สาเหตุ ของ กล้ามเนื้อลายสลายตัว

กล้ามเนื้อบาดเจ็บรูปแบบใดก็ตามที่รุนแรงมากพอ ล้วนสามารถก่อให้เกิดกล้ามเนื้อลายสลายตัวได้ทั้งนั้น[4] ในผู้ป่วยหนึ่งรายสามารถมีหลายสาเหตุร่วมกันพร้อม ๆ กันได้[10] บางรายอาจมีภาวะทางกล้ามเนื้ออยู่เดิม โดยทั่วไปเป็นภาวะทางกรรมพันธุ์ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อลายสลายตัวมากกว่าปกติ[10][12]

สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อย
ชนิดสาเหตุ
เกี่ยวกับการการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักการออกกำลังกายอย่างหนักต่อเนื่อง (โดยเฉพาะหากไม่ได้น้ำเพียงพอ), ดีลีเรียมทรีเมนส์ (ภาวะถอนเหล้า), บาดทะยัก, อาการชักยาวนาน, สเตตัสอีพิเลปติกคัส[4][10]
ถูกบดอัดกลุ่มอาการถูกบดอัด, การบาดเจ็บแบบแตกกระจาย, อุบัติเหตุทางรถยนต์, การทรมานร่างกายหรือการทำร้ายร่างกาย, การถูกจำกัดท่าทางอยู่ในท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เช่น ภายหลังหลอดเลือดสมองแตก, จากภาวะพิษแอลกอฮอล์ หรือในการผ่าตัดที่ยาวนาน[4][10]
เลือดมาเลี้ยงไม่พอธรอมโบสิส (ลิ่มเลือกก่อตัวในบริเวณนั้น) หรือ เอ็มโบลิซึม (ลิ่มเลือกหรือเศษซากจากส่วนอื่นของร่างกาย) ในหลอดเลือดแดง, หลอดเลือดแดงใหญ่ถูกแคลมป์ระหว่างการผ่าตัด[4][10]
เมแทบอลิซึมภาวะออสโมลาร์สูงเหตุน้ำตาลในเลือดสูง, โซเดียมในเลือดสูง และ ต่ำ, โพแทสเซียมในเลือดต่ำ, แคลเซียมในเลือดต่ำ, ฟอสเฟตในเลือดต่ำ, ภาวะกรดชนิดคีโตน (เช่นในภาวะกรดชนิดคีโตนเหตุเบาหวาน) หรือ ภาวะธัยรอยด์ต่ำ[4][10][12]
อุณหภูมิกายอุณหภูมิกายสูงและการเจ็บป่วยจากความร้อน, อุณหภูมิกายต่ำ[4][10]
ยาและสารพิษยาจำนวนมากสามารถเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อลายสลายตัว[13] โดยรายการยาที่สำคัญได้แก่:[4][10][12]

สารพิษที่มีการเชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อลายสลายตัว ได้แก่ โลหะหนัก และ พิษจากแมลงหรืองู[4] เฮ็มล็อก (Hemlock) สามารถก่อกล้ามเนื้อลายสลายได้จากการทานพืชเข้าไปโดยตรงหรือผ่านการทานนกกระทาที่เลี้ยงด้วยเฮ็มล็อก[4][12] ฟังไจ เช่น Russula subnigricans และ Tricholoma equestre เป็นที่ทราบว่าทำให้เกิดกล้ามเนื้อลายสลาย[15] โรคฮัฟฟ์จะเกิดกล้ามเนื้อลายสลายหลังทานเนื้อปลา มีการตั้งข้อสงสัยถึงสารพิษดังกล่าวแต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน[16]

ยาเพื่อการนันทนาการ เช่น: แอลกอฮอล์, แอมเฟตามีน, โคเคน, เฮโรอีน, เคตามีน และ ยาอี[4][12]

การติดเชื้อไวรัสค็อกซักกี, ไวรัสไข้หวัดใหญ่เอ และ ไวรัสไข้หวัดใหญ่บี, ไวรัสเอปสไตน์-บาร์, การติดเชื้อเอชไอวีแบบปฐมภูมิ, Plasmodium falciparum (มาลาเรีย), ไวรัสโรคเริม, Legionella pneumophila และ ซาลมอนเนลลา[4][10][12]
การอักเสบการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากภาวะภูมิคุ้มกันตนเอง: กล้ามเนื้ออักเสบโปลิโอ, เดอร์มาโตมัยโอซิไตติส[4][12]

ความโน้มเอียงรับโรคเนื่องจากพันธุกรรม

กล้ามเนื้อลายสลายซ้ำอาจเป็นผลมาจากภาวะพร่องเอนไซม์ภายในกล้ามเนื้อ (intrinsic muscle enzyme deficiencies) ซึ่งมักจะถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมักจะเริ่มปรากฏในวัยเด็ก[10][13] โรคกล้ามเนื้อโครงร่างจำนวนมากมีระยะของกล้ามเนื้อลายสลายที่ถูกกระตุ้นได้โดยการออกกำลังกาย, การใช้ยาสลบ หรือจากสาเหตุใด ๆ ดังที่ระบุไว้ข้างต้น[10] โรคกล้ามเนื้อที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์และการติดเชื้อร่วมกันเป็นสาเหตุหลักของกล้ามเนื้อลายสลายในเด็ก[13]

โรคผิดปกติที่พลังงานของกล้ามเนื้อที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ดังต่อไปนี้อาจก่อให้เกิดกล้ามเนื้อลายสลายที่เป็นซ้ำและมักจะเกิดจากการใช้งานหนักของกล้ามเนื้อ:[10][13][17]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อลายสลายตัว https://www.merriam-webster.com/dictionary/Rhabdom... http://www.dictionary.com/browse/Rhabdomyolysis https://icd.who.int/browse10/2019/en#/M62.8 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.5 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.6 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=728.... https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11472.htm https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://emedicine.medscape.com/emerg/508-overview