กัสซีนี–เฮยเคินส์
กัสซีนี–เฮยเคินส์

กัสซีนี–เฮยเคินส์

ภารกิจ กัสซีนี–เฮยเคินส์ หรือ คัสซีนี–ฮอยเกนส์ (Cassini–Huygens) เป็นความร่วมมือระหว่างนาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อส่งยานไปศึกษาดาวเสาร์และระบบดาวเสาร์ อันรวมถึงวงแหวนดาวเสาร์และดาวบริวาร ยานอวกาศหุ่นยนต์ไร้คนบังคับชั้นแฟลกชิปประกอบด้วยยานกัสซีนีของนาซา และส่วนลงจอดเฮยเคินส์ของ ESA ซึ่งจะลงจอดบนไททัน ดาวบริวารใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ กัสซีนีเป็นยานอวกาศลำที่สี่ที่เยือนดาวเสาร์และเป็นลำแรกที่เข้าสู่วงโคจร ยานนี้ตั้งชื่อตามโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และคริสตียาน เฮยเคินส์ นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ยานโดยสารไปกับไททัน 4บี/เซ็นทอร์เมื่อวันี่ 15 ตุลาคม 2540 ปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลากว่า 19 ปี โดยใช้เวลา 13 ปีโคจรรอบดาวเสาร์ แล้วศึกษาดาวเคราะห์และระบบดาวหลังเข้าสู่โคจรเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 การเดินทางสู่ดาวเสาร์มีการบินผ่านดาวศุกร์ (เมษายน 2541 ถึงกรกฎาคม 2542) โลก (สิงหาคม 2542) ดาวเคราะห์น้อย 2685 มาเซอร์สกี และดาวพฤหัสบดี (ธันวาคม 2543) ภารกิจสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2560 เมื่อกัสซีนีได้รับคำสั่งให้บินเข้าชั้นบรรยากาศบนของดาวเสาร์และถูกเผาไหม้เพื่อป้องกันความเสี่ยงการทำให้ดาวบริวารของดาวเสาร์ปนเปื้อนจุลชีพจากโลกที่ติดไปกับยาน ทั้งนี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์บางดวงมีสิ่งแวดล้อมที่อาจมีสิ่งมีชีวิตได้ ภารกิจดังกล่าวเป็นที่รู้กันแพร่หลายว่าประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมาย ผู้อำนวยการกองวิทยาดาวเคราะห์ของนาซาเรียก กัสซีนี–เฮยเคินส์ ว่าเป็น "ภารกิจแห่งครั้งแรก" ซึ่งปฏิบัติความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับระบบดาวเสาร์ ซึ่งรวมทั้งดาวบริวารและวงแหวน และความเข้าใจว่าอาจพบสิ่งมีชีวิตได้ในระบบสุริยะภารกิจดั้งเดิมของกัสซีนีวางแผนไว้กินเวลาสี่ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ถึงพฤษภาคม 2551 ต่อมาภารกิจถูกขยายเวลาไปสองปีถึงเดือนกันยายน 2553 เรียก ภารกิจวิษุวัตกัสซีนี (Cassini Equinox Mission)[7] และขยายเวลาครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายด้วย ภารกิจอายันกัสซีนี (Cassini Solstice Mission) ที่กินเวลาต่อมาอีกเจ็ดปีถึงวันที่ 15 กันยายน 2560 16 ประเทศในทวีปยุโรปพร้อมทั้งสหรัฐจัดตั้งทีมซึ่งรับผิดชอบต่อการออกแบบ การก่อสร้าง การบิน และการเก็บข้อมูลจากส่วนโคจรกัสซีนีและยานสำรวจเฮยเคินส์ ภารกิจดังกล่าวบริหารจัดการโดยห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซาในสหรัฐ ที่ซึ่งส่วนบนรนโคจรถูกออกแบบและประกอบ การพัฒนายานสำรวจไททันเฮยเคินส์บริหารจัดการโดยศูนย์วิจัยอวกาศและเทคโนโลยียุโรป อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับยานสำรวจดังกล่าวได้รับการจัดหาจากหลายประเทศ องค์การอวกาศอิตาลี (ASI) จัดหาเสาวิทยุกำลังขยายสูงของยานสำรวจกัสซีนี และเรดาร์น้ำหนักเบาและกะทัดรัด ซึ่งทำหน้าที่อเนกประสงค์ทั้งเป็นการถ่ายภาพจากเรดาร์ (synthetic aperture radar) มาตรความสูงเรดาร์และมาตรรังสีกัสซีนีได้รับพลังงานโดยพลูโทเนียม-238 หนัก 32.7 กิโลกรัม[8] โดยเป็นความร้อนจากการสลายกัมมันตรังสีของธาตุนั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เฮยเคินส์ได้รับการสนับสนุนโดยกัสซีนีระหว่างการเดินทาง และเมื่อแยกออกมาใช้แบตเตอรีเคมี

