กสิณไฟ
กสิณไฟ

กสิณไฟ

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

สถานีวิกิย่อย
ประวัติศาสนาพุทธพระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์“กสิณไฟ” เป็นกรรมฐานกองที่มีพลังมากที่สุดในการปฏิบัติสมาธิภาวนา การเพ่งกสิณไฟสามารถช่วยประคองจิตของผู้ปฏิบัติให้เกิดสมาธิจนเข้าสู่รูปฌานและอรูปฌานได้พลังแห่งกสิณไฟนอกจากจะมีอำนาจอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและกฎบัญญัติบนโลกแล้ว พลังแห่งกสิณไฟยังนำมาซึ่งพลังจิตที่สามารถแทรกแซงเข้าไปในวิถีชีวิตของเราได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการบังคับธาตุทั้งสี่ (ดินน้ำ ลม ไฟ) เช่น ทำให้เกิดฝนตก ฟ้าร้อง มีลมพายุ หรือแม้กระทั่งสามารถนำไปใช้ควบคุมความคิดและจิตใจของคนเราได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พลังอำนาจของกสิณไฟจึงสมควรนำไปใช้อย่างถูกวิธี อย่างมีความเข้าใจ เพราะหากเราไม่มีความเข้าใจในอำนาจแห่งพลังกสิณไฟแล้ว ผู้ปฏิบัติที่สำเร็จกสิณไฟอาจไม่สามารถควบคุมพลังอำนาจพิเศษจากกสิณไฟได้ และอาจนำพลังอำนาจจากกสิณไฟนั้นไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟบังคับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟครอบงำความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งผลที่เกิดจากการใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟได้ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความวุ่นวายต่อเพื่อนมนุษย์บนโลกเป็นอย่างมาก อันเป็นการสร้างบาปกรรมให้เกิดขึ้นจากการใช้พลังอำนาจจิตจากกสิณไฟโดยที่ผู้ฝึกกสิณไฟไม่ได้ตั้งใจ ผู้ที่ฝึกกสิณไฟจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีการควบคุมพลังอำนาจแห่งกสิณไฟผู้ที่ฝึกกสิณไฟจึงจำเป็นต้องให้สัจจะวาจารับศีลและปฏิญาณตนรับข้อห้ามต่างๆ กับครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ฝึกกสิณไฟในชั้นสูงนำเอาพลังอำนาจพิเศษจากกสิณไฟไปใช้เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยขอบเขตของศีลห้าจะเป็นเครื่องเตือนใจของผู้ที่ฝึกกสิณไฟให้มีสติเท่าทันกิเลสทั้งปวง[1]กล่าวกันว่าบรรดาผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการเพ่งกสิณและสำเร็จกสิณ (ไฟ) ยามเมื่อตายลง ร่างกายสังขารของผู้ที่สำเร็จกสิณไฟจะสามารถลุกไหม้เผาทำลายตัวเองได้ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็สืบเนื่องมาจากพลังอำนาจของกสิณไฟที่พวกเขาได้เฝ้าฝึกปรือเอาไว้จนชำนิชำนาญ แม้เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาได้ตายจากโลกนี้ พลังกสิณไฟที่อยู่ภายในจิตของผู้สำเร็จกสิณไฟจะทำหน้าที่ของตนด้วยการลุกไหม้เผาร่างกายสังขารอันเป็นก้อนธาตุทั้งสี่นี้ให้สูญสิ้นไป