กายอุปกรณ์เทียม ของ กายอุปกรณ์

ในงานกายอุปกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆคือ

  • กายอุปกรณ์สำหรับระยางค์ล่าง หรือเรียกง่ายๆว่า ขาเทียม
  • กายอุปกรณ์เทียมสำหรับระยางค์บน หรือเรียกแบบง่ายว่า แขนเทียม

หมายเหตุ

รยางค์ล่าง (Lower extremity) หมายถึง ขา (ตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อสะโพก) และกระดูกเชิงกราน (ทำหน้าที่เป็นโครงให้ขายึดกับแกนกลางร่างกายที่กระดูกสันหลัง)

รยางค์บน (Upper extremity) หมายถึง แขน (ตั้งแต่ปลายนิ้วมือจนถึงข้อไหล่) กระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก (ทำหน้าที่เป็นโครงให้ขายึดกับแกนกลางร่างกายที่กระดูกซี่โครง)

การเรียกชื่อชนิดต่างๆของแขนเทียมและขาเทียม สามารถทำได้ 2 แบบคือ

  • เรียกตามตำแหน่งที่ระยางค์ล่างโดนตัด แบ่งได้เป็น (จากด้านล่างขึ้นมาด้านบน)
    • สำหรับระยางค์ล่าง แบ่งได้เป็น
      • กายอุปกรณ์เทียมทดแทนนิ้วเท้า (Toe prosthesis)
      • กายอุปกรณ์เทียมทดแทนบางส่วนของเท้า (Partial foot prosthesis)
      • ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเท้า (Ankle disarticulation (AD) prosthesis)
      • ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกหน้าแข้ง (Transtibial (TT) prosthesis)
      • ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเข่า (Knee disarticulation (KD) prosthesis)
      • ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นขา (Transfemoral (TF) prosthesis)
      • ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อสะโพก (Hip disarticulation (HD) prosthesis)
      • ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาและเอากระดูกเชิงกรานออกไปด้วย 1 ข้าง (Hemipelvectomy prosthesis)
    • สำหรับระยางค์บน แบ่งได้เป็น
      • กายอุปกรณ์เทียมทดแทนนิ้วมือ (Finger prosthesis)
      • กายอุปกรณ์เทียมทดแทนบางส่วนของมือ (Partial hand prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านข้อมือ (Wrist disarticulation (WD) prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกปลายแขน (Transradial (TR) prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านข้อศอก (Elbow disarticulation (ED) prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกต้นแขน (Transhumeral (TH) prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกต้นแขนที่คอกระดูกต้นแขน (Humeral-neck amputation prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านข้อไหล่ ("True" shoulder disarticulation prosthesis)
      • แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนร่วมกับเอากระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าออกไปด้วย 1 ข้าง (Forequater amputation prosthesis)
  • เรียกโดยอ้างอิงจากตำแหน่งของข้อต่อ เป็นการแบ่งง่ายๆและเป็นระบบเดิมที่นิยมใช้กันมา ได้แก่
    • ขาเทียม มักใช้ข้อเข่าเป็นจุดอ้างอิง โดย
      • ใช้ ขาเทียมระดับใต้เข่า (Below-knee (BK) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกหน้าแข้ง
      • ใช้ ขาเทียมระดับข้อเข่า (Through-knee (TK) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านข้อเข่า
      • ใช้ ขาเทียมระดับเหนือเข่า (Above-knee (AK) prosthesis) แทน ขาเทียมสำหรับผู้ถูกตัดขาผ่านกระดูกต้นขา
    • แขนเทียม มักใช้ข้อศอกเป็นจุดอ้างอิง โดย
      • ใช้ แขนเทียมระดับใต้ศอก (Below-elbow (BE) prosthesis) แทน แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกปลายแขน
      • ใช้ แขนเทียมระดับข้อศอก (Through-elbow (TE) prosthesis) แทน แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านข้อศอก
      • ใช้ แขนเทียมระดับเหนือศอก (Above-elbow (AE) prosthesis) แทน แขนเทียมสำหรับผู้ถูกตัดแขนผ่านกระดูกต้นแขน
  • นอกจากนี้ สำหรับแขนเทียม ยังสามารถแบ่งตามคุณสมบัติได้แก่
    • ประเภทสวยงาม (Cosmetic type) ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือเทียม/ข้อมือ/ข้อศอก/ข้อไหล่ได้
    • ประเภทใช้งานได้ (Functional type) สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของแขนเทียมได้ตามความต้องการของผู้พิการ โดยยังสามารถแบ่งลงไปได้ตามประเภทของการควบคุมการเคลื่อนไหวเป็น
      • ควบคุมโดยการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body controlled)
      • ควบคุมโดยใช้พลังงานภายนอก (External-power controlled) ซึ่งควบคุมการจ่ายไฟฟ้าด้วยปุ่มสวิตช์กด (Switch controlled) หรือ ตัวรับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Myoelectric)