การกราดยิงเลียนแบบ

การกราดยิงเลียนแบบ (อังกฤษ: mass shooting contagion) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาลักษณะและผลลัพธ์ของการนำเสนอของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการกราดยิงหมู่ ซึ่งน่าจะมีส่วนให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบมากขึ้น[1] ในระยะหลังมีการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มากขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์กราดยิงหลายครั้ง โดยเฉพาะในสหรัฐ มักอ้างถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าว่าเป็นแรงบันดาลใจ ทั้งยังปรากฏความมุ่งประสงค์ที่จะมีชื่อเสียงผ่านการใช้ความรุนแรง[2] เหตุการณ์กราดยิงเหตุการณ์แรกที่ได้รับการนำเสนออย่างกว้างขวางอย่างต่อเนื่อง คือ การสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ เมื่อ พ.ศ. 2542 ทำให้บุคคล 2 รายที่เป็นผู้ก่อเหตุได้รับชื่อเสียงขึ้นอย่างฉับพลัน และนักวิจัยมักเสนอว่า ลักษณะนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเลียนแบบ[3]เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2566 ก็มีผู้นำเสนอว่า เป็นพฤติกรรมเลียนแบบเหตุการณ์ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ดังกล่าว เนื่องจากผู้ก่อเหตุในประเทศไทยเจาะจงแต่งตัวและใช้อาวุธเหมือนผู้ก่อเหตุที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์[4][5]

ใกล้เคียง

การกราดยิงหมู่ การกรีธาทัพขึ้นเหนือ การกระจายรายได้ การกระทำอันเป็นโจรสลัดในโซมาเลีย การกระจัด (เวกเตอร์) การกระตุ้น การกระจายอย่างเป็นธรรม การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา การกระเจิงแบบเรย์ลี