กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส
กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis muscle) เป็นกล้ามเนื้อบางๆ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของศีรษะ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเกาะกับพังผืดชั้นผิว (superficial fascia) มีลักษณะกว้างกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส (Occipitalis) และใยของกล้ามเนื้อนี้ยังยาวและสีซีดกว่ากล้ามเนื้อออกซิปิตาลิส กล้ามเนื้อนี้ไม่มีจุดเกาะอยู่กับกระดูกใยกล้ามเนื้อส่วนใกล้กลาง (medial) ต่อเนื่องกับใยของกล้ามเนื้อโปรเซอรัส (Procerus) ใยกล้ามเนื้อตรงกลางร่วมไปกับกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) ยึดเกาะกับผิวหนังของคิ้ว[1] และใยกล้ามเนื้อด้านข้างรวมกับกล้ามเนื้อหลับตาเหนือส่วนยื่นกระดูกหน้าผากจดกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic process of the frontal bone)จากจุดเกาะดังกล่าว ใยกล้ามเนื้อทอดตัวขึ้นไปด้านบน และเชื่อมกับกาเลีย อโพนิวโรติกา (galea aponeurotica) ใต้ต่อรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture)ขอบด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อฟรอนทาลิสาเชื่อมร่วมกันเหนือต่อสันจมูก แต่ระหว่างกล้ามเนื้อออกซิปิตาลิสเป็นช่องว่างที่มีความผันแปร เป็นที่อยู่ของกาเลีย อโพนิวโรติกาในตำราบางเล่มจัดกล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อออกซิปิโตฟรอนทาลิส (occipitofrontalis muscle)หน้าที่หลักของกล้ามเนื้อนี้ต่อคิ้ว คือการยกหรือเลิกคิ้ว (ทำหน้าที่ตรงข้ามกับส่วนเบ้าตาของกล้ามเนื้อหลับตา (orbital portion of the orbicularis)) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองขึ้นไปด้านบน และยังทำหน้าที่เมื่อวัตถุที่มองอยู่ไกลหรือมัวมาก[1]

กล้ามเนื้อฟรอนทาลิส

การกระทำ ย่นคิ้ว, ดึงหนังศีรษะมาด้านหน้า
TA2 2056
จุดยึด กาเลีย อโพนิวโรติกา (galea aponeurotica)
ภาษาละติน venter frontalis musculi occipitofrontalis
จุดเกาะ ผิวหนังบริเวณโหนกคิ้ว (Supraciliary crest)
TA98 A04.1.03.004
ประสาท เส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve)
หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงลูกตา (ophthalmic artery)
FMA 46757

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส