กองทัพโซเวียต
กองทัพโซเวียต

กองทัพโซเวียต

กองทัพโซเวียต หรือ กองทัพสหภาพโซเวียต มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กองทัพแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Вооружённые Силы Союза Советских Социалистических Республик, Вооружённые Силы Советского Союза) หมายถึง กองกำลังทหารของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (1917–1922) และสหภาพโซเวียต (1922–1991) นับแต่การเริ่มต้นหลังสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดกระทั่งล่มสลายในเดือนธันวาคม 1991ตามกฎหมายราชการทหารทั่วสหภาพ เดือนกันยายน 1925 กองทัพโซเวียตประกอบด้วยห้าเหล่า ได้แก่ กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ หน่วยอำนวยการการเมืองรัฐ (OGPU) และ กองกำลังภายใน (convoy guards)[5] ภายหลัง OGPU แยกเป็นอิสระและรวมเข้ากับ NKVD ในปี 1934 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเพิ่มหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (1960) กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ (1948) และกำลังประชาชนแห่งชาติทั่วสหภาพ (1970) ซึ่งจัดเป็นอันดับที่หนึ่ง สามและหกในการนับความสำคัญเปรียบเทียบอย่างเป็นทางการของโซเวียต (โดยกำลังภาคพื้นดินมีความสำคัญเป็นอันดับสอง กองทัพอากาศเป็นอันดับสี่ และกองทัพเรือเป็นอันดับห้า) อำนาจทางทหารของโซเวียตในขณะนั้นใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจที่สุดของโลก

กองทัพโซเวียต

ยอดกำลังประจำการ 4,230,920 (1991)
การเกณฑ์ 18
ยศ ยศทหารสหภาพโซเวียต
รูปแบบปัจจุบัน 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946
อายุเริ่มบรรจุ 18–27
ประชากรในวัยบรรจุ ชาย 92,345,764 (1991), อายุ 18–27
งบประมาณ 124–128 พันล้านดอลลาร์ (ค.ศ. 1989)[1][2][lower-alpha 1]
ผู้บัญชาการสูงสุด โจเซฟ สตาลิน (1941–1953)
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (1990–1991)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โจเซฟ สตาลิน (1946–1947)
เยฟเกนี ชาโพสนิคอฟ (1991)
ประธานคณะเสนาธิการทหาร อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี (1946–1948)
วลาดีมีร์ โลบอฟ (1991)
เหล่า กองทัพบกโซเวียต
กองทัพอากาศโซเวียต
กองทัพเรือโซเวียต
กองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต
กองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์
ยุบเลิก 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
ที่ตั้ง บก. มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย
ก่อตั้ง 15 มกราคม ค.ศ. 1918
ประวัติ ประวัติศาสตร์ทางทหารของสหภาพโซเวียต
ร้อยละต่อจีดีพี 8.4% (1989)[2]