ประวัติ ของ กัมปุงเกอลัม

ชื่อของ กัมปุงเกอลัม สันนิษฐานว่ามาจากต้น เสม็ดขาวใบยาว เรียกว่า "เกอลัม" ใน ภาษามลายู [1] หรือ กือแล ในภาษามลายูปัตตานี ส่วน "กัมปง" อาจสะกด กำปง มีความหมายว่า หมู่บ้าน ในการสะกดด้วยอักษรโรมันแบบใหม่ Kampong และในแบบเดิมคือ Kampung

ก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2362 บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของชนชั้นสูงชาวมลายูในสิงคโปร์ เริ่มเป็นที่รู้จักและมีประชากรเพิ่มขึ้นมากภายหลังการลงนามใน สนธิสัญญา ระหว่าง บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ, สุลต่านฮุสเซนชาห์ แห่ง ยะโฮร์ และ เตอเมิงกงอับดุลเราะห์มาน ในปี พ.ศ. 2362 ภายใต้สนธิสัญญานี้บริษัทได้รับสิทธิ์ในการตั้ง สถานีการค้า ในสิงคโปร์

ในช่วงยุคแรกของอาณานิคม ภายใต้แผนราฟเฟิล ปี 1822 การตั้งถิ่นฐานจัดแบ่งชุมชนตาม กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งรวมถึง ชุมชนชาวยุโรป ย่านชาวจีน ชุมชนชาวอินเดีย (หรือเรียกในสมัยนั้นว่า ชูเลีย - Chulia) ชุมชนชาวอาหรับ และชุมชนชาวบูกิส (ชาวอินโดนีเซียจากเกาะสุลาเวสี) กัมปุงเกอลัม ยังถูกกำหนดให้เป็นที่พำนักของสุลต่านและครัวเรือน รวมถึงชุมชน มลายู และ อาหรับ ซึ่งหลายคนเป็นพ่อค้า กัมปุงเกอลัมตั้งอยู่ทางตะวันออกของชุมชนชาวยุโรปในตอนนั้น ขณะเดียวกันที่ เตอเมิงกง อับดุลเราะห์มาน และผู้ติดตาม ตั้งรกรากอยู่ที่ Telok Blangah

สุลต่านฮุสเซน ครอบครัว และผู้ติดตาม ตั้งรกรากอยู่ที่กัมปุงเกอลัม ภายใต้สนธิสัญญาสุลต่านฮุสเซนยังได้รับมอบที่ดินขนาดใหญ่สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยภายในกัมปุงเกอลัม ซึ่งถูกจัดสรรให้กับชาวมลายูต่าง ๆ และชาวมุสลิมที่อพยพมายังสิงคโปร์ ได้แก่ ชาวมลายูจาก มะละกา หมู่เกาะรีเยา และ เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังรวมถึง ชาว Baweanese, Banjarese, จีน และอินเดีย

ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการเติบโตของชุมชนผู้อพยพอย่างรวดเร็วในกัมปุงเกอลัม โดยเริ่มแรกอพยพมาจากสุมาตราและต่อมาจากส่วนอื่น ๆ ของอินโดนีเซียและ คาบสมุทรมลายู ส่งผลให้มีการตั้งกำปงที่แตกต่างกัน เช่น กำปงมะละกา กำปงชวา และกำปงบูกิส นอกจากนี้ยังมีชุมชน พ่อค้าชาวอาหรับเล็ก ๆ แต่ประสบความสำเร็จในการตั้งรกรากในพื้นที่

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 กิจกรรมเชิงพาณิชย์ในกัมปุงเกอลัมขยายตัว มีการสร้าง ร้านห้องแถว และอาคารที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ มากขึ้น ในไม่ช้าชุมชนแบบหลากเชื้อชาติได้พัฒนาขึ้น ไม่เพียงแต่ประกอบด้วยชาวมลายูและอาหรับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวจีนและชาวอินเดียด้วย

ต่อมาเนื่องจากการขยายตัวของกิจกรรมทางการค้าและการเพิ่มขึ้นของผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกัมปุงเกอลัม ชาวอาหรับจึงย้ายไปยังพื้นที่อื่น ๆ เช่น Joo Chiat, Tanglin และ Bukit Tunggal (ที่ถนน Dunearn ที่ ทอดยาวใกล้ ทางแยก ของ Balmoral Road และ Chancery Lane ใกล้ Anglo - โรงเรียนจีน (ถนนบาร์เกอร์) ปัจจุบันเรียกว่าถนนทังกัล)

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1920 ชาวมลายูจำนวนมากย้ายออกจากพื้นที่ไปตั้งถิ่นฐานที่กำหนดใน เกลังเซไร และ กำปงออยนอส