กัสซีนี–เฮยเคินส์

วันที่ลงจอด 14 มกราคม พ.ศ.2548
เข้าวงโคจร 1 กรกฎาคม พ.ศ.2547, 02:48 UTC
ผู้ผลิต กัสซีนี: Jet Propulsion Laboratory
เฮยเคินส์: Thales Alenia Space
เว็บไซต์
มวลขณะส่งยาน 5,712 kg (12,593 lb)[1][2]
Spacecraft component เฮยเคินส์
COSPAR ID 1997-061A
ติดต่อครั้งสุดท้าย 15 กันยายน พ.ศ.2560
  • 11:55:39 UTC X-band telemetry
  • 11:55:46 UTC S-band radio science[6]
กำลังไฟฟ้า ~885 วัตต์ (BOL)[1]
~670 วัตต์ (2010)[3]
~663 วัตต์ (EOM/2017)[1]
ประเภทภารกิจ กัสซีนี: โคจรรอบดาวเสาร์
เฮยเคินส์: จอดบนดวงจันทร์ไททัน
มวลแห้ง 2,523 kg (5,562 lb)[1]
SATCAT no. 25008
วันที่ส่งขึ้น 08:43:00, 15 ตุลาคม 2540 (UTC) (1997-10-15T08:43:00Z)
ผู้ดำเนินการ กัสซีนี: NASA / JPL
เฮยเคินส์: ESA / ASI
ระยะห่าง 9,852,924 km (6,122,323 mi)
จรวดนำส่ง Titan IV(401)B B-33
เข้าใกล้สุด 30 ธันวาคม พ.ศ.2543
ระยะภารกิจ
  • ภาพรวม:
    •  19 years, 335 days
    •  13 years, 76 days at Saturn
  • ระยะเวลาเดินทาง:
    •  6 years, 261 days
  • ภารกิจหลัก:
    •  3 years
  • ภารกิจเสริม:
    •  Equinox: 2 years, 62 days
    •  Solstice: 6 years, 205 days
    •  Finale: 4 months, 24 days
การกำจัด บังคับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์[4][5]
ระบบอ้างอิง Kronocentric
ฐานส่ง Cape Canaveral SLC-40

แหล่งที่มา

WikiPedia: กัสซีนี–เฮยเคินส์ http://space.skyrocket.de/doc_sdat/cassini.htm http://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/spacecraftDisplay.d... http://saturn.jpl.nasa.gov/ http://saturn.jpl.nasa.gov/news/cassiniinsider/ins... http://www.nasa.gov/mission_pages/cassini/main/ http://www.esa.int/Our_Activities/Space_Science/Ca... http://www.asi.it/en/activity/solar-system-explora... http://en.rian.ru/analysis/20091111/156797969.html https://www.nytimes.com/2017/09/14/science/cassini... https://saturn.jpl.nasa.gov/