กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (อังกฤษ: myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้[1] อาการเหล่านี้อาจเป็นอยู่ได้นานเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือเป็นต่อเนื่องหลายเดือนก็ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เช่น หัวใจวาย จากภาวะหัวใจโตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยาย หรือเกิดหัวใจหยุดเต้นได้[1]กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น เชื้อแบคทีเรีย Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ เชื้อโปรโตซัว Trypanosoma cruzi สาเหตุอื่นๆ เช่น เกิดจากผลข้างเคียงของยา การได้รับสารพิษ และโรคภูมิต้านตนเอง[1][2] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจระดับโทรโพนินในเลือดซึ่งจะมีระดับสูงกว่าปกติ การตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ และบางครั้งก็อาจวินิจฉัยได้จากการตรวจชันสูตรชิ้นเนื้อหัวใจ[1][2] การตรวจอื่นๆ ที่มีประโยชน์ เช่น การตรวจอุลตร้าซาวด์หัวใจ ช่วยแยกโรคอื่นๆ ออกได้ เช่น โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น[2]การรักษาขึ้นกับสาเหตุและระดับความรุนแรง[1][2] ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา เช่น ยายับยั้งเอซีอี ยาต้านเบต้า และยาขับปัสสาวะ[1][2] ร่วมกับการงดออกแรงระหว่างการรักษาตัว[1][2] บางรายอาจต้องใช้ยาภูมิคุ้มกัน เช่น คอร์ติโคสเตอรอยด์ หรือการให้อิมมูโนกลอบูลินทางหลอดเลือดดำ (IVIG)[1][2] ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝังในร่างกาย หรือการปลูกถ่ายหัวใจ[1][2]ปี ค.ศ. 2013 พบผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันประมาณ 1.5 ล้านคน[6] โรคนี้พบได้ในคนทุกอายุ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือในคนอายุน้อย[7] พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย[1] ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง[2] ข้อมูลปี ค.ศ. 2015 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนับรวมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดอื่นๆ รวมทั้งสิ้นแล้ว 354,000 คน เพิ่มจากข้อมูล ค.ศ. 1990 ที่พบผู้เสียชีวิต 294,000 คน[8][5] โรคนี้ได้รับการบรรยายเอาไว้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 1800[9]

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

อาการ หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, ออกแรงได้น้อยลง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ[1]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ, หทัยวิทยา
ระยะดำเนินโรค มีตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงหลายเดือน[1]
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส, อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, ยาบางชนิด, สารพิษ, โรคภูมิต้านตนเอง[1][2]
ความชุก นับรวมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจอื่นๆ อยู่ที่ 2.5 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[4]
วิธีวินิจฉัย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจระดับโทรโพนินในเลือด, การตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ, การตรวจชันสูตรชิ้นเนื้อหัวใจ[1][2]
ยา ยายับยั้งตัวรับเอซีอี, ยาต้านเบต้า, ยาขับปัสสาวะ, คอร์ติโคสเตอรอยด์, อิมมูโนกลอบูลิน[1][2]
ภาวะแทรกซ้อน หัวใจวายจากภาวะหัวใจโต, หัวใจวาย[1]
การรักษา รักษาด้วยยา, ฝังอุปกรณ์กระตุกหัวใจไฟฟ้า, การปลูกถ่ายหัวใจ[1][2]
การเสียชีวิต นับรวมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจอื่นๆ อยู่ที่ 354,000 คน (ค.ศ. 2015)[5]
ชื่ออื่น Inflammatory cardiomyopathy (infectious)
พยากรณ์โรค แตกต่างกันไปในแต่ละคน[3]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ http://www.diseasesdatabase.com/ddb8716.htm http://www.emedicine.com/article/topic156330.htm http://www.emedicine.com/article/topic1612533.htm http://www.emedicine.com/article/topic890740.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=391.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=422 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=429.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19357408 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22361396 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25530442