พัฒนาการ ของ กลุ่มเบลาเออไรเทอร์

ในปี 1911 หลังจากที่แคนดิสกีและมาร์กได้ออกจากกลุ่ม N.K.V.M. แคนดินสกีกลายเป็นบรรณาธิการ ของกลุ่มเดอะ บลู ไรเดอร์ และพวกเขาทั้งสองก็ได้รีบจัดนิทรรศการ ในวันเดียวกันกับงานเปิดนิทรรศการของกลุ่ม N.K.V.M. ซึ่งเป็นนัยหมายถึงการแสดงให้เหตุถึงพลังของศิลปะหัวก้าวหน้า ที่ก้าวหน้ากว่า

เดอะ บลู ไรเดอร์ แต่เดิมชื่อนี้ถูกเผยแพร่โดย Reinhard Piper (เยอรมัน: Reinhard Piper)ซึ่งเป็นผู้โฆษณาและวางแผนปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยที่วาสสิลี แคนดินสกี (อังกฤษ: Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก (อังกฤษ: Franz Marc)ช่วยกันจัดนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นถึงทฤษฎีและรูปแบบงานศิลปะของพวกเขาขึ้น ในปี 1911 และปี 1912 โดยนิทรรศการครั้งแรกถูกจัดขึ้นที่ Thannhauser Galleryในเมืองมิวนิกและเปิดแสดงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 1911 นอกเหนือจาก วาสสิลี แคนดินสกี(อังกฤษ: Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก(อังกฤษ: Franz Marc)แล้วก็ยังมีศิลปินคนอื่น ๆ อีกที่เข้าร่วมแสดงด้วย เช่น Gabriele Münter, Arnold Schönberg ซึ่งเป็นนักแต่งเพลง August Macke และ Heinrich Campendonkซึ่งเป็นศิลปินในกลุ่ม ไรน์นิช เอกซ์เพรสชั่นนิสม์ (อังกฤษ: Rhenish Expressionism)และ เดอลาเนย์ (Robert Delaunay) ศิลปินชาวฝรั่งเศสรวมถึงอเล็ก วอน จาวเลนสกี (Alexej von Jawlensky), Marianne von Werefkin และพอล คลี (Paul Klee) ก็ได้เข้าร่วมด้วยชื่อของศิลปินทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในกลุ่ม เดอะ บลู ไรเดอร์ ทั้งในบทความและสมุดภาพ

พัฒนาการขั้นที่สองของ เดอะ บลู ไรเดอร์ คือพื้นที่ในศิลปะอาร์ตนูโว (ฝรั่งเศส: Art Nouveau) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศิลปะของเมืองมิวนิกนิตยสาร 2 ฉบับ ที่ตีพิมพ์ในปี 1896 ได้แก่ นิตยสาร Jugend (คนหนุ่มสาว) และ นิตยสาร Simplicissimus ได้แสดงให้เห็นว่าศิลปินอาร์ตนูโวที่เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดของมิวนิก คือ Von Stuck ซึ่งแนวคิดทั้งหมดของเขาถูกใส่ลงไปในงานศิลปะที่เขาทำส่งผลให้ถ้อยแถลงที่ถูกระบุโดยแคนดินสกีกลายเป็นเพียงความคิดที่ค่อนข้างจะธรรมดาไปแล้ว ในสภาพแวดล้อมของเขาเมืองมิวนิกที่เต็มไปด้วยแนวคิดที่เปิดกว้างเกี่ยวกับวงการศิลปะและด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เมืองมิวนิกเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับศิลปินทั้งหลาย

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน