การรักษา ของ กล้ามเนื้อลายสลายตัว

เป้าหมายหลักในการรักษาคือเพื่อรักษาภาวะช็อกและรักษาการทำงานของไต ในระยะแรกสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวผ่านการให้สารน้ำทาวหลอดเลือดดำเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปใช้น้ำเกลือไอโซโทนิก (สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.9% มวลต่อปริมาตร) ในผู้ป่วยที่มาจากกลุ่มอาการถูกบดอัด แนะนำให้ให้สารนำ้ทางหลอดเลือดดำก่อนที่จะนำตัวออกมาจากโครงสร้างที่ทับอยู่[11][25] การทำเช่นนี้จะช่วยยืนยันว่ามีปริมาตรการไหลเวียนเพียงพอที่จะตอบสนองต่อการบวมของเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเริ่มเกิดเมื่อเลือดกลับไปเลี้ยงได้ และเพื่อป้องกันการก่อตัวของไมโยโกลบินในไต[11] ปริมาณสารน้ำที่ 6 ถึง 12 ลิตร ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เป็นอัตราที่แนะนำ[11][26] อัตราการให้สารน้ำอาจปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้ปริมาณปัสสาวะออกที่สูง (200–300 mL/h ในผู้ใหญ่)[12][26] ยกเว้นแต่ว่ามีเหตุผลอื่นที่การให้สารน้ำเพิ่มจะนำไปสู่อาการแทรกซ้อน เช่นในรายที่มีประวัติโรคหัวใจ[26]

แม้แหล่งข้อมูลจำนวนมากจะเสนอให้มีการเติมสารเข้าไปในทางหลอดเลือดดำเพื่อลดการบาดเจ็บของไต กระนั้นหลักฐานส่วนใหญ่ที่สนับสนุนการทำเช่นนี้มาจากการศึกษาในสัตว์ และยังไม่สอดคล้องกัน รวมถึงขัดแย้งกันเอง[13] มานนิทอลทำงานผ่านการออสโมซิสเพื่อเพิ่มการผลิตปัสสาวะ และเชื่อว่าจำช่วยป้องกันการก่อตัวของไมโยโกลบินในไต กระนั้น ความได้ผลของวิธีการนี้ยังไม่ปรากฏในการค้นคว้าวิจัยมากมาย และยังมีความเสี่ยงต่อการทำให้การทำวานของไตแย่ลง[10] การเติมไบคาร์บอเนตในสารน้ำที่จะให้ทางหลอดเลือดดำอาจช่วยบรรเทาภาวะเลือดเป็นกรด และทำให้ปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการก่อตัวของคาสต์ในไต[10][12] กระนั้น หลักฐานสนับสนุนประโยชน์ของไบคาร์บอเนตมีอยู่อย่างจำกัด และพบว่าอาจทำให้ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเป็นแย่ลงผ่านการเพิ่มการก่อตัวของแคลเซียมและฟอสเฟตในเนื้อเยื่อต่าง ๆ[4][11][13] หากใช้การทำปัสสาวะให้เป็นด่างขึ้น ค่า pH ของปัสสาวะจะพยายามให้อยู่ที่ 6.5 หรือมากกว่า[26] ฟูโรซาไมด์ ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะชนิดลูป มักนำมาใช้เพื่อยืนยันว่ามีการผลิตปัสสาวะมากเพียงพอ[4][11] แต่หลักฐานว่าการใช้ยานี้จะช่วยป้องกันไตวายนั้นมีอยู่อย่างจำกัด[27]

อีเล็กโทรไลต์

ในระยะแรก ๆ ระดับของอิเล็กโทรไลต์มักจะไม่ปกติและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข ระดับโพแทสเซียมที่สูงสามารถเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ และตอบสนองต่อการเพิ่มการผลิตปัสสาวะและการรักษาทดแทนการทำงานของไต (ดูเพิ่มด้านล่าง)[12] วิธีการแก้ไขชั่วคราว รวมถึงการให้แคลเซียมเพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนของหัวใจ, การให้อินสุลิน หรือ ซัลบูทามอล เพื่อให้เกิดการกระจายของโพแทสเซียมเข้าเซลล์ใหม่ และการให้สารละลายไบคาร์บอเนต[21]

