ขบวนการอิงศาสนาอิสลามโรฮีนจา ของ การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก

ขบวนการทางทหารที่ใช้ความรุนแรง (พ.ศ. 2514–2531)

ระหว่างสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในพ.ศ. 2514 โรฮีนจาที่อยู่ใกล้แนวชายแดนได้สะสมอาวุธจากสงคราม ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 หัวหน้ากลุ่มกบฏมูญาฮิดีนที่เหลืออยู่คือซัฟฟาร์ได้จัดตั้งพรรคปลดปล่อยโรฮีนจา (RLP) โดยซัฟฟาร์เป็นประธานพรรค ศูนย์กลางการต่อสู้อยู่ที่บูตีดอง เมื่อกองทัพพม่าเริ่มปราบปราม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517 ซัฟฟาร์ได้หนีไปบังกลาเทศและบทบาทของเขาได้หายไปหลังจากการล้มเหลวของ RLP มูฮัมหมัด จาฟาร์ ฮาบิบ อดีตเลาธิการของ RLP ได้จัดตั้งแนวร่วมโรฮีนจารักชาติ (RPF) ใน พ.ศ. 2517 ต่อมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 รัฐบาลทหารของเนวินได้จัดยุทธการราชามังกรในยะไข่เพื่อตรวจสอบผู้อพยพที่ผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในพม่า ทำให้มีชาวโรฮีนจาถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังกลาเทศ ทำให้มีการลุกฮือของชาวโรฮีนจาตามแนวชายแดน RPF ใช้โอกาสนี้เข้ามาปลุกระดม [9][10][11] ต่อมาในราว พ.ศ. 2523 กลุ่มหัวรุนแรงได้แยกออกจาก RPF และจัดตั้งองค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา (RSO) นำโดยมูฮัมหมัด ยูนุส ซึ่งเคยเป็นผู้นำของ RPF มาก่อน ต่อมาได้เป็นองค์กรหลักของโรฮีนจาตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ RSO ประกาศตนเป็นองค์กรทางศาสนาจึงได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิมรวมทั้ง JeI ในบังกลาเทศและปากีสถาน ฆุลบุดดิน เฮกมัตยัร ฮิซบ์เออิสลามี (HeI) ในอัฟกานิสถาน ฮิซบ์อุลมูญาฮิดีนในรัฐชัมมูและกัศมีร์ (HM) อังกาตัน เบเลีย อิสลาม ซามาเลเซีย (ABIM) และองค์กรยุวชนอิสลามแห่งมาเลเซีย องค์กรทางด้านศาสนาอีกองค์กรหนึ่งของโรฮีนจาคือแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 โดยนูรุล อิสลาม อดีตรองประธาน RPF

การขยายตัวทางการทหารและการเชื่อมโยงกับฏอลิบานและอัลกออิดะฮ์ (พ.ศ. 2531–2554)

ค่ายทหารของ RSO ตั้งอยู่ที่เมืองคอกส์บาซาร์ทางใต้ของบังกลาเทศ มีการส่งอาวุธจากฏอลิบานมาให้ตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ บางส่วนได้ส่งทหารไปฝึกในอัฟกานิสถาน[12] การขยายตัวของ RSO ในช่วง พ.ศ. 2533 ทำให้รัฐบาลพม่าเข้ามากวาดล้างตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 ทหารพม่าได้ข้ามพรมแดนไปโจมตีกองทหารในบังกลาเทศซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับบังกลาเทศ และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ชาวโรฮีนจามากกว่า 250,000 คนถูกผลักดันให้ออกจากยะไข่ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกประณามจากซาอุดีอาระเบีย[9][13]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 มีสมาชิก RSO 120 คนเข้าสู่หม่องด่อโดยข้ามแม่น้ำนาฟที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2537 มีระเบิดเกิดขึ้นในเมืองหม่องด่อ 12 แห่ง[14] ต่อมา ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สมาชิก RSO และแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ได้รวมเข้าด้วยกันและจัดตั้งสภาแห่งชาติโรฮีนจา (RNC) และกองทัพแห่งชาติโรฮีนจา (RNA) นอกจากนั้นได้จัดตั้งองค์กรแห่งชาติโรฮีนจาอาระกัน (ARNO) เพื่อจัดการกับกลุ่มโรฮีนจาที่มีความแตกต่างกันเข้ามาเป็นกลุ่มเดียว ซึ่งมีรายงานว่ากลุ่ม ARNO นี้มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะฮ์[15]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีชายชาวโรฮีนจาประมาณ 80-100 คน ในเมืองหม่องด่อตามแนวชายแดนถูกจับกุมโดยกองทัพพม่าที่ประจำตามแนวชายแดนและถูกเชื่อมโยงกับฏอลิบาน[16][17] กองทหารฏอลิบานที่ชื่อว่ามูลีวี ฮารุนได้ตั้งค่ายฝึกและจัดทำระเบิดทางเหนือของหม่องด่อติดกับชายแดนบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 บุคคลต้องสงสัยที่ถูกจับกุม มี 19 คนถูกนำมาศาลก่อนในเดือนมีนาคมและเมษายนปีเดียวกัน.[18] มี 12 คนที่มีความเกี่ยวข้องกับฏอลิบานหรือกองกำลังติดอาวุธอิสลามถูกตัดสินจำคุกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2554[19]

ใกล้เคียง

การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก การกบฏ การกบฏของเอเธลวาลด์ การกบฏต่อแผ่นดิน การบินไทย การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบุกครองโปแลนด์ การก่อการกำเริบ 8888

แหล่งที่มา

WikiPedia: การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก http://www.wikileaks.ch/cable/2002/10/02RANGOON131... http://www.aljazeera.com/programmes/insidestory/20... http://www.asiantribune.com/?q=node/16449 http://www.atimes.com/atimes/South_Asia/DI21Df06.h... http://books.google.com/books?id=oyzfkz1gcVsC&pg=P... http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://zeenews.india.com/news/world/pak-taliban-ji... http://www.narinjara.com/details.asp?id=2902 http://www.narinjara.com/details.asp?id=2918 http://www.narinjara.com/details.asp?id=3086