การกระจายอย่างเป็นธรรม

การกระจายอย่างเป็นธรรม (Distributive Justice) เป็นหลักการพื้นฐานที่สุดที่ใช้กำกับหรือกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนและสถาบันในสังคม อันเกี่ยวข้องกับการกระจายประโยชน์ และสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม การเข้าถึงทรัพยากร รวมถึงโอกาสที่จะได้รับสิทธิบางอย่าง และการกำหนดภาระหน้าที่ให้แก่สมาชิกในสังคม (Kurian, 2011: 446; Rawls, 1971: 4)[1][2] การกระจายอย่างเป็นธรรมมีหลายแนวคิดแตกต่างกันออกไป เช่น หลักการกระจายที่เน้นความเท่าเทียมกันอย่างเด็ดขาด (Strict Egalitarianism) หลักการกระจายแบบประโยชน์นิยม (Utilitarianism–Based Principle) หลักที่มีฐานจากความแตกต่าง (Difference-Based Principle) หลักการกระจายแบบเสรีภาพนิยม ที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนบุคคล (Libertarian Principle) และหลักการกระจายตามความเหมาะสม (Desert-based Principle) เป็นต้น

ใกล้เคียง

การกราดยิงหมู่ การกรีธาทัพขึ้นเหนือ การกระทำอันเป็นโจรสลัดในโซมาเลีย การกระจายรายได้ การกระตุ้น การกระจัด (เวกเตอร์) การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา การกระจายอย่างเป็นธรรม การกระเจิงแบบเรย์ลี