ระดับแคลเซียมในระยะแรกมักจะต่ำ แต่เมื่ออาการฟื้นฟูขึ้น แคลเซียมจะถูกปล่อยออกมาจากจุดที่จับเป็นตะกอนกับฟอสเฟตอยู่ และกระบวนการผลิตวิตามินดีจะกลับคืนมา ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โดย "การสูงขึ้นมากเกิน" (overshoot) นี้ เกิดขึ้นใน 20–30% ของผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายไปแล้ว[4][13]

ไตเสื่อม

แขนของผู้ป่วยขณะเข้ารับการฟอกเลือดด้วยอุปกรณ์ ภาพถ่ายจากปี 2012

ภาวะไตเสื่อมมักเกิดขึ้น 1-2 วันนับจากการเสียหายแรกของกล้ามเนื้อ[4] หากการรักษาประคับประครองไม่เพียงพอ การบำบัดทดแทนไต (RRT) อาจจำเป็น[13] RRT จะนำเอาโพแทสเซียม, กรด และฟอสเฟตที่คั่งเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ปกติ ออกจากร่างกาย จำเป็นต้องใช้การรักษานี้ไปจนกว่าการทำงานของไตจะฟื้นคืน[4]

รูปแบบสามวิธีหลักของ RRT ได้แก่: การฟอกเลือด, การกรองเลือดโดยต่อเนื่อง และ การล้างไตทางหน้าท้อง สองวิธีแรกจำเป็นต้องเปิดเข้าทางกระแสเลือด (ผ่านทางสายสวนฟอกเลือด) ส่วนการล้างไตทางหน้าท้องใช้การค่อย ๆ ซึมของเหลวเข้าไปในช่องท้องก่อนที่จะระบายออก การฟอกเลือดซึ่งมักจะต้องทำหลายครั้งต่อสัปดาห์สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มักจะต้องทำทุกวันในผู้ป่วยกล้ามเนื้อลายสลาย ข้อได้เปรียบเหนือการฟอกเลือดโดยต่อเนื่องคือเครื่องฟอกเลือดสามารถใช้งานหลายครั้งต่อวันได้ และไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านลิ่มเลือดอย่างต่อเนื่อง[11][25] การกรองเลือดมีประสิทธิผลดึกว่าในการนำโมเลกุลขาดใหญ่ออกจากกระแสเลือด เช่น ไมโยโกลบิน[13] กระนั้น ไม่ได้แปลว่าวิธีไม่ได้มีประโยชน์โดดเด่นใดเป็นพิเศษ[4][11] การล้างไตทางหน้าท้องอาจทำได้ยากในรายที่มีการบาดเจ็บที่หน้าท้องอย่างรุนแรง[11] และอาจมีประสิทธิผลที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น ๆ[4]

อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ

กลุ่มอาการคอมพาร์ตเมนต์รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อคลายความดันพายในคอมพาร์ตเมนต์กล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงการบีบรัดหลอดเลือดกับเส้นประสาทในบริเวณนั้น การตัดเยื่อฟาสเชีย เป็นการทำรอยตัดเข้าในคอมพาร์ตเมนต์ที่ได้รับผลกระทบ บ่อยครั้ง การทำรอยตัดนี้จะเปิดทิ้งไว้กระทั่งการบวมลดลงจึงเย็บปิดรอยตัดนั้น มักต้องทำการตัดเนื้อตายออก และการฟต์ผิวหนัง ไปพร้อมมกัน[23] ความจำเป็นสำหรับการตัดเยื่อฟาสเชียอาจลดลงหากมีการให้มานนิทอลซึ่งบรรเทาการบวมของกล้ามเนื้อได้โดยตรง[25][26]

ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบกระจายมักจะหายไปเองเมื่อเหตุที่อมยู่เดิมได้รับการรักษาแกระนั้น การรักษาประคับประครองก็ยังจำเป็นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เกล็ดเลือดลดต่ำอย่ามีนัยสำคัญ และมีเลือดไหลเป็นผลตามมา อาจมีการถ่ายเกล็ดเลือดให้ผู้ป่วย[28]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อลายสลายตัว https://www.merriam-webster.com/dictionary/Rhabdom... http://www.dictionary.com/browse/Rhabdomyolysis https://icd.who.int/browse10/2019/en#/M62.8 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.5 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.6 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=728.... https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11472.htm https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://emedicine.medscape.com/emerg/508-overview