พลูโทเนียม
พลูโทเนียม

พลูโทเนียม

พลูโทเนียม (อังกฤษ: Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (< 7%), เชื้อเพลิง (7–19%) และเกรดเครื่องปฏิกรณ์ (> 19%)ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1940 โดยทีมของ เกลนน์ ที. ซีบอร์ก และ เอดวิน แมกมิลแลน ที่ห้องวิจัยในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์โดยการระดมยิงยูเรเนียม-238 ด้วยดิวเทอรอน แมกมิลแลนตั้งชื่อธาตุนี้ตามดาวพลูโต และซีบอร์กเสนอสัญลักษณ์เป็น Pu ซึ่งเป็นเรื่องตลกเล็ก ๆ ต่อมามีการพบพลูโทเนียมในธรรมชาติ การค้นพบพลูโทเนียมถูกรักษาไว้เป็นความลับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนฮัตตันเพื่อพัฒนาระเบิดปรมาณูในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกคือ "ทรินนิที" (กรกฎาคม ค.ศ. 1945) และระเบิดปรมาณูที่นำไปใช้ทำลายเมืองในครั้งที่สอง (นะงะซะกิ ญี่ปุ่น สิงหาคม ค.ศ. 1945) คือ "แฟตแมน" ระเบิดทั้งสองใช้แกนเป็น Pu-239 นอกจากนี้ยังมีการทดลองผลของพลูโทเนียมต่อมนุษย์โดยไม่มีการแจ้งยินยอม และอุบัติเหตุมวลถึงระดับวิกฤต จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนั้น เกิดขึ้นในระหว่างและหลังสงคราม การจัดการกับกากพลูโทเนียมจากโรงงานพลังงานนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ที่ถูกแยกส่วนทำลายซึ่งสร้างในระหว่างสงครามเย็นเป็นความกังวลหลักในเรื่องการเพิ่มขึ้นของนิวเคลียร์ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม แหล่งที่มาอื่น ๆ ของพลูโทเนียมในธรรมชาติคือฝุ่นรังสีนิวเคลียร์จากการทดลองนิวเคลียร์ทั้งบนดินและใต้ดินและอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์

พลูโทเนียม

การออกเสียง /plˈtniəm/
ploo-toh-nee-əm
หมู่ คาบและบล็อก n/a, 7, f
โครงสร้างผลึก มอโนคลินิก

มวลอะตอมมาตรฐาน (244)
มอดุลัสของยัง 96 GPa
เลขทะเบียน CAS 7440-07-5
สถานะ ของแข็ง
จุดหลอมเหลว 912.5 K, 639.4 °C, 1182.9 °F
รัศมีอะตอม 159 pm
การตั้งชื่อ ตามดาวเคราะห์แคระ พลูโต
อัตราส่วนปัวซอง 0.21
ความเป็นแม่เหล็ก พาราแมกเนติก[1]
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดหลอมเหลว 16.63 g·cm−3
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
238Putrace87.74 ySF204.66[2] —
α5.5234U
239Pu100%2.41 × 104 ySF207.06 —
α5.157235U
240Putrace6.5 × 103 ySF205.66 —
α5.256236U
241Pusyn14 yβ−0.02078241Am
SF210.83 —
242Putrace3.73 × 105 ySF209.47 —
α4.984238U
244Putrace8.08 × 107 yα4.666240U
SF —
พลังงานไอออไนเซชัน  : 584.7 kJ·mol−1
สถานะออกซิเดชัน 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1
(amphoteric oxide)
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 19.816 g·cm−3
ความเร็วเสียง 2260 m·s−1
สภาพนำไฟฟ้า (0 °C) 1.460 µΩ·m
ความร้อนของการหลอมเหลว 2.82 kJ·mol−1
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 333.5 kJ·mol−1
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม พลูโทเนียม, Pu, 94
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 1.28 (Pauling scale)
รัศมีโควาเลนต์ 187±1 pm
การค้นพบ เกลนน์ ที. ซีบอร์ก, อาร์เธอร์ วาห์, โจเซฟ ดับเบิลยู. เคนเนดี้, เอดวิน แม็กมิลเลี่ยน (1940–1)
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Rn] 5f6 7s2
2, 8, 18, 32, 24, 8, 2
ชั้นพลังงานอิเล็กตรอนของพลูโทเนียม (2, 8, 18, 32, 24, 8, 2)
ความจุความร้อนโมลาร์ 35.5 J·mol−1·K−1
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 46.7 µm·m−1·K−1
จุดเดือด 3505 K, 3228 °C, 5842 °F
สภาพนำความร้อน 6.74 W·m−1·K−1
โมดูลัสของแรงเฉือน 43 GPa
อนุกรมเคมี แอกทิไนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พลูโทเนียม http://discovermagazine.com/2005/nov/end-of-pluton... http://fr.jpost.com/servlet/Satellite?cid=12358983... http://www.philosophy.umd.edu/Faculty/LDarden/scii... http://alsos.wlu.edu/qsearch.aspx?browse=science/P... http://georgewbush-whitehouse.archives.gov/news/re... http://www.nndc.bnl.gov/chart/ http://www.nndc.bnl.gov/content/evaluation.html http://www.atsdr.cdc.gov/toxprofiles/tp143.html http://www.cfo.doe.gov/me70/manhattan/publications... http://consolidationeis.doe.gov/PDFs/PlutoniumANLF...