กล้ามเนื้อลายสลายตัว
กล้ามเนื้อลายสลายตัว

กล้ามเนื้อลายสลายตัว

กล้ามเนื้อลายสลายตัว (อังกฤษ: Rhabdomyolysis; เรียกโดยย่อว่า แรบโด; rhabdo) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อลายที่บาดเจ็บเกิดการสลายตัวอย่างรวดเร็ว[6][4][5] อาการอาจประกอบด้วยปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนแรง, อาเจียน และ สับสน[3][4] นอกจากนี้อาจพบปัสสาวะสีชา หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้[3][5] ผลิตภัณฑ์จากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่น โปรตีนไมโยโกลบิน เป็นอันตรายต่อไตและสามารถก่อภาวะไตเสียหายเฉียบพลันได้[7][3]การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมักเกิดจากกลุ่มอาการถูกบดอัด, การออกกำลังกายหนักติดต่อกันนาน, ยาบางชนิด หรือการใช้สาร[3] สาเหตุอื่น ๆ ยังอาจรวมถึงการติดเชื้อ, การบาดเจ็บจากไฟฟ้า, ฮีตสโตรก, การไม่ได้ขยับร่างกายเป็นเวลานาน, แขนขาขาดเลือด หรือ ถูกงูกัด[3] การออกกำลังกายเป็นเวลานานสามารถเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและแรบโดมัยโอลัยสิสได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน[8] สตาติน ซึ่งเป็นยาสั่งสำหรับลดระดับคอเลสเตอรอล อาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้ แต่ถือว่าความเสี่ยงต่ำ[9] ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อลายสลายได้[3] การวินิจฉัยสามารถสนับสนุนได้ด้วยการทำสตริปตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะให้ผลบวกสำหรับเม็ดเลือด แต่เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ไม่พบตัวเม็ดเลือดแดง[3] การตรวจเลือดจะพบครีเอทีนคิเนสที่มีสูงกว่า 1,000 U/L หรือในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจพบได้สูงถึง 5,000-15,000 U/L[5]การรักษาหลักคือการให้สารน้ำจำนวนมากผ่านทางไอวี[3] การรักษาอื่น ๆ อาจรวมถึงการฟอกไต หรือ ฟอกเลือด ในรายที่เป็นหนัก[4][10] เมื่อผู้ป่วยมีปัสสาวะออกแล้ว นิยมให้โซเดียมไบคาร์บอเนต และ แมนนิทอล กระนั้นไม่มีหลักฐานสนับสนุนการให้สารทั้งสองนี้[3][4] พยากรณ์โรคมักค่อนข้างดีหากได้รับการรักษาเร็ว[3] อาการแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อลายสลายตัวรวมถึงโพแทสเซียมสูงในเลือด, แคลเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะการแข็งตัวในหลอดเลือดแบบกระจาย และ กลุ่มอาการคอมพาร์ตเมนต์[3]กล้ามเนื้อลายสลายมีรายงานอยู่ที่ราว 26,000 รายต่อปีในสหรัฐ[3] และมีการกล่าวถึงมาตลอดในประวัติศาสตร์ โดยมีการบรรยายครั้งแรกแบบเป็นสมัยใหม่หลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งหนึ่งในปี 1908[11] มีการค้นพบสำคัญเกี่ยวกับกลไกเกิดโรคในการทิ้งระเบิดลอนดอนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1941[11] กล้ามเนื้อลายสลายเป็นภาวะสำคัญที่พบในอุบัติภัยหมู่เช่นแผ่นดินไหว ทีมแพทย์ที่ทำการรักษาในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องเตรียมพร้อมกับการรักษาภาวะนี้[11]

กล้ามเนื้อลายสลายตัว

อาการ ปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนแรง, อาเจียน, สับสน, ปัสสาวะสีชา, หัวใจเต้นผิดจังหวะ[3][4]
สาขาวิชา เวชศาสตร์วิกฤต, วิทยาไต
ภาวะแทรกซ้อน ไตวายเฉียบพลัน, โปแตสเซียมในเลือดสูง, แคลเซียมในเลือดต่ำ, เลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบกระจาย, กลุ่มอาการคอมพาร์ตเมนต์[3]
การออกเสียง
การรักษา ไอวีสารน้ำ, ฟอกไต, ฟอกเลือด[3]
สาเหตุ กลุ่มอาการถูกบดอัด, การออกกำลังกายหนักติดต่อกันยาวนาน, ยา, การใช้สาร, การติดเชื้อบางชนิด[3]
ความชุก มีรายงาน 26,000 กรณีต่อปี (สหรัฐ)[3]
วิธีวินิจฉัย ค่าเลือด (ครีเอทีนคิเนส), สตริปตรวจปัสสาวะ[3][5]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อลายสลายตัว https://www.merriam-webster.com/dictionary/Rhabdom... http://www.dictionary.com/browse/Rhabdomyolysis https://icd.who.int/browse10/2019/en#/M62.8 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.5 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.6 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=728.... https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11472.htm https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://emedicine.medscape.com/emerg/508-overview