ความผิดปกติที่มีอยู่เดิม ของ กล้ามเนื้อลายสลายตัว

เส้นใยรุ่งริ่งสีแดง (ragged red fibers) จากเนื้อเยื่อที่ย้อมสามสีเกอเมอรี ดังที่พบในกลุ่มอาการ MERRF ตัวอย่างโรคกลุ่มไมโทคอนเดรีย

หากสงสัยโรคกล้ามเนื้อที่มีอยู่เดิม เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยชัดแจ้ง หรือเกิดกล้ามเนื้อลายสลายหลายครั้ง อาจจำเป็นต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติม[13] ในระหว่างกล้ามเนื้อลายสลาย ระดับของคาร์นิทีนในเลือดที่ต่ำ กับระดับของอาคิลคาร์ทีนิน (acylcarnitine) ในเลือดที่สูง อาจบ่งบอกถึงภาวะบกพร่องในเมแทบอลิซึมของลิพิด กระนั้น ความผิดปกติเหล่านี้จะกลับสู่ค่าปกติในระยะปลอดโรค (convalescence) อาจต้องใช้การส่งตรวจอื่น ๆ ที่อาจใช้ในระยะนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติที่มีอยู่เดิม[12] โรคความผิดปกติในการสลายกลูโคสสามารถตรวจจับได้หลายวิธี เช่น การตรวจจับระดับของแลคเตตหลังออกกำลังกาย หากไม่พบการเพิ่มสูงของระดับแลคเตตหลังออกกำลังกาย อาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติในกระบวนการสลายกลูโคส[12] ในขณะที่การตอบสนองมากเกินจริงนั้นเป็นปกติของโรคไมโทคอนเดรีย[17] อีเล็กโทรไมโยกราฟี (EMG) อาจแสดงให้เห็นแบบแผนเฉพาะในโรคกล้ามเนื้อบางกลุ่มเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น โรคแม็กอาร์เดิล กับ ภาวะพร้องฟอสโฟฟรัคโทคิเนสจะแสดงปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การหดตัวประดุจปวดบิด (cramp-like contracture)[18] มีการตรวจทางพันธุกรรมที่สามารถใช้สำหรับโรคกล้ามเนื้อที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ที่เร่งให้เกิดไมโยโกลบินในปัสสาวะและกล้ามเนื้อลายสลาย[12][13]

ตัวอย่างชิ้นเนื้อกล้ามเนื้อจะมีประโยชน์เมื่อการเกิดกล้ามเนื้อลายสลายในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นผลมาจากโรคกล้ามเนื้อที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ได้จากขณะกล้ามเนื้อลายสลายนั้นมักจะไม่ให้ข้อมูลใด ๆ เนื่องจากการตรวจจะพบแต่หลักฐานที่บ่งถึงการตายของเซลล์หรืออาจปรากฏในลักษณะปกติ การเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อจึงจะทำหลังผ่านการสลายของกล้ามเนื้อลายไปแล้วหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน[10] ลักษณะปรากฏทางฮิสโตพาธอลอจีจากตัวอย่างชิ้นเนื้อบ่งบอกถึงธรรมชาติของโรคที่มีอยู่เดิม เช่น โรคกลุ่มไมโทคอนเดรียมีลักษณะเฉพาะคือมี เส้นใยรุ่งริ่งสีแดง (ragged red fibers)[12] จุดที่จะเก็ยตัวอย่างชิ้นเนื้อสามารถระบุได้โดยใช้การถ่ายภาพทางการแพทย์ เช่น เอ็มอาร์ไอ เนื่องจากกล้ามเนื้อทั่วร่างอาจไม่ได้ถูกผลกระทบทั่วเท่ากันหมด[17]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อลายสลายตัว https://www.merriam-webster.com/dictionary/Rhabdom... http://www.dictionary.com/browse/Rhabdomyolysis https://icd.who.int/browse10/2019/en#/M62.8 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.5 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.6 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=728.... https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11472.htm https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://emedicine.medscape.com/emerg/508-overview