่มีความเจ็บปวดในแขนขาที่ตัดออกมีอัตราความชุกประมาณ 50% ถึง 78% เปรียบเทียบกับความเจ็บปวดในลูกตาที่เอาออกประมาณ 30%

เชื่อกันว่า ความเปลี่ยนแปลงในคอร์เทกซ์ที่มีแผนที่ภูมิลักษณ์ของเนื้อเยื่อรับความรู้สึก (คือใน cortical homunculus) จุดใกล้กับอวัยวะที่ตัดออกไป มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของความเจ็บปวดและความรู้สึกอื่น ๆ ในอวัยวะที่ไม่มีเหตุผลที่มีคนไข้ที่มีความเจ็บปวดในตาที่ไม่มี น้อยกว่าคนไข้ที่มีความเจ็บปวดในแขนขาที่ไม่มี อาจจะเป็นเพราะระบบรับความรู้สึกทางกายมีเขตแผนที่ภูมิลักษณ์ของลูกตาที่เล็กกว่าของแขนขา

สำหรับผู้ที่ตัดแขนขาออก งานวิจัยหลายงานพบว่าบางคน[5] มีสหสัมพันธ์ระหว่างความเจ็บปวดในอวัยวะที่จะตัดออกก่อนผ่าตัด กับความเจ็บปวดในอวัยวะที่ไม่มีหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างความเจ็บปวดก่อนผ่าตัดตาและอาการปวดหัว กับความรู้สึกทั้งที่ประกอบด้วยความเจ็บปวดและไม่ประกอบด้วยความเจ็บปวดในตาที่ไม่มีหลังผ่าตัด[6] แต่ว่าด้วยข้อมูลที่มีอยู่ ยังยากที่จะตัดสินว่า อาการปวดศีรษะและความเจ็บปวดที่ตาก่อนผ่าตัดเป็นเหตุของการเกิดขึ้นของความรู้สึกในตาที่ไม่มี หรือว่า อาการปวดศีรษะและความเจ็บปวดที่ตาก่อนผ่าตัด และความรู้สึกในตาที่ไม่มีหลังผ่าตัด ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากเหตุอย่างอื่นอย่างไรก็ดี งานวิจัยในมนุษย์ได้แสดงแล้วว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในช่วงงานวิจัย นำไปสู่การจัดระเบียบใหม่อย่างรวดเร็วของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex)[7] งานวิจัยนี้อาจจะบอกเป็นนัยว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก่อนการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดอาจจะเป็นเหตุสำคัญเหตุหนึ่งในการจัดระเบียบใหม่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย และการเกิดขึ้นของความรู้สึกในอวัยวะที่ไม่มี

ภาพหลอนทางตา

ทั้งการควักลูกตาออก (enucleation) และความเสียหายในเรตินา นำไปสู่ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์สายตาที่รับข้อมูลทางตาคือ การยับยั้งประสาทที่เกิดจากการหลั่งสาร GABA[8] ลดลง และการกระตุ้นคอร์เทกซ์สายตาเนื่องจากการหลั่งสารกลูตาเมตก็เพิ่มขึ้น ตามมาด้วยความไวต่อสิ่งเร้าทางตา และแม้กระทั่งการทำงานที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสัญญาณกระตุ้นที่ส่งไปจากตา ในคอร์เทกซ์สายตา[9] เชื่อกันว่า การทำงานที่ไม่มีเหตุในคอร์เทกซ์สายตาที่ตาไม่ได้ส่งข้อมูลประสาทไปให้แล้ว เป็นประสาทสัมพันธ์ (neural correlate) คือเป็นเหตุของภาพหลอนทางตา

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มอาการมาร์แฟน กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มเดอะมอลล์

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่ http://www.blackwell-synergy.com/openurl?genre=art... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S03043... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S03043... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=353.... http://iospress.metapress.com/openurl.asp?genre=ar... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11165440 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11460799 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12671230 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12743251 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9209770