การวินิจฉัย ของ กล้ามเนื้อลายสลายตัว

ภาพแสดงหน่วยย่อยเอ็มของครีเอทีนินคิเนส ในกล้ามเนื้อลาย ครีเอทีนินคิเนสมีอยู่หลัก ๆ ในรูปไดเมอร์ (dimer) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยเอ็มสองหน่วย หรือที่เรียกว่า "CK-MM"

การวินิจฉัยกล้ามเนื้อลายสลายตัวอาจสงสัยในผู้ป่วยรายใดก็ตามที่มีการบาดเจ็บ, บาดเจ็บจากการถูกบดอัด หรือไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ก็สามารถระบุได้ในระยะหลัง ๆ เนื่องมาจากการเสื่อมถอยของการทำงานของไต (ผ่านระดับของครีเอทีนิน และ ยูเรีย ที่สูงขึ้น หรือจากการขับปัสสาวะลดลง) หรือจากปัสสาวะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง-น้ำตาล[4][11]

การส่งตรวจโดยทั่วไป

การส่งตรวจที่น่าเชื่อถือที่สุดในการวินิจฉัยคือระดับของครีเอทีนคิเนส (CK) ในเลือด[5] เอนไซม์นี้จะถูกปล่อยออกมาจากเซลล์กล้ามเนื้อที่เสียหาย และระดับที่สูงเกิน 1000 U/L (5 เท่าของระดับสูงสุดของค่าปกติ; the upper limit of normal (ULN)) ระบุว่ามีกล้ามเนื้อลายสลายตัว[5] ระดับที่มากกว่า 5,000 U/L ระบุว่ามีโรคในระดับร้ายแรง กระนั้นก็ขึ้นกับความหนักของการสลายตัวของกล้ามเนื้อลาย ความเข้มข้นอาจสูงขึ้นได้ถึง 100,000 U/l โดยไม่ได้ผิดปกติ[5][11] ความเข้มข้นของ CK จะเพิ่มสูงขึ้นโดยคงที่เป็นเวลา 12 ชั่วโมงนับตั้งแต่กล้ามเนื้อเกิดการเสียหายในตอนแรก และจะยังคงสูงเช่นนี้ต่อไปอีก 1–3 วัน จากนั้นจะลดระดับลง[4] ระดับ CK ตอนแรกและตอนที่สูงสุดมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความเสี่ยงเกิดไตวายฉับพลัน กล่าวคือ ยิ่ง CK สูง ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ที่ไตจะบาดเจ็บ[19] ไม่มีค่าความเข้มข้นสูงสุดเป็นเฉพาะของ CK ที่จะบ่งถึงการเสียความสามารถในการทำงานของไตอย่างแน่นอน กระนั้น ความเข้มข้นที่ต่ำกว่า 20,000 U/L มีแนวโน้มต้ำที่จะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงการทำงานของไตลดลง ยกเว้นแต่ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย ระดับที่สูงขึ้นเล็กน้อยโดยไม่มีการเสื่อมของไต อาจเรียกว่า "ภาวะ CK ในเลือดสูง" ("hyperCKemia")[10][18] ไมโยโกลบินมีครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นมีประโยชน์น้อยกว่าในการตรวจวินิจฉัยโรคในระยะหลัง ๆ[4] การพบไมโยโกลบินในเลือดหรือปัสสาวะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ไตจะทำงานผิดปกติ[19] อย่างไรก็ตาม การใช้ค่าระดับไมโยโกลิบนในปัสสาวะนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานเนื่องจากมันไม่มีความจำเพาะ และการค้นคว้าการนำค่านี้มาใช้เพื่อการวินิจฉัยนั้นมีคุณภาพต่ำ[20]

ค่าความเข้มข้นของเอนไซม์แลคเตตดีฮัยโดรจีเนส (LDH) สามารตรวจพบว่าสูงขึ้นได้[13][19] มาร์กเกอร์อื่น ๆ ของการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เช่น อัลโดเลส, ทรอพโพนิน, คาร์บอนิคอานฮัยเดรส ชนิด 3 และ โปรตีนจับกับกรดไขมัน (FABP) มักใช้เป็นหลักในกรณีโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง[19] กลุ่มเอนไซม์ทรานซามีเนสซึ่งมีมากในทั้งเนื้อเยื่อตับและกล้ามเนื้อ มักพบเพิ่มสูงขึ้น อันสามารถนำไปสู่การสับสนกับการบาดเจ็บเฉียบพลันของตับ อย่างน้อยในระยะแรก ๆ ของโรค การเกิดตับบาดเจ็บเฉียบพลันสามารถพบได้ 25% ในผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อลายสลายชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากภายนอก กระนั้น กลไกของกรณีเช่นนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[4]

ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมีแนวโน้มว่าจะเป็นลักษณะหนึ่งของกล้ามเนื้อลายสลายชนิดรุนแรง[4] การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) อาจแสดงให้เห็นว่าระดับของโพแทสเซียมที่สูงนั้นกระทบต่อระบบการเหนี่ยวนำในหัวใจหรือไม่ ดังเช่น การเปลี่ยนแปลงของคลื่นที หรือการกว้างขึ้นของกลุ่มคิวอาร์เอส อาจเสนอว่าเกิดผลกระทบจากโพแทสเซียมสูงต่อการเหนี่ยวนำในหัวใจแล้ว[21] ระดับแคลเซียมที่ต่ำ อาจปรากฏในระยะแรกสุดของโรคอันเนื่องมาจากการจับตัวกับแคลเซียมอิสระกับเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ[4]

เมื่อระดับของไมโยโกลบินในเลือด และ ไมโยโกลบินในปัสสาวะ มากพอที่จะตรวจจับได้ ผลตรวจปัสสาวะอาจแสดงให้เห็นถึงระดับไมโยโกลบินที่สูง may เช่น ผลตรวจสตริปของปัสสาวะอาจให้ผลบวกสำหรับ "เลือด" แม้ว่าจะไม่สามารถระบุเม็ดเลือดแดงได้ในการส่องดูปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทั้งนี้เป็นผลมาขาดรีเอเจนต์บนสตริปตรวจปัสสาวะออกฤทธิ์ต่อไมโยโกลบิน[11] ปรากฏการณ์เดียวกันนี้อาจเกิดในภาวะที่นำไปสู่เม็ดเลือดแดงแตก ที่ซึ่งซีรัมเลือดมีสีเปลี่ยนไปโดยสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่กรณีของกล้ามเนื้อลายสลายจะปกติ[13][18] หากเกิดการบาดเจ็บของไตแล้ว ผลการส่องปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์จะแสดงให้เห็นคาสต์ในปัสสาวะที่มีเม็ดสี (pigmented) และมีลักษณะกรานูลาร์ (granular) ด้วย[10]

ภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มอาการคอมพาร์ตเมนต์เป็นการวินิจฮัยจากอาการแสดงทางคลินิก หรือกล่าวคือไม่มีการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยที่จะยืนยันว่ามีภาวะนี้อยู่หรือไม่ แต่การวินิจฉัยภาวะนี้จะใช้การตรวจแรงดันในฟาสเชียลคอมพาร์ตเมนต์นั้น ๆ[11] และดูความต่างระหว่างความดันนี้กับความดันเลือด[22] การดูความดันวิธีนี้สามารถใช้เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะนี้ได้ ความดันสูงในคอมพาร์ตเมนต์กับความต่างระหว่างความดันในคอมพาร์ตเมนต์กับความดันเลือดที่ไม่มากบ่งบอกว่ามีแนวโน้มที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอ และอาจจะต้องมีการแก้ไขทางศัลยกรรม[22][23]

ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย ซึ่งเป็นอีกภาวะแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อลายสลายและรูปอื่น ๆ ของความเจ็บป่วยเรื้อรัง อาจจะต้องสงสัยบนพื้นฐานของการมีเลือดไหลโดยไม่ได้คาดคิดหรือผลตรวจเลือดที่ผิดปกติ เช่น จำนวนเกล็ดเลือดลดต่ำ หรือ เวลาโปรธรอมบินที่ยาวนานขึ้น การวินิจฉัยยืนยีนจะใช้การตรวจเลือดมาตรฐานสำหรับภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย เช่น ค่าดี-ไดเมอร์[24]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อลายสลายตัว https://www.merriam-webster.com/dictionary/Rhabdom... http://www.dictionary.com/browse/Rhabdomyolysis https://icd.who.int/browse10/2019/en#/M62.8 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.5 https://icd.who.int/browse10/2019/en#/T79.6 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=728.... https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11472.htm https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://emedicine.medscape.com/emerg/508-